เคยสงสัยกันไหมครับว่า ไอ้ฉากบางฉากในหนังภาพยนตร์ ที่เราได้ดู ได้เห็นกันในหนังเนี่ย เค้าถ่ายทำกันยังไง เอ๊ะมันใช้ CG ประกอบหรือเปล่านะ ซึ่งผมจะมาพูดถึง 10 ฉากนี้จากหนังเรื่องนั้น มาดูกันว่าเขาถ่ายยังไง บทความนี้ จะพาคุณมาดูกันเลย
สำหรับสาวกและคนที่เคยดู หนัง ภาพยนตร์ Star Wars มา คงจะคุ้นชินกับฉากเปิดหรือ Opening Crawl ของแฟรนไชส์นี้เป็นอย่างดี
หลายคนอาจจะสงสัยว่า เอ๊า แล้วมันแปลกยังไง เอาเข้าโปรแกรมตัดต่อพิมพ์ Text ใส่สบาย ๆ ง่าย ๆ ถ้าในยุคนี้ ก็ใช่ครับ แต่ ณ ตอนนั้นมันไม่ได้ง่ายแบบนั้นน่ะสิ
เพราะฉาก Opening Crawl ในไตรภาคต้นฉบับทั้ง A New Hope, The Empire Strikes Back และ Return of the Jedi ใช้มือทำมันขึ้นมา ด้วยการสร้างกล่องขนาดความกว้าง 2 ฟุต ยาว 6 ฟุต และให้กล้องเคลื่อนที่ไปตามแนวยาวของกล่องนั้น
ที่มาภาพ: artofthetitle.com/title/star-wars/
ฟังดูเหมือนง่ายแต่ทีมงานบอกว่ามันยากและใช้เวลานานมากกว่าที่จะได้การเคลื่อนที่สุดสมูทออกมาให้เราได้ดูกัน
หนัง ภาพยนตร์ THE SHINING หนังคลาสสิคของ Stanley Kubrick ที่ดัดแปลงจากนิยายของ Stephen King ที่ตัว King ไม่ชอบ (เกลียดเลยแหละ)
ที่มาภาพ: nofilmschool.com/kubrick-the-shining-king
ตัวหนังมีซีนน่าจดจำมากมาย โดยเฉพาะซีนเลือดที่ทะลักออกมาจากลิฟท์ ซึ่งซีนนี้เป็นซีนแรก ๆ ที่ถูกถ่ายทำและมันไม่ได้ถ่ายง่ายเลย
ด้วยความที่ Kubrick ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้กำกับที่เอาแต่ใจและสั่งรีเทคบ่อยมาก ซึ่งฉากนี้ก็เช่นกัน ทุกครั้งที่ประตูลิฟท์เปิด Kubrick จะบอกว่า “มันดูไม่เหมือนเลือดจริงเลย” ซึ่งจริง ๆ มันถูกถ่ายแค่ 3 เทค แต่การถ่ายใหม่แต่ละครั้งต้องใช้เวลาเซ็ทฉากใหม่ถึง 9 วัน และใช้เวลาเป็นปีก่อนจะถ่ายฉากนี้ได้ถูกใจผู้กำกับสักที
หลายคนคงจะรู้กันดีว่าผู้รับบทสายลับ Ethan Hunt ในแฟรนไชส์ หนัง ภาพยนตร์ Mission: Impossible อย่าง Tom Cruise มักจะแสดงฉากสตั๊นด้วยตัวเองเสมอ และยิ่งบอกได้เลยว่าทุกภาคเฮียแกเล่นเองหมด
แต่มีอยู่ 2 ภาคที่โดยส่วนตัวผมว่าโดดเด่นและสุดยอดมาก กับฉากปีนตึกใน Ghost Protocol ที่คุณเห็นไม่ใช่ CG มันถ่ายง่าย ๆ แค่ให้เฮีย Tom Cruise แกปีนตึกจริง ๆ เท่านั้นแหละ
และอีกฉากคือใน Fallout กับฉาก Halo Jump การโดดล่มที่ความสูง 25,000 ฟุต ที่เจ้าตัวต้องเข้ารับการฝึกฝนและซ้อมมาหลายต่อหลายครั้งมาก แถมที่เซียนกว่าคือต้องชมตากล้องแหละนะ ตั้งแต่โดดลงเครื่องก่อน 1 วิ กล้องตามจับภาพเฮีย Tom Cruise มาเลย ฉากความยาว 3 นาที แต่ถ่ายทำช่วงทไวไลท์ ถ่ายได้เพียง 1 ครั้งต่อวันเท่านั้น ที่สำคัญต้องถ่ายแบบ Long Take อีก ถ้าพลาดแล้วพลาดเลย แต่ก็ออกมาสำเร็จและงดงามตามที่คาดหวัง
ที่มาภาพ: vulture.com/2020/05/cameron-crowes-vanilla-sky-easter-eggs.html
พอพูดถึง Tom Cruise ก็ทำให้นึกถึง หนัง ภาพยนตร์ Vanilla Sky กับฉากเปิดเรื่อง ที่เราจะได้เห็นเฮีย Tom Cruise ไปทำงานปกติ แต่มันไม่ปกติเพราะเขาขับรถท่ามกลางมหานคร New York ช่วงเวลา 9 โมง แต่ไร้ผู้คนและไม่มีรถวิ่งเลย จนมาจอดใจกลาง Time Square และรู้แล้วว่านี่มันไม่ปกติ
ผมจะไม่พูดถึงหนังว่ามันเป็นยังไงต่อ ซึ่งฉากนี้บอกเลยว่าไม่มีการใช้เทคนิคคอมพิวเตอร์ช่วยแต่อย่างใด เพราะผู้กำกับอย่าง Cameron Crowe ได้รับอนุญาตให้ปิด Time Square ได้เลยในช่วงเช้าวันอาทิตย์เพื่อถ่ายทำฉากไร้ผู้คนนี้
พูดถึงการปิดเมือง สำหรับ หนัง ภาพยนตร์ 28 DAYS LATER หากใครเคยดูและจำกันได้ในฉากต้น ๆ เรื่องที่ตัวเอกตื่นขึ้นมาจากโรงพยาบาลเดินออกมาท่ามกลางเมือง London ที่ไร้ผู้คน หลายคน (รวมถึงผม) ก็คิดว่าคงเซ็ทฉากแล้วใช้ CG ช่วยแหละ แต่มันไม่ได้ซับซ้อนแบบนั้น เพราะเค้าปิดเมืองจริง ๆ ครับ
แน่นอนว่ามันไม่ได้ปิดทั้งเมืองหรอก Danny Boyle ขออนุญาติปิดเมือง โดยที่ให้ตำรวจเริ่มปิดถนนที่ใช้ถ่ายทำใน London ตั้งแต่ตอนตี 4 เพื่อจับแสงแรกของวันและเริ่มถ่ายทำทันที โดยพวกเขามีเวลาถ่ายวันละ 1 ชม.เท่านั้น ก่อนที่จะกลับมาเปิดถนนอีกรอบ โดยพวกเขาใช้เวลาถ่ายทำฉากนี้อย่างเดียวเป็นระยะเวลา 4 วัน
หนึ่งในหนังมิวสิคัล โคตรดราม่ากินใจของปี ค.ศ. 2016 (พ.ศ. 2559) ของ Damien Chazelle ที่มาพร้อมกับเพลงสุดไพเราะ และฉากอันงดงามมากมายกับ หนัง ภาพยนตร์ LA LA LAND
ซึ่งมันมีอยู่ฉากนึงตอนเปิดเรื่องบน Freeway ที่ Los Angeles ภาพความวุ่นวายและความงดงามของ Los Angeles ที่เกิดขึ้นในฉากนี้ไม่ใช่ Green Screen แต่อย่างใด เพราะทีมงานเขาปิด Freeway จริง ๆ
เขาได้ทำการปิด EZ Pass ที่เชื่อม Freeway 110 กับ 105 นี้ถ่ายจริง ๆ เพื่อให้ได้เห็น Downtown และเส้นขอบฟ้า และมันไม่ได้ปิดแค่ครั้งเดียว เพราะมันปิด 2 เสาร์-อาทิตย์ ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2015 (พ.ศ. 2558) โดยปิดเฉลี่ยครั้งละ 6 ชั่วโมงเพื่อถ่ายทำให้ได้ภาพอันงดงามแบบที่เราเห็นกันเนี่ยแหละ ที่สำคัญ ถ่ายแบบ Long Take ด้วยนะเอ้อ
มีอีกฉากนึงที่ยอดเยี่ยมจริง ๆ กับฉากในบาร์ Jazz ที่ดูเหมือนมันจะใช้ Transition เชื่อมฉากใช่ไหมครับ แต่เปล่าเลย เพราะความจริงเขาหันกล้องกันแบบนี้
อย่างที่เรารู้กันดี ผลงานของ Christopher Nolan นั้นไม่ธรรมดาอยู่แล้ว ทั้งการเล่าเรื่องและการนำเสนอ ที่สำคัญเอกลักษณ์อีกอย่างของเจ้าตัวคือการทำ Practical Effect ใช้ CG ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
มาพูดถึงในฉาก Joker บนรถบรรทุกไล่ล่า Batman ใน หนัง ภาพยนตร์ The Dark Knight ที่เราเห็นรถมันลอยแล้วพลิกคว่ำพอเหมาะพอเจาะขนานดนั้นหาใช่ CG ใด ๆ ทั้งสิ้น รถจริง ๆ คนขับก็มีจริง ๆ
เพราะจริง ๆ ใต้ท้องรถได้มีการติดตั้ง Steam-Piston เหมือนเครื่องดีดระบบไอน้ำเอาไว้เพื่อให้มันสามารถดีดรถบรรทุกจากข้างใต้ให้พลิกคว่ำลอยสูงขนาดนั้นได้ ซึ่งมันผ่านการคำนวนตำแหน่งและผ่านการซ้อมคว่ำรถบรรทุกมาหลายคันเพื่อทำให้มันสมบูรณ์แบบที่สุด
แต่เมื่อผ่านการซ้อมมาแล้วปัญหาอีกอย่างคือพวกเขาต้องถ่ายทำมันในพื้นที่จริง ๆ บนถนนแคบ ๆ ใจกลางเมือง Chicago ย่านธนาคาร โดยพวกเขาต้องทำให้รถบรรทุกพลิกคว่ำโดยไม่สร้างความเสียหายให้กับย่านนั้นแม้แต่นิดเดียว แน่นอนครับ Nolan ทำได้
มาพูดถึงใน หนัง ภาพยนตร์ The Dark Knight Rises กันบ้าง กับฉากเปิดตัว Bane ที่ปล้นเครื่องบิน และใช่ครับนั่นไม่ใช่ CG
มันถูกถ่ายทำจริง ๆ เหนือน่านฟ้าที่ Scotland ทาง Nolan ได้ให้สตั๊นท์แมนโดดโรยตัวลงมาจากเครื่องบินจริง ๆ มาเกาะยังโมเดลเครื่องบินที่ห้อยไว้กับเฮลิคอปเตอร์ ส่วนฉากในเครื่องเป็นฉากที่ถูกถ่ายทำไว้อีกโลเคชั่นนึง
ยังอยู่กับหนังของ Nolan กับยอดผลงานอย่าง หนัง ภาพยนตร์ Inception ที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลย เพราะหากใครไม่รู้มาก่อนจะคิดว่าเรื่องนี้ CG เพียบ แต่ไอ้หลายฉากมันถูกทำขึ้นมาจริง ๆ ไม่ว่าจะเป็นฉากร้านอาหารก็ได้สร้างฉากขึ้นมาเพื่อให้มันหมุนได้ หรือฉากบันไดวนที่ Nolan ได้แรงบันดาลใจมาจากผลงาน Penrose Stairs ของ M.C. Escher และลงทุนสร้างมันขึ้นมาจริง ๆ
แต่ที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลยคือฉากต่อสู้ที่โถงทางเดินอันลือลั่น เพราะมันไม่ใช่ CGI เพราะนักแสดงก็เล่นเอง ฉากก็ถูกสร้างขึ้นมาโดยเฉพาะเลยทีเดียว
มาถึงผลงานล่าสุดของ Nolan ที่ยกระดับการถ่ายทำไปอีกขั้นกับหนังสุดล้ำกับ หนัง ภาพยนตร์ TENET ส่วนมากฉากทั้งหมดที่ถ่ายทำในหนังเรื่องนี้จะถูกถ่ายสองรอบ โดยรอบแรกก็นำมาเล่นแบบปกติ อีกรอบเพื่อเอามาเล่นกลับหลัง
ความ advance ของมันไม่ได้มีแค่นั้น เพราะฉากแอ็คชันนั้น นักแสดงต้องแสดงแบบย้อนหลัง! แถมนักแสดงอย่าง Kenneth Branagh บอกว่าตัวเขาต้องพูดบทแบบกลับหลังด้วย! อ๋อความเล่นใหญ่อีกอย่าง ก็แค่เอาเครื่องบินจริงมาเข้าฉากจริง ระเบิดเท่านั้นเอง
ปิดท้ายกันไปด้วยยอดผลงานการกำกับของ Sam Mendes กับหนังสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่ถ่ายทำ Long Take ทั้งเรื่อง กับ หนัง ภาพยนตร์ 1917
แต่เราไม่ได้จะมาพูดถึงเรื่อง Long Take เพราะยังมีอีกหลายเรื่องที่เราจะพูดถึง เดี๋ยวมีโอกาสคลิปหน้าเราจะมาพูดถึงหนังที่มีการถ่ายทำแบบ Long Take กัน
แน่นอนว่านอกจากความยอดเยี่ยมของ Long Take แล้วนั้น มันมีอยู่ฉากนึงกับฉากโบสถ์ที่ถูกเผาท่ามกลางซากปรักหักพังและความมืด ที่เล่นแสง เงา มีพลุแฟลงดงามและน่าทึ่งมาก
ซึ่งแน่นอนว่ามันไม่ใช่ CG เพราะที่เราเห็นในหนังทั้งฉากนั้นคือการเซ็ทขึ้นมา สร้างซากปรักหักพัง จัดไฟ ทุกอย่างถูกคำนวนมาเป็นอย่างดี ต้องคำนวนว่าแฟลอยู่ข้างบนกี่วิถึงจะถ่ายฉากสำคัญให้เห็นตัวเอกได้ เพราะมันต้องเป๊ะกับการถ่ายทำแบบ Long Take ด้วย ไม่แปลกใจเลยว่าทำไมหนังเรื่องนี้คว้ารางวัลออสการ์สาขา กำกับภาพยอดเยี่ยมและเทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม
|
สบายสบายให้มันสมายเวลาสบายแล้วจะได้สบายสมาย... :) |