หลาย ๆ คนน่าจะคุ้นหูกับชื่อของ ซอฟต์แวร์บริหารจัดการเครื่องคอมพิวเตอร์เสมือน (Virtual Machine Software หรือ VM Software) ชื่อดังอย่าง VMware, VirtualBox, Parallels, QEMU, Boot Camp และ KVM (Kernel Virtual Machine) กันมาบ้างไม่น้อย แต่นอกเหนือไปจาก VM Software ที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว Hyper-V เองก็เป็น VM Software อีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว
ข้อมูลเพิ่มเติม : VirtualBox, VMWare และ Hyper-V เลือกอะไรดี ?
ภาพจาก : https://www.freepik.com/free-vector/programmer-working-isometric-style_4911004.htm
Hyper-V เป็น VM Software ของค่าย Microsoft (ตัว "V" ของ Hyper-V นั้นมาจากชื่อโค้ดเนมของโปรเจคที่ว่า "Viridian" หรือเฉดสีฟ้าเขียว ไม่ได้มาจากคำว่า "Hyper Virtual" อย่างที่หลาย ๆ คนเข้าใจกันแต่อย่างใด) ที่เปิดตัวเป็นครั้งแรกบน ระบบปฏิบัติการ Windows Server ในปี ค.ศ. 2008 (พ.ศ. 2551) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถจำลองการใช้งานอุปกรณ์เสมือนใน ระบบปฏิบัติการ Windows แบบ 32 บิต (x86) และ 64 บิต (x64) ได้อย่างสะดวกและง่ายดายมากยิ่งขึ้น
โดยหลังจากที่เปิดให้ได้ใช้งานกันบน ระบบปฏิบัติการ Windows Server กว่า 4 ปี ทางบริษัทก็ได้เพิ่มฟังก์ชันนี้ให้ผู้ใช้งานตั้งแต่ "Windows 8" เป็นต้นไป ที่สเปกคอมแรงพอ (วิธีดูสเปกคอมพิวเตอร์) ก็สามารถเข้าไป "เปิดการทำงาน" ของระบบนี้เพื่อเชื่อมต่อและใช้งานอุปกรณ์ VM ได้ตามต้องการ
ข้อมูลเพิ่มเติม : ระบบปฏิบัติการ Windows มีประวัติความเป็นมาอย่างไร ? ตั้งแต่ Windows 1.0 ถึง Windows 11
ภาพจาก : https://docs.microsoft.com/en-us/virtualization/hyper-v-on-windows/about/
ก่อนที่จะไปถึงวิธีการเปิดใช้งาน Hyper-V นั้น เราน่าจะต้องมาดูในเรื่องของ "สเปก" คอมพิวเตอร์ที่รองรับการทำงานของ Hyper-V กันเสียก่อน โดยในเบื้องต้นในเว็บไซต์ของบริษัทระบุว่าจะต้องใช้งาน CPUแบบ 64 บิต ที่รองรับเทคโนโลยี SLAT (Second Level Address Translation), VM Monitor Mode Extension (หรือ VT-c ของ หน่วยประมวลผลกลาง หรือ CPU จากค่าย Intel) และมี หน่วยความจำ RAM ตั้งแต่ 4 GB. ขึ้นไป
แต่ทางที่ดีแนะนำใช้งาน RAM 8 GB. ขึ้นไปจะปลอดภัยกว่า เพราะจำนวน RAM ที่น้อยก็เสี่ยงต่อการ Overload ได้ง่าย
นอกจากนี้ ยังต้องใช้งานระบบปฏิบัติการที่รองรับการทำงานของ Hyper-V ได้อีกด้วย ซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าไปเช็คเวอร์ชันของ ระบบปฏิบัติการ Windows ได้ดังต่อไปนี้
โดย Hyper-V จะรองรับการใช้งานเฉพาะบนระบบปฏิบัติการ Windows Pro, Enterprise, และ Education เท่านั้น
ภาพจาก : https://www.makeuseof.com/windows-11-enable-hyper-v/
หากตรวจสอบแล้วพบว่าคอมพิวเตอร์ของเราใช้งาน Windows Home ก็สามารถอัปเกรดระบบได้ที่ Setting → Update and Security → Activation แล้วกดอัปเกรดเป็น Windows Pro (หรือเลือกรัน Bat Script เพื่อติดตั้ง Hyper-V บนคอมพิวเตอร์ก็ได้เช่นเดียวกัน)
ก่อนที่จะเปิดใช้งาน Hyper-V นั้น ผู้ใช้จะต้องเข้าไปเปิดการทำงานของ Hardware Virtualization บน BIOS ก่อนจึงจะสามารถเปิดการทำงานของ Hyper-V ได้
ภาพจาก : https://www.makeuseof.com/windows-11-enable-hyper-v/
ภาพจาก : https://www.makeuseof.com/windows-11-enable-hyper-v/
เมื่อเปิด Hardware Virtualization เป็นที่เรียบร้อยก็สามารถเปิดใช้งาน Hyper-V ได้หลากหลายวิธี ดังนี้
ภาพจาก : https://docs.microsoft.com/en-us/virtualization/hyper-v-on-windows/quick-start/enable-hyper-v
ภาพจาก : https://www.nextofwindows.com/how-to-enable-configure-and-use-hyper-v-on-windows-10
ภาพจาก : https://www.makeuseof.com/windows-11-enable-hyper-v/
ภาพจาก : https://docs.microsoft.com/en-us/virtualization/hyper-v-on-windows/quick-start/enable-hyper-v
ภาพจาก : https://www.nextofwindows.com/how-to-enable-configure-and-use-hyper-v-on-windows-10
ภาพจาก : https://www.nextofwindows.com/how-to-enable-configure-and-use-hyper-v-on-windows-10
ภาพจาก : https://www.nextofwindows.com/how-to-enable-configure-and-use-hyper-v-on-windows-10
|
ตัวเม่นผู้รักในการนอน หลงใหลในการกิน และมีความใฝ่ฝันจะเป็นนักดูคอนเสิร์ตแต่เหมือนศิลปินที่ชื่นชอบจะไม่รับรู้ว่าโลกนี้มียังประเทศไทยอยู่.. |