สำหรับ เครื่องเสมือน (Virtual Machine - VM) (ต่อจากนี้ขอเรียกย่อ ๆ ว่า "VM" นะครับ) จัดเป็นซอฟต์แวร์ประเภทหนึ่งที่ใช้ในการจำลองอุปกรณ์อื่น ขึ้นมาทำงานในคอมพิวเตอร์อีกทีหนึ่ง โดยมันอาจจะอยู่ในรูปแบบของ ระบบปฏิบัติการ (OS), เซิร์ฟเวอร์ (Server) หรือ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ที่ต้องการได้ มันมีประโยชน์ในการทำงานเป็นอย่างมาก
ข้อมูลเพิ่มเติม : Virtual Machine คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? มีประโยชน์อย่างไร ?
เช่น หากคุณพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับระบบปฏิบัติการ Linux บนคอมพิวเตอร์ที่ใช้ ระบบปฏิบัติการ Windows อยู่ เพื่อให้ง่ายต่อการทดสอบ เราสามารถใช้ VM ในการจำลองคอมพิวเตอร์ระบบปฏิบัติการ Linux ขึ้นมาทำงานบนคอมพิวเตอร์ที่เป็นระบบปฏิบัติการ Windows ได้ หรือจะเป็นการทดสอบว่าซอฟต์แวร์ที่คุณเพิ่งพัฒนาเสร็จจะสามารถทำงานบน Windows เวอร์ชันเก่าได้หรือไม่ ? ก็ไม่ต้องหาคอมพิวเตอร์เก่ามาทดสอบ แค่ใช้ VM จำลองคอมพิวเตอร์ที่เป็น Windows เวอร์ชันเก่าขึ้นมาได้เลย
ภาพจาก : https://www.ufsexplorer.com/articles/storage-technologies/virtual-machines-data-organization/
โดย ซอฟต์แวร์สำหรับทำ VM นั้น ก็มีให้เลือกใช้งานได้อยู่หลายตัว แต่ที่ดูเหมือนว่าจะได้รับความนิยมมากที่สุดบนระบบปฏิบัติการ Windows 11 เห็นจะมีอยู่ 3 ตัว คือ VirtualBox, VMWare และ Microsoft Hyper-V (ที่มาพร้อมกับ Windows 10) แล้วจะเลือกใช้งานตัวไหนดี หรือทั้งสามโปรแกรมนี้แตกต่างกันอย่างไร ? ลองมาหาคำตอบกัน
ก่อนที่เราจะไปเลือกว่าจะใช้งาน VM ตัวไหนดีนั้น เราควรทำความเข้าใจก่อนว่า ถึงแม้ว่า VirtualBox, VMware และ Hyper-V จะสามารถสร้างระบบจำลองภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ แต่มันก็มีรูปแบบการทำงานที่แตกต่างกันอยู่นะ เพราะ VM ต้องพึ่งพาซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า Hypervisor ในการติดตั้ง และทำงาน ซึ่งมันมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ Type 1 Hypervisor และ Type 2 Hypervisor นั่นเอง
โดย Hypervisor ก็เป็นเสมือนแพลตฟอร์มของ VM มันมีส่วนสำคัญที่จำเป็นต้องใช้ในการจัดสรรทรัพยากรระหว่างระบบจำลองที่ถูกสร้างขึ้นมา กับฮาร์ดแวร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์หลัก เช่น หน่วยความจำ และพลังประมวลผล ในการทำงานต่างๆ
Type 1 hypervisor หรือ Bare-Metal Hypervisor ทำงานบนฮาร์ดแวร์ของเครื่องหลักโดยตรง เหมือนเป็นระบบปฏิบัติการตัวหนึ่งเลย ทำให้ทำงานได้ลื่นกว่า เร็วกว่า แต่มีข้อเสียตรงต้องใช้ระบบคอมพิวเตอร์ที่แรงหน่อย และการปรับแต่งค่าต่าง ๆ ต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญค่อนข้างสูง
VMWare ESX, vSphere, Citrix XenServer และ Oracle VM พวกนี้ถือเป็น Type 1 Hypervisor
Type 2 Hypervisor จะติดตั้งบนระบบปฏิบัติการ (เช่น Windows, macOS, Linux) เสมือนเป็นโปรแกรมตัวหนึ่งภายในเครื่อง การทำงานของมันจะใช้ฮาร์ดแวร์ร่วมกับเครื่องหลักเช่นกัน แต่ว่าคำสั่งทั้งหมดจะถูกสั่งผ่านระบบปฏิบัติการของเครื่องหลักอีกที ซึ่งทำให้มีอาการหน่วงอยู่เล็กน้อย
VirtualBox, VMware Workstation และ VMware Workstation Player พวกนี้ถือเป็น Type 2 Hypervisor
ภาพจาก : https://medium.com/teamresellerclub/type-1-and-type-2-hypervisors-what-makes-them-different-6a1755d6ae2c
VMware เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นมาโดยบริษัทชื่อเดียวกัน มีคุณสมบัติในการจำลองระบบปฏิบัติการต่าง ๆ ให้ทำงานบนคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวได้ จัดว่าเป็นแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์ Desktop-virtualization ที่ทำงานร่วมกับ Hypervisor
ด้วยชื่อเสียงที่สั่งสมมาอย่างยาวนานทำให้ VMware เป็นที่นิยม และได้รับการยอมรับ มีการนำไปใช้งานภายในโครงสร้างของระบบไอทีต่าง ๆ ทั่วโลก โดยมีให้เลือกใช้งานทั้ง VMware Workstation ซึ่งเหมาะสำหรับองค์กรธุรกิจ และ VMware Workstation Player สำหรับผู้ใช้งานทั่วไป
สำหรับ VMware Workstation Player จะมีข้อดี-ข้อเสียดังต่อไปนี้
ภาพจาก : https://www.virtualbox.org/attachment/wiki/Screenshots/Fedora_21_on_OSX.png
VirtualBox เป็น VM แบบฟรี และเป็นแบบ เปิดเผยซอร์สโค้ด (Open-Source) ที่บริษัท Oracle พัฒนาขึ้นมา โดยสามารถใช้งานได้ทั้งบนระบบปฏิบัติการ Windows, macOS, Linux และ Oracle Solaris
VirtualBox เปิดตัวเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 2007 (พ.ศ. 2550) และได้รับการอัปเดตคุณสมบัติการทำงานมาโดยตลอด ด้วยความที่มันสามารถใช้งานได้ฟรี ทำให้มันเป็นหนึ่งใน VM ที่ได้รับความนิยมอยู่พอสมควร โดยเฉพาะในองค์กรที่ต้องการลดต้นทุนเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย
จุดเด่นที่สุดของ VirtualBox คือการที่มันสามารถใช้งานได้บนหลายระบบปฏิบัติการ ทำให้ทุกคนที่ต้องการใช้งาน VM สามารถเข้าถึงได้ง่าย
ภาพจาก : https://techcommunity.microsoft.com/t5/educator-developer-blog/step-by-step-enabling-hyper-v-for-use-on-windows-11/ba-p/3745905
Hyper-V เป็น VM ที่ทาง Microsoft ขึ้นมา โดยมันเป็น Hypervisor แบบ Type 1 นั่นหมายความว่า มันทำงานโดยตรงบนฮาร์ดแวร์ของเครื่องโฮสต์ ในขณะที่ VMware และ VirtualBox เป็น Hypervisor แบบ Type 2 ซึ่งทำงานคล้ายกับซอฟต์แวร์ตัวหนึ่งในระบบปฏิบัติการ Windows ทำให้แม้การติดตั้งจะง่ายกว่า แต่มันก็จะมีข้อจำกัดในการเข้าถึงทรัพยากรฮาร์ดแวร์ของเครื่องโฮสต์
ดังนั้น Hyper-V จึงมีประสิทธิภาพในการทำงานที่สูงกว่า VMware และ VirtualBox ทั้งนี้ Hyper-V นั้นถูกรวมเอาไว้ในระบบปฏิบัติการ Windows 10 Pro, Education และ Enterprise (ไม่มีใน Windows 10 Home) โดยปกติแล้วคุณสมบัตินี้จะถูกปิดไว้ แต่สามารถเปิดใช้งานได้ง่าย ๆ ผ่าน Windows Features หรือไม่ก็ใช้ PowerShell Command (Admin)
ใช้คำสั่ง : Enable-WindowsOptionalFeature -Online -FeatureName Microsoft-Hyper-V -All
อย่างไรก็ตาม Microsoft มีแผนที่จะหยุดพัฒนา Hyper-V เวอร์ชันฟรี ในปี ค.ศ. 2029 (พ.ศ 2572) ซึ่งก็อีกหลายปี ถึงเวลานั้นค่อยว่ากันอีกที
การสร้างระบบจำลอง Virtual machine ด้วย Hyper-V เนื่องจากมันมีตัวช่วยเหลือให้การแนะนำในการตั้งค่าให้ด้วย ทำให้การใช้งานง่ายมาก ๆ แต่ก็แลกมาด้วยข้อจำกัดในการปรับแต่งค่า และหากมีปัญหาอะไรเกิดขึ้น มันก็ไม่ค่อยบอกรายละเอียดสาเหตุของปัญหาให้เราทราบ
ส่วน VirtualBox และ VMware ก็มีตัวช่วย (Wizard) สำหรับสร้างระบบจำลองให้ใช้งานเช่นกัน ซึ่งจะให้คำแนะนำการตั้งค่าต่าง ๆ ให้เราเสร็จสรรพ พร้อมกับมีทางเลือกในการตั้งค่าต่าง ๆ ให้ตรงกับความต้องการของเราด้วย
ภาพจาก : https://learn.microsoft.com/en-us/virtualization/hyper-v-on-windows/quick-start/quick-create-virtual-machine
ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของ VM ไม่ได้อยู่ที่ฮาร์ดแวร์เพียงอย่างเดียว แต่ตัว VM ที่เราเลือกใช้ก็มีส่วนด้วย
จากการทดสอบ ผลออกมาพบว่า หากฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ของคุณต่ำ VirtualBox จะทำงานได้ค่อนข้างช้า แต่ถ้าเครื่องแรงก็ไม่ต้องกังวลกับปัญหานี้ ในขณะที่ VMware ทำงานได้ลื่นกว่าอย่างเห็นได้ชัด บนคอมพิวเตอร์สเปคเดียวกัน
ส่วน Hyper-V สามารถทำงานได้ดี และลื่นที่สุด ซึ่งไม่น่าแปลกเนื่องจากมันทำงานกับฮาร์ดแวร์ได้โดยตรง ไม่ต้องดึงทรัพยากรผ่านซอฟต์แวร์อีกที
หากสเปคไม่ใช่ปัญหา ตัวช่วยในการตัดสินใจถัดมาก็ต้องมาดูที่คุณสมบัติแล้วล่ะ ซึ่งแต่ละตัวก็จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน
แม้ชื่อเรียกจะแตกต่างกัน แต่ Snapshots ของ VirtualBox และ Checkpoints ของ Hyper-V นั้นมีความสามารถที่ไม่แตกต่างกัน มันเป็นคุณสมบัติที่จะจดจำสถานะการทำงานของ VM ในขณะนั้นเอาไว้ เราสามารถเปิดเรียกสถานะการทำงานที่ถูกบันทึกเอาไว้ได้แม้ระบบจำลองจะถูกปิดลงไปแล้ว
น่าเสียดายที่ คุณสมบัตินี้ไม่มีใน VMware Workstation Player เราทำได้แค่หยุดการทำงานระบบเพียงชั่วคราว และทำต่อสิ่งที่ค้างเอาไว้ได้ แต่ไม่สามารถบันทึกข้อมูลสถานะการทำงานของ VM เอาไว้เปิดใหม่ภายหลังได้
ภาพจาก : https://learn.microsoft.com/en-us/virtualization/hyper-v-on-windows/user-guide/checkpoints
ซอฟต์แวร์ทั้งสามตัวรองรับการ "ลากแล้ววาง (Copy & Paste)" ไฟล์ระหว่างเครื่องหลัก และเครื่องที่ถูกจำลองขึ้นมา
Seamless Mode เป็นโหมดในการทำงานของ VM ที่ช่วยให้การใช้งานสะดวกสบายขึ้นมาก โดยจะทำให้ระบบจำลองที่เราสร้างขึ้นมา เหมือนเป็นหน้าต่างของโปรแกรมปกติทั่วไป เราสามารถลากเมาส์ข้ามหน้าต่างไปมาระหว่างเครื่องจำลอง กับเครื่องหลัก หรือการลากแล้ววาง (Copy & Paste) ข้ามไปมาได้อย่างง่ายๆ
ซอฟต์แวร์ทั้งสามตัวรองรับการทำงานของโหมดนี้
สำหรับผู้ที่ต้องการเข้ารหัส (Encrypt) ระบบจำลองเพื่อความปลอดภัย ซอฟต์แวร์ทั้งสามตัวสามารถทำได้หมดนะ โดย
Windows 10 Hyper-V มีข้อจำกัดตรงที่รองรับการจำลองระบบปฏิบัติการ Windows, Linux และ FreeBSD แต่ไม่รองรับ macOS
ขณะที่ VirtualBox และ VMware Workstation Player รองรับระบบปฏิบัติการเกือบทุกประเภท รวมถึง macOS ด้วย
ซอฟต์แวร์ทั้งสามตัวสามารถใช้งานได้ฟรี อย่างไรก็ตาม Windows 10 Hyper-V ฟรี เฉพาะผู้ใช้ Windows 10/11 ที่ไม่ใช่เวอร์ชัน Home
การตัดสินใจเลือกว่าจะใช้งาน VM ตัวไหน ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะ และความต้องการในการใช้งาน
|
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ |