การส่งข้อความ เป็นหนึ่งในคุณสมบัติขั้นพื้นฐานของ สมาร์ทโฟน (Smartphone) ที่มีมาตั้งแต่สมัยที่โทรศัพท์มือถือยังเป็น ฟีเจอร์โฟน (Feature Phone) ถึงแม้ว่าในปัจจุบันนี้ ส่วนของผู้ใช้เองจะไม่นิยมส่งข้อความทาง Short Message/Messaging Service (SMS) กันแล้ว เนื่องจากมี แอปพลิเคชันประเภท Instant Messaging (IM) ให้เลือกใช้งานอยู่มากมาย แต่ SMS ก็ยังไม่หายไปไหน แถมยังได้รับความนิยมมากกว่า Multimedia Messaging Service (MMS) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่กว่า เนื่องจากมันประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่า
SMS ข้อความแรกของโลก "Merry Christmas" ถูกส่งจากคอมพิวเตอร์ไปยังโทรศัพท์รุ่น Orbitel 901
เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม ค.ศ. 1992 (พ.ศ. 2535)
ภาพจาก : https://www.vintag.es/2020/12/first-text-message.html
สมาร์ทโฟนทุกรุ่นสามารถรับ และส่ง SMS/MMS ได้ แต่มันยังมีระบบส่งข้อความอีกชนิดหนึ่งที่ถูกพัฒนาขึ้นมาใหม่ตั้งแต่ในปี ค.ศ. 2007 (พ.ศ. 2550) แต่เพิ่งจะเริ่มถูกผลักดันให้เป็นมาตรฐานหลักในการส่งข้อความในช่วงไม่กี่ปีมานี้เอง นั่นก็คือ Rich Communication Services (RCS)
ในบทความนี้ เลยอยากจะมาแนะนำ Rich Communication Services (RCS) ให้รู้จักกันมากขึ้น ว่ามันทำอะไรได้ ? และเหนือกว่า SMS อย่างไร ?
RCS (หรือที่ย่อมาจากคำว่า "Rich Communication Service") มันเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถส่งข้อความเสียง (Voice Message), ข้อความ (Instant Messaging), แบ่งปันไฟล์ หรือแม้แต่ไลฟ์วิดีโอ ได้ โดยเราจะเห็นได้ว่า คุณสมบัติในการทำงานของมันนั้น เหนือกว่าเทคโนโลยีเดิมอย่าง SMS/MMS เป็นอย่างมากเลยทีเดียว
โดยเหตุผลที่ RCS ทำอะไรได้มากกว่า SMS/MMS ก็เพราะว่า RCS ได้ปรับระบบการส่งข้อมูลมาใช้เทคโนโลยี หมายเลข IP ผ่าน เครือข่าย 4G/5G ในขณะที่ SMS/MMS ยังคงใช้เครือข่ายคลื่นสัญญาณโทรศัพท์ซึ่งมีข้อจำกัดในการส่งข้อมูล
RCS ถือเป็น โปรโตคอล (Protocol) ด้านการสื่อสารประเภทหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อปรับปรุงประสบการณ์ในการรับส่งข้อความของผู้ใช้งานให้ดียิ่งขึ้น คุณสมบัติโดดเด่นของ RCS ที่สามารถเห็นได้อย่างชัดเจนคือ
Rich Card เป็นคุณสมบัติที่มีอยู่ใน RCS อนุญาตให้ผู้ใช้ส่งข้อมูลได้หลายประเภทมากขึ้น นอกจากข้อความธรรมดาแล้วก็ยังรองรับภาพความละเอียดสูง รองรับไฟล์มัลติมีเดียได้หลายชนิด เช่นไฟล์รูปภาพอย่าง JPG, PNG, หรือจะเป็นไฟล์วิดีโอ (Video Message) หรือแม้แต่ ไฟล์เสียง (Audio File) เป็นต้น
ซึ่งไฟล์ทั้งหมดที่ว่ามานี้ สามารถเลือกส่งทีละไฟล์ หรือรวมกันเป็นอัลบั้มไฟล์ก็สามารถทำได้ โดยเราสามารถประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น
ระบบแนะนำการโต้ตอบ (Suggested Reply) จะเป็นการแนะนำการตอบโต้ที่เหมาะสมให้กับผู้ใช้ เพื่อให้การสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว และสะดวกมากขึ้น นอกจากนี้ ยังสามารถส่งตัวเลือกในรูปแบบลิสต์รายการคำตอบได้ด้วย
หากการแสดงตัวเลือกคำตอบให้ล่วงหน้ามันยังไม่พอ RCS ยังมีระบบแนะนำการกระทำ (Suggested Action) ที่ทำให้การทำงานของระบบข้อความเชื่อมโยงกับแอปพลิเคชันอื่น ๆ ได้ดียิ่งขึ้น เช่น ปุ่มที่สามารถ...
SMS/MMS | RCS | |
การรองรับ | ใช้ได้กับมือถือทุกรุ่น | ใช้งานได้เฉพาะมือถือที่รองรับเท่านั้น |
เครือข่าย | Cellular | Cellular หรือ Wi-Fi |
จำนวนตัวอักษรสูงสุด | 160 ตัวอักษร | ไม่จำกัด |
การแนบไฟล์ | ไม่รองรับ | รูป, วิดีโอ, เสียง ฯลฯ |
เข้ารหัสข้อความ | ไม่รองรับ | รองรับ |
สถานะการส่ง และอ่าน | เฉพาะทางผู้ส่ง | ทั้งผู้ส่ง และผู้รับ |
ค่าใช้จ่าย | มักจะคิดตามจำนวนครั้ง | ฟรี |
คุณสมบัติเพิ่มเติม | ไม่มี | สนทนาเป็นกลุ่ม, สถานะการพิมพ์, รีแอคชันข้อความ |
คุณสมบัติทางธุรกิจ | ไม่มี | รองรับการทำแบรนดิ้ง, รับรองตัวตน, ปรับแต่งการตอบข้อความ, Rich Card, QR Code ฯลฯ |
แชร์ตำแหน่งบนแผนที่ | ไม่รองรับ | รองรับ |
วิดีโอคอล | ไม่รองรับ | รองรับ |
เนื่องจาก SMS/MMS ยังคงเป็นทางเลือกของคนส่วนใหญ่ ระบบ RCS จึงอาจไม่ได้ตั้งค่าเปิดใช้งานเอาไว้ให้ แต่ถ้าสมาร์ทโฟนของเรารองรับ ก็สามารถเปิดใช้งานได้ด้วยตนเองง่าย ๆ
ทั้งนี้ Rich Communication Services (RCS) ในปัจจุบันนี้ จะรองรับแค่ระบบปฏิบัติการ Android เท่านั้น เนื่องจากทาง iPhone ได้เลือกพัฒนา iMessage ขึ้นมาใช้งานแทน แต่ถ้าผู้ใช้ iPhone ต้องการใช้งาน RCS จริง ๆ ก็ต้องอาศัย แอปพลิเคชันบุคคลที่สาม (3rd-Party Application) เข้ามาช่วย เช่น แอป Beeper
สำหรับขั้นตอนการเปิดใช้งานคุณสมบัติ RCS จะมีดังต่อไปนี้
ภาพจาก : https://www.digitaltrends.com/mobile/how-to-turn-on-rcs-messages-on-an-android-phone/
ถ้าอ่านมาตั้งแต่ต้นจนถึงบรรทัดนี้ ก็น่าจะรู้สึกว่า สิ่งที่ RCS สามารถทำได้ มันก็เหมือนกับ iMessage ของบริษัท Apple เลย แต่ต้องบอกว่าแม้ในภาพรวมมันจะเหมือนกัน แต่มันมีความแตกต่างกัน
RCS และ iMessage ต่างก็เป็นโปรโตคอลด้านการสื่อสารที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้งานแทน SMS/MMS แต่ข้อแตกต่างที่สำคัญที่สุดคือ iMessage ถูกคิดค้นขึ้นมาโดย Apple และใช้งานได้แค่บนอุปกรณ์ของ Apple เท่านั้น
ซึ่งหากดูตามไทม์ไลน์ iMessage นั้นเปิดตัวเป็นครั้งแรกใน iOS 5 เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 2011 (พ.ศ. 2554) และในปีถัดมาก็ได้มีการประกาศว่ามีผู้ใช้ iMessage มากถึง 300,000,000,000 ครั้ง
ส่วน RCS นั้น อย่างที่เราได้บอกไปว่ามันทำงานได้กับสมาร์ทโฟนบางรุ่น และเครือข่ายของผู้ให้บริการที่รองรับเท่านั้น ทำให้การถูกนำมาใช้งานเป็นไปอย่างล่าช้า โดย Samsung เป็นผู้ผลิตสมาร์ทโฟนรายแรกที่รองรับ RCS โดยวางจำหน่ายที่ยุโรปในปี ค.ศ. 2012 (พ.ศ. 2555) และสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 2015 ทางด้าน Google ก็เพิ่งจะทำให้แอป Messages ซึ่งเป็นระบบ SMS/MMS ของระบบปฏิบัติการ Android รองรับ RCS ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2019 (พ.ศ. 2561)
ปัญหาก็คือ iMessage ไม่รองรับการสื่อสารร่วมกับ RCS ซึ่งทาง Google ก็พยายามเรียกร้อง Apple อัปเดต iMessage ให้รองรับ RCS เพื่อให้ทั้งสองระบบปฏิบัติการสามารถส่งข้อความหากันได้ง่ายขึ้น แต่ความ Apple อย่างที่รู้กันดีว่า แผนธุรกิจคือทำให้ผู้ใช้อยู่ในระบบนิเวศของตนเองให้ได้มากที่สุด ซึ่ง iMessage ก็เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยดึงดูดให้ผู้ใช้ต้องการซื้อ iPhone มากขึ้น
RCS | iMessage | |
แพลตฟอร์ม | อุปกรณ์พกพาที่ใช้ Android ทุกรุ่น | เฉพาะอุปกรณ์ของ Apple เท่านั้น |
การประสานงาน | รองรับแค่ฟังก์ชันพื้นฐาน | ทำงานร่วมกับแอปพลิเคชันของ Apple อย่าง Siri, Apple Pay และ iCloud ได้ |
รูปแบบ | ใช้งานแทนที่ SMS/MMS | ทำงานควบคู่ไปกับ SMS/MMS |
คุณสมบัติพิเศษ |
|
|
การนำไปใช้ | เฉพาะอุปกรณ์ และเครือข่ายที่รองรับ | ใช้ได้กับอุปกรณ์ของ Apple ทุกรุ่น |
|
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ |