สำหรับชาว Windows คนไหนที่ต้องการจะ "ลัดขั้นตอน" การจัดการโปรแกรมหรือแอปพลิเคชันต่าง ๆ บนเครื่องก็สามารถเรียกใช้งานตัวช่วยอย่าง Winget ที่ใช้การพิมพ์ "ชุดคำสั่ง" ในการจัดการกับโปรแกรมหรือแอปพลิเคชันบนเครื่องได้
Windows Package Manager หรือที่นิยมเรียกย่อ ๆ กันว่า "Winget" เป็นระบบจัดการซอฟต์แวร์ภายในเครื่องที่ทาง Microsoft ได้เพิ่มเข้ามาให้ใช้งานบน ระบบปฏิบัติการ Windows 10 เป็นต้นไปเพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถจัดการแอปพลิเคชันและโปรแกรมต่าง ๆ ภายในเครื่อง ทั้งการดาวน์โหลด (Download), ติดตั้ง (Install), อัปเกรด (Upgrade), เรียกดูข้อมูลทั่วไป หรือ การถอนการติดตั้ง (Uninstall) ได้อย่างง่ายดายมากยิ่งขึ้นผ่านการพิมพ์โค้ดคำสั่งบน Command Prompt (cmd) หรือ PowerShell โดยตรง
โดยในระบบปฏิบัติการ Windows 11 ระบบจัดการซอฟต์แวร์ Winget นี้จะใช้ชื่อว่า App Installer สำหรับคอมพิวเตอร์ของใครที่ไม่มี ระบบจัดการซอฟต์แวร์ Winget นี้ ก็สามารถติดตั้งผ่าน Microsoft Store ได้ที่ลิ้งด้านล่างนี้ (รองรับระบบปฏิบัติการ Windows 10 Version 1709 - Build 16299 ขึ้นไป)
ลิงก์ดาวน์โหลด App Installer (หรือ Winget)
เมื่อได้รับคำสั่งที่ผู้ใช้ป้อนลงไป Winget ก็จะไปดึงข้อมูลของโปรแกรมและแอปพลิเคชันต่าง ๆ จากระบบของ Microsoft มารันบนเครื่องของเราแบบอัตโนมัติโดยไม่ผ่านตัวกลางใด ๆ ทำให้การจัดการแอปพลิเคชันและโปรแกรมผ่าน Winget นั้นมีความ "ปลอดภัย" มากกว่า โดยเฉพาะกับการ Install โปรแกรมหรือแอปพลิเคชันใหม่ ๆ ลงเครื่อง เพราะผู้ใช้ส่วนหนึ่งมักจะทำการค้นหาแอปพลิเคชันหรือโปรแกรมที่ต้องการผ่านอินเทอร์เน็ตและกด"ดาวน์โหลด" ผ่านเว็บไซต์หรือ โปรแกรม 3rd Party ที่อาจเสี่ยงต่อการติด มัลแวร์ (Malware) หรือ ไวรัสต่าง ๆ แฝงมาในไฟล์ได้
ส่วนใครที่ต้องการใช้งาน Winget ผ่าน PowerShell แทน Command Prompt (cmd) ก็ให้เปลี่ยนจากการเปิดใช้งาน Command Prompt (cmd) เป็น PowerShell แล้วพิมพ์คำสั่งเดียวกันลงไปได้เลย
อ่านเพิ่มเติม : Command Prompt กับ PowerShell คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร ?
คำสั่งแรกที่อยากแนะนำให้รู้จักก็ได้แก่คำสั่งการ "ค้นหา" แอปพลิเคชันหรือโปรแกรมที่ต้องการด้วย "winget search" เพราะบางโปรแกรมหรือแอปพลิเคชันก็ "ยังไม่มีข้อมูล" จึงควรที่จะทำการค้นหาโปรแกรมหรือแอปพลิเคชันที่พร้อมใช้งานบน Winget เสียก่อน โดยสามารถค้นหาแอปพลิเคชันและโปรแกรมบน Winget ได้ด้วยการพิมพ์คำสั่ง ดังนี้
winget search <ชื่อแอปพลิเคชัน / โปรแกรมที่ต้องการค้นหา>
ภาพจาก : https://www.makeuseof.com/how-to-download-install-and-use-the-windows-package-manager-winget/
ซึ่งเมื่อกดค้นหาเป็นที่เรียบร้อย จะสังเกตได้ว่ามีการแบ่งคอลัมน์ออกเป็น 5 ช่อง ได้แก่
เมื่อตรวจสอบเรียบร้อยแล้วว่าโปรแกรมหรือแอปพลิเคชันที่เราต้องการนั้นมีให้ดาวน์โหลดและติดตั้งผ่าน Winget ก็สามารถพิมพ์คำสั่งด้านล่างนี้เพื่อติดตั้ง (Install) โปรแกรม หรือแอปพลิเคชัน ลงบนเครื่องได้เลย
winget install <ชื่อ (Name) แอปพลิเคชัน / โปรแกรมที่ต้องการติดตั้ง>
ภาพจาก : https://docs.microsoft.com/en-us/windows/package-manager/winget/
หรือหากเป็นโปรแกรมที่มีชื่อ (Name) คล้ายคลึงกัน อาจเลือกใช้การติดตั้งด้วยชื่อ id แทน ดังนี้
winget install --id <ชื่อ (ID) แอปพลิเคชัน / โปรแกรมที่ต้องการติดตั้ง>
นอกจากนี้ ผู้ใช้ยังสามารถระบุ "เวอร์ชัน" ของโปรแกรมหรือแอปพลิเคชันที่ต้องการติดตั้งลงบนเครื่องได้ด้วยคำสั่ง --version
winget install <ชื่อ (Name / ID) แอปพลิเคชัน / โปรแกรมที่ต้องการติดตั้ง> --version <ตัวเลข Version ที่ต้องการติดตั้ง>
หากต้องการเรียกดู "ข้อมูล" เช็ค Name, ID หรือ Versionของโปรแกรมหรือแอปพลิเคชันภายในเครื่องของเราก็สามารถทำได้โดยการพิมพ์คำสั่งด้านล่างนี้ได้เลย
winget show <ชื่อ (Name / ID) แอปพลิเคชัน / โปรแกรมที่ต้องการเรียกดูข้อมูล>
ภาพจาก : https://docs.microsoft.com/en-us/windows/package-manager/winget/show
ส่วนใครที่ต้องการจะ "อัปเกรด" เวอร์ชันของโปรแกรมหรือแอปพลิเคชันที่มีอยู่ในเครื่องให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดก็สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยการพิมพ์คำสั่งดังนี้ (แนะนำให้ตรวจสอบเวอร์ชันของโปรแกรม / แอปพลิเคชันด้วย Winget Search ก่อนเพื่อความชัวร์)
winget upgrade <ชื่อ (Name / ID) แอปพลิเคชัน / โปรแกรมที่ต้องการอัปเกรด>
หรือหากต้องการกำหนดเวอร์ชันที่ต้องการอัปเดตมาใช้งาน (อัปเกรดเป็นเวอร์ชันที่สูงกว่าปัจจุบัน แต่ไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด) ก็สามารถระบุเวอร์ชันที่ต้องการอัปเกรดได้ด้วยคำสั่ง
winget upgrade <ชื่อ (Name / ID) แอปพลิเคชัน / โปรแกรมที่ต้องการอัปเกรด> --version <ตัวเลข Version ที่ต้องการอัปเกรด>
ไม่เพียงเท่านั้น ยังสามารถอัปเกรดโปรแกรมหรือแอปพลิเคชัน "ทุกตัว" ภายในเครื่องได้ด้วยคำสั่ง --all
winget upgrade --all
ภาพจาก : https://docs.microsoft.com/en-us/windows/package-manager/winget/upgrade
สำหรับใครที่ต้องการ Uninstall โปรแกรมหรือแอปพลิเคชันภายในเครื่องก็ใช้คำสั่ง Winget เพื่อถอนการติดตั้งผ่าน Command Prompt (cmd) หรือ PowerShell ได้เช่นเดียวกัน โดยใช้คำสั่งดังนี้
winget uninstall <ชื่อ (Name / ID) แอปพลิเคชัน / โปรแกรมที่ต้องการติดตั้ง>
ภาพจาก : https://docs.microsoft.com/en-us/windows/package-manager/winget/uninstall
|
ตัวเม่นผู้รักในการนอน หลงใหลในการกิน และมีความใฝ่ฝันจะเป็นนักดูคอนเสิร์ตแต่เหมือนศิลปินที่ชื่นชอบจะไม่รับรู้ว่าโลกนี้มียังประเทศไทยอยู่.. |