เชื่อว่าหลายคนคงประสบปัญหาที่ว่า เวลาเราซื้อ เครื่อง PC มาใหม่ ทางผู้ผลิตจะไม่ค่อยนิยมแบ่งไดร์ฟ หรือแบ่งพาทิชันมาให้ หากเราต้องการแบ่งพาร์ทิชัน ก็เลยต้องมาหาวิธีแบ่งพาทิชันเอาเอง
ซึ่งอันที่จริงมันก็ทำได้ไม่ยาก มี ซอฟต์แวร์บุคคลที่สาม (3rd-Party Software) ให้เลือกใช้ ในท้องตลาดอยู่มากมาย แต่อันที่จริงใน ระบบปฏิบัติการ Windows ก็มีของดีใส่มาให้ใช้งานอยู่แล้ว นั่นคือ "Disk Management " หรือถ้าแปลเป็นไทยก็คือ "การจัดการดิสก์" นั่นเอง
ในบทความนี้จะมาแนะนำวิธีการใช้งาน Disk Management ในการจัดการพาร์ทิชันกัน ...
ก่อนอื่น มาเริ่มจากการทำความรู้จักกันก่อนสักเล็กน้อย ว่าเครื่องมือ Disk Management ในระบบปฏิบัติการ Windows คืออะไร ?
Disk Management เป็นยูทิลิตี้ที่ Microsoft ใส่เข้ามาในระบบปฏิบัติการ Windows เป็นครั้งแรกในระบบปฏิบัติการ Windows XP และมันก็มีอยู่มาจนถึงระบบปฏิบัติการ Windows 11 ที่เป็นเวอร์ชันล่าสุด นั่นหมายความว่า วิธีการในบทความนี้สามารถนำไปใช้ได้กับระบบปฏิบัติการ Windows ได้แทบทุกเวอร์ชันเลย
คุณสมบัติที่ Disk Management ทำได้ จะประกอบไปด้วย
บนระบบปฏิบัติการ Windows 11 ผู้ใช้สามารถเรียกใช้งาน Disk Management ได้หลายวิธี สามารถเลือกได้ตามความถนัด
ต่อมาเรามาดูวิธีใช้งาน Disk Management กัน โดยจะแบ่งตามรูปแบบสิ่งที่เราจะทำนะครับ จะทำอะไรได้บ้าง มาอ่านกัน
เอาไว้ใช้เวลาที่เราต้องการเปลี่ยน Drive Letter เช่น จาก ไดร์ฟ D: ไปเป็น ไดร์ฟ E: หรืออาจจะใช้ในกรณีที่เราติดตั้งไดร์ฟใหม่เพิ่มเข้าไปในระบบ แล้วระบบปฏิบัติการ Windows มองไม่เห็น ก็อาจเป็นเพราะตัวไดร์ฟยังไม่มี Drive Letter ของตัวเอง ก็ให้เราเข้ามาแก้ไข หรือเพิ่มได้ด้วยการคลิกขวาที่ไดร์ฟเป้าหมาย แล้วเลือก "เมนู Change Drive Letter and Paths..."
ในกรณีที่เราต้องการแบ่งพาร์ทิชันใหม่ เราจะเริ่มต้นจากการลดขนาดของพาร์ทิชันเดิมเสียก่อน แล้วนำพื้นที่ว่างที่ถูกแบ่งออกมา มาสร้างเป็นพาร์ทิชันใหม่ ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการคลิกขวาที่พาร์ทิชันเป้าหมาย แล้วเลือก "เมนู Shrink Volume..."
จากนั้นรอระบบคำนวณพื้นที่บนไดร์ฟที่สามารถปรับลดได้สักครู่หนึ่ง
จากนั้น จะมีหน้าต่างให้เราปรับเพิ่มลดขนาดพาร์มิชันแสดงขึ้นมา โดยในแต่ละช่องมีความหมาย ดังนี้
หลังจากที่กำหนดค่าที่ต้องการได้แล้ว ให้คลิกที่ "ปุ่ม Shrink" เพื่อให้มันเริ่มดำเนินการ
หลังจากมันทำงานจนเสร็จ เราจะเห็นว่าพาร์ทิชันเดิมที่เราเลือกจะมีขนาดลดลง และมีพื้นที่ว่างใหม่เพิ่มขึ้นมา แต่สังเกตว่า มันจะมีแถบสีดำ และระบุว่า "Unallocated" เอาไว้อยู่ ซึ่งหมายถึงพื้นที่ไดร์ฟที่ระบบยังไม่ได้จัดการกำหนดพาร์ทิชัน มันจึงยังไม่สามารถใช้งานได้
พื้นที่ที่เกิดจากการ "Shrink" หรือพื้นที่ใน SSD หรือ HDD ตัวใหม่ที่เราติดตั้งเพิ่มเข้าไปใน ตัวระบบปฏิบัติการ Windows จะยังมองไม่เห็นในทันที เพราะไดร์ฟดังกล่าวตัวพื้นที่จะถูกจัดเป็น "Unallocated" เอาไว้อยู่ เราจะต้องทำให้ระบบรู้จักพื้นที่ดังกล่าวด้วยการสร้างพาร์ทิชันให้มันเสียก่อน ด้วยขั้นตอนดังนี้
เราก็จะเห็นพาร์ทิชันใหม่ปรากฏขึ้นมาแล้ว ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย
หากเรารู้สึกว่ามีบางพาร์ทิชันที่ไม่ต้องการใช้งานแล้ว หรือความจุของพาร์ทิชันเริ่มไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ก็สามารถลบพาร์ทิชันทิ้ง แล้วนำพื้นที่มารวมกับพาร์ทิชันเดิมได้ โดยสามารถทำได้ด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้
เห็นไหมครับว่า Disk Management ก็สามารถจัดการกับพาร์ทิชันได้ดี โดยที่เราไม่จำเป็นต้องใช้ซอฟต์แวร์อื่นเข้ามาช่วยเลย ก็ลองไปทำตามกันดูนะครับ
|
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ |
ความคิดเห็นที่ 40
10 พฤษภาคม 2557 14:41:12
|
||
GUEST |
non
hgfmkghmcm
|
|
ความคิดเห็นที่ 39
7 พฤษภาคม 2557 15:24:01
|
||
GUEST |
Ray
ขอบคุณ สำหรับ ทริป ดี ๆ มี ประโยชน์ มาก ๆ จ้าา
|
|
ความคิดเห็นที่ 38
3 พฤษภาคม 2557 21:32:58
|
||
GUEST |
Nirut Tthaisong
ขอบคุรครับ
|
|
ความคิดเห็นที่ 37
27 เมษายน 2557 14:33:29
|
||
GUEST |
GrandCherokee
ทำไมคอมผมไม่มีไดร์ D กะไดร์ E ให้เลือกอะ อย่างอื่นมีหมดยกเว้นDกะE เลยสร้างไดร์Gแทน
|
|
ความคิดเห็นที่ 36
27 เมษายน 2557 10:58:01
|
||
GUEST |
โจโชว์
ขอบคุณมากๆครับ เเยกไดร์ฟ ได้อย่างสบายเลย ^0^
|
|
ความคิดเห็นที่ 35
22 เมษายน 2557 20:09:41
|
||
GUEST |
ทmatatumrut
ตามความคิดเห็นข้อ ที่ 15 เลยคับ ใช้เเล้วได้ผลจริง |
|
ความคิดเห็นที่ 34
1 เมษายน 2557 20:35:02
|
||
GUEST |
เจ
แร้วท่าผมจะแบ่งไดร์ฟD ไป ไดร์ฟ C ครึงหนึงทำไงคัฟ
|
|
ความคิดเห็นที่ 33
20 มีนาคม 2557 22:40:22
|
||
GUEST |
นน
(Win 7) คลิกขวาที่ไดร์ฟ C แล้วมันก็ไม่เห็นขึ้น Extended Volume (Win 7) เป็นเหมือนกัน ช่วบอกที
|
|
ความคิดเห็นที่ 32
16 มีนาคม 2557 18:09:55
|
||
GUEST |
MN
คลิกขวาที่ไดร์ฟ C แล้วมันก็ไม่เห็นขึ้น Extended Volume เลยอ่ะค่ะ (Win 7)
|
|
ความคิดเห็นที่ 31
11 มีนาคม 2557 18:09:09
|
||
GUEST |
Piper
เราทำตามวิธีรวมพาติชัน รวมไดร์ฟ ได้เพียงขั้นตอนที่ 1 ส่วนในขั้นตอนที่ 2 คลิกขวาที่ไดร์ฟ C แล้ว แต่ไม่มี Extended Volume ทำไงดี (win; 7)
|
|