E-Book (ภาษาอ่านออกเสียงว่า "อีบุ๊ค") หรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือหนังสือดิจิทัล (แล้วแต่จะเรียก) ถือว่าเป็นสื่อที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศมาหลายปีแล้ว ส่วนในประเทศไทยตอนนี้เราก็รู้สึกว่ามันได้รับความเพิ่มขึ้นนะ (ผู้เขียน : ไม่รู้ว่าเกี่ยวกับการที่นิยายสไตล์ Light novel กำลังเป็นที่นิยมในบ้านเราหรือเปล่า) ก็เลยอยากจะพูดถึงนามสกุลไฟล์ของ E-Book ที่นิยมใช้งานกันสักหน่อย เพราะไฟล์ E-Book นี่ก็มีให้เลือกใช้งานกันอยู่หลากหลายนามสกุล แต่อย่าเพิ่งตกใจ เพราะมันไม่ได้มีอะไรเข้าใจยาก
ความแตกต่างเรื่องนามสกุลไฟล์ E-Book จริงๆ แล้วไม่ใช่เรื่องดีสำหรับผู้อ่านสักเท่าไหร่ หากเทียบกับไฟล์เพลงอย่าง MP3 ที่เราสามารถนำไปเล่นกับเครื่องเล่นเพลงรุ่นไหนก็ได้ แต่ไฟล์ E-Book ไม่ใช่แบบนั้น มันมีเรื่องกรรมสิทธิ์, รูปแบบการใช้, เครื่องอ่านที่รองรับ ฯลฯ
ในบทความนี้เราเลยจะมาพูดถึงข้อดี-ข้อเสีย ของไฟล์ E-Book ในแต่ละแบบให้เข้าใจกันมากขึ้นครับ คุณผู้อ่านสามารถข้ามไปอ่านเนื้อหาที่ต้องการจากเมนูลัด ที่อยู่ด้านล่างนี้ได้เลย
ก่อนจะไปถึงนามสกุลไฟล์ เรามาทำความรู้จักกับ E-Book กันก่อน ว่ามันคืออะไร?
E-Book หมายถึง หนังสือทุกชนิดที่สามารถอ่านได้บนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น คอมพิวเตอร์, แท็บเล็ต, สมาร์ทโฟน, Kindle ฯลฯ
E-Book ส่วนใหญ่ก็ประกอบด้วยข้อความ และภาพประกอบเหมือนหนังสือธรรมดาทั่วไป แต่ก็มีการพัฒนาหนังสือที่สามารถตอบโต้กับผู้อ่านได้ขึ้นมาด้วย เรียกว่า "Interactive E-Books" ที่ผู้สร้างใส่ลูกเล่นเข้าไป เช่น
ภาพจาก https://en.wikipedia.org/wiki/EPUB
ePUB เป็นไฟล์ E-Book ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุด เริ่มพัฒนาขึ้นมาโดยกลุ่ม International Digital Publishing Forum ที่ตอนนี้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของ World Wide Web Consortium องค์กรระหว่างประเทศทำหน้าที่จัดระบบมาตรฐานที่ใช้งานบนเวิลด์ไวด์เว็บแล้ว โดย ePUB ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้งานแทนไฟล์มาตรฐานเดิมอย่าง Open E-Book format (OEB)
ด้วยความที่ ePUB เป็นมาตรฐานที่เปิดให้ใช้งานได้ฟรี มันจึงกลายเป็นไฟล์ยอดนิยมในการทำ E-Book ไปอย่างง่ายดาย
ePUB มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เวอร์ชันล่าสุดจะเป็น ePUB 3.2 ปล่อยออกมาอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 2019 (พ.ศ. 2562) โดยมีความสามารถที่น่าสนใจดังนี้
e-Reader ทุกรุ่นในท้องตลาด รวมไปถึงคอมพิวเตอร์, สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต สามารถอ่านไฟล์ ePUB (ผ่านแอปพลิเคชัน) ได้อยู่แล้ว ยกเว้นก็แต่ Kindle ของ Amazon ที่ไม่สามารถเปิด ePUB โดยตรงได้ แต่เราสามารถใช้โปรแกรมอย่างเช่น Calibre ในการแปลง ePUB เป็น MOBI ที่ Kindle สามารถเปิดได้ง่ายๆ ครับ
ภาพจาก https://www.todoereaders.com/mobipocket-creator.html
ที่จริงแล้วไฟล์ตระกูล MOBI กับ ePUB นั้นไม่ค่อยแตกต่างกันมากเท่าไหร่ มันถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้แทนไฟล์ OEB ที่ตกรุ่น พัฒนาขึ้นมาในปี ค.ศ. 2000 (พ.ศ. 2543) โดยบริษัท Mobipocket เพื่อใช้สำหรับเปิดอ่านด้วยโปรแกรม Mobipocket Reader software
ต่อมาในปี ค.ศ. 2005 (พ.ศ. 2548) Amazon ได้ซื้อกิจการ Mobipocket มาครอบครอง ก่อนจะปิดเว็บไซต์ และเซิร์ฟเวอร์ลงในปี ค.ศ. 2016 (พ.ศ. 2559) อย่างไรก็ตาม ไฟล์นามสกุล MOBI ก็ยังถูกใช้งานอยู่มาจนถึงปัจจุบันนี้ คุณสมบัติการทำงานไม่แตกต่างจาก ePUB มากนัก โดยรวมก็ทำงานคล้ายๆ กัน
ความสามารถที่น่าสนใจของ MOBI มีดังนี้
อย่างไรก็ตาม MOBI มีข้อจำกัดตรงอนุญาตให้ไฟล์รูปมีขนาดได้ไม่เกิน 64K หรือพูดอีกนัยหนึ่ง คือ ไฟล์รูปจะมีขนาดเล็กมาก ไม่ก็ความละเอียดต่ำ ดังนั้น หากนำไฟล์ MOB ที่มีภาพประกอบ มาเปิดดูบนแท็บเล็ตที่มีจอแสดงผลขนาดใหญ่ล่ะก็ ภาพในหนังสือก็จะแสดงผลได้ไม่สวยงามเท่าไหร่นัก
e-Reader ส่วนใหญ่ในท้องตลาด ที่เปิด ePUB ได้ ก็มักจะเปิด MOBI ได้อยู่แล้ว คอมพิวเตอร์, สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต ก็มีแอปพลิเคชันสำหรับเปิดได้เช่นกัน
ภาพจาก https://www.iosappweekly.com/open-azw-azw3-book-files-iphone-ipad/
AZW และ AZW3 เป็นไฟล์หนังสือ E-Book ที่ Amazon พัฒนาขึ้นมาใช้เอง โดย AZW เป็นไฟล์รุ่นเก่าที่เปิดตัวมาพร้อมกับ Kindle เครื่อง e-Reader ของ Amazon ในปี ค.ศ. 2007 (พ.ศ. 2550) ส่วน AZW3 (มีอีกชื่อเรียกคือ KF8) เปิดตัวในปี ค.ศ. 2011 (พ.ศ. 2550) พร้อมกับ Kindle Fire
ในช่วงแรก AZW3 จะใช้งานได้เฉพาะบน Kindle Fire เท่านั้น แต่ต่อมาก็ขยายการสนับสนุนใช้ได้กับ Kindle ทุกรุ่น
หากเทียบ AZW3 กับ MOBI แล้ว AZW3 จะมีลูกเล่นการทำงานที่หลากหลายกว่า ทำให้มันได้รับความนิยมในการใช้งานแทน MOBI มากขึ้นเรื่อยๆ
อันที่จริง โครงสร้างการทำงานของ AZW3 มีความคล้ายคลึงกับ MOBI มาก ทำให้สันนิษฐานกันว่า ที่ Amazon เข้าซื้อกิจการ Mobipocket ก็เพื่อเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการสร้างไฟล์ AZW นั่นเอง อย่างไรก็ตาม ไฟล์ AZW มีจุดที่แตกต่างจาก MOBI อยู่เรื่องหนึ่ง คือ มันรองรับการเล่นวิดีโอ และเสียงด้วย
ด้วยความที่ AZW และ AZW3 พัฒนาโดย Amazon ขึ้นมาใช้งานกับ Kindle ทำให้เครื่อง e-Reader ยี่ห้ออื่นๆ เช่น Nook, Kobo, Sony ฯลฯ ไม่สามารถเปิดไฟล์นามสกุลนี้ได้
อย่างไรก็ตาม บน Android และ iOS มีแอปพลิเคชันหลายตัวที่สามารถเปิดอ่านไฟล์ AZW และ AZW3 หรือในคอมพิวเตอร์ก็สามารถใช้ Calibre หรือ Alfa เปิดได้เช่นกัน
ภาพจาก https://support.apple.com/ibooks-author
IBA เป็นไฟล์ E-Book ที่ถูกสร้างขึ้นด้วยแอปพลิเคชัน iBooks Author ในทางเทคนิคแล้ว ไฟล์ IBA มีโครงสร้างที่แทบจะไม่แตกต่างกับไฟล์ ePUB เลย อย่างไรก็ตาม มันมีคุณสมบัติ Custom widget code เพื่อใส่ลูกเล่นพิเศษลงไปในหนังสือ และนั่นเป็นสาเหตุที่มันอ่านได้บนอุปกรณ์ของ Apple เท่านั้น
ทั้งนี้ IBA ใช้กับไฟล์หนังสือที่สร้างด้วย iBooks Author เท่านั้น หากเป็นไฟล์ E-Book แบบธรรมดาที่ซื้อจาก iTunes store เราก็จะได้เป็นไฟล์ ePUB (ที่ถูกเข้ารหัส DRM ไว้)
ไฟล์ IBA สามารถอ่านได้ผ่าน Mac, iPhone และ iPad
ภาพจาก https://pixabay.com/images/id-354352/
หากพูดถึงไฟล์ E-Book แล้วไม่ได้พูดถึงไฟล์เอกสารตระกูล PDF รายการนี้ก็คงไม่สมบูรณ์เป็นแน่แท้ เพราะมันเป็นไฟล์ยอดนิยมที่แพร่หลายมานานมาก และ E-Book จำนวนมากก็อยู่ในรูปแบบของ E-Book
ข้อเสียของ PDF คือ ไม่รองรอบการทำ Reflowable document ทำให้การแสดงผลจะตรึงรูปแบบตายตัวตามขนาดหน้าจอแสดงผล หากเอาไฟล์ PDF ขนาดใหญ่ไปเปิดดูบน e-Reader ที่มีจอขนาดเล็ก มันก็จะอ่านยากมากเลยล่ะครับ
ส่วนใหญ่ E-Book ที่สร้างด้วย PDF ส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นหนังสือการ์ตูนที่เป็นภาพทุกหน้า แต่หากเป็นตัวหนังสือล้วนๆ การทำเป็น PDF จะนำไปใช้งานบน e-Reader ได้ไม่สะดวกเท่าไหร่
ไฟล์ PDF สามารถเปิดอ่านได้เกือบทุกอุปกรณ์ แต่ e-Reader ที่ใช้หน้าจอ e-Ink แม้จะเปิดได้ แต่การแสดงผลก็จะทำได้ไม่ค่อยดีนัก อย่างผู้เขียนเอง ถ้าจะอ่าน E-Book ที่เป็น PDF ก็จะเลือกอ่านผ่าน iPad ที่มีหน้าจอขนาดใหญ่ เพราะเปิดอ่านบน Kindle แล้วพบว่าอ่านยากเกินไป
|
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ |