ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
THAIWARE.COM | ทิปส์ไอที
 

5 เหตุผลที่ การเล่นเกมข้ามแพลตฟอร์ม (Cross-Platform Game) ถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง

5 เหตุผลที่ การเล่นเกมข้ามแพลตฟอร์ม (Cross-Platform Game) ถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง

เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 6,862
เขียนโดย :
0 5+%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88+%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B8%9F%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A1+%28Cross-Platform+Game%29+%E0%B8%96%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

5 เหตุผลที่การเล่นเกมข้ามแพลตฟอร์ม ถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง
(5 Reasons Why Cross-Platform Play Has Pushback From the Gaming Industry)

เชื่อว่าเกมเมอร์ทุกคน ต่างก็มีค่ายเกมและเครื่องเกมที่ตัวเองเชื่อมั่นและชื่นชอบ รวมไปถึงมีความถนัดในการเล่นประจำตัวกันทุกคนอยู่แล้ว และบรรดาค่ายเกมทั้งผู้ผลิตเครื่องเล่นและผู้พัฒนาเกม ต่างก็รู้ถึงความสำคัญและความถนัดในการเล่นเกมเฉพาะตัวของผู้เล่นแต่ละคน รวมทั้งความต้องการในการเล่นแบบ Multiplayer ที่มีเพิ่มขึ้น ทั้งการเล่นกับเพื่อนฝูงด้วยกัน และการหาเพื่อนหรือผู้เล่นใหม่ ๆ จากทั่วโลกเพื่อมาวัดระดับฝีมือว่าใครจะเหนือกว่า ทำให้มีผู้พัฒนาเกมรายใหม่ ๆ (รวมถึงรายเก่า ๆ) เริ่มออกแบบเกมให้สามารถเล่นข้ามแพลตฟอร์มได้ เพื่อตอบโจทย์ผู้เล่นที่มีเครื่องเล่นต่างกัน แต่อยากไปเจอกับเพื่อนในอีกเครื่อง

บทความเกี่ยวกับ Game อื่นๆ

ทว่า ทั้ง ๆ ที่การเล่น เกมข้ามแพลตฟอร์ม (Cross-Platform Game) ได้รับความนิยม เพราะปัจจัยหลาย ๆ อย่างไม่ว่าจะเป็นทั้งความสะดวกในการออนไลน์ เช่น อยู่นอกบ้านออนมือถือ อยู่ที่บ้านออนใน PC, การได้ลงทุนแค่เกม ไม่ต้องลงทุนซื้อเครื่องใหม่ (เพราะบางเกมก็เป็นเอ็กซ์คลูซีฟ), และการเจอกับเพื่อนที่ชอบเล่นหรือมีแค่เครื่องเล่นเกมเพียงเครื่องเดียว ให้สามารถมาเจอกันได้ แต่การพัฒนาเกมแบบ Cross-Platform กลับไม่ได้มีตัวเลขที่เพิ่มตามอัตราผู้เล่นที่เพิ่มขึ้น เพราะอะไร ? ไปดู 5 เหตุผลที่น่าสนใจกัน

เนื้อหาภายในบทความ

  1. การแข่งขันระหว่าง Microsoft และ Sony
    (Competition Between Microsoft and Sony)
  2. ค่าใช้จ่ายในการอัปเดตของ Microsoft และ Sony
    (Microsoft and Sony Update Fees)
  3. ผลกระทบจากการปิดปรับปรุงเซิร์ฟเวอร์
    (Server Maintenance Effects)
  4. ความแตกต่างจากโครงสร้างภายใน
    (Difference from Internal Infrastructure)
  5. ผู้เล่น PC มักได้เปรียบกว่าในการเล่น
    (PC Players have more advantages)

1. การแข่งขันระหว่าง Microsoft และ Sony
(Competition Between Microsoft and Sony)

ในขณะที่การเล่นเกมแบบข้ามแพลตฟอร์มนั้น ดีกับคุณและเพื่อนที่มีเครื่องเล่นไม่เหมือนกัน แต่มันอาจจะไม่ดีกับผลกำไรของ Microsoft และ Sony เพราะในแง่ของการเป็นยักษ์ใหญ่ด้านเกมคอนโซลแล้ว ทั้ง Microsoft และ Sony ถือเป็นคู่แข่งทางการค้าโดยตรง

การแข่งขันระหว่าง Microsoft และ Sony (Competition Between Microsoft and Sony)
เครดิตภาพ : https://www.slashgear.com/sony-vs-microsoft-gaming-consoles-which-one-to-go-for-this-fall-19638740

ความแตกต่างระหว่างสองเครื่องเล่นนี้ไม่ได้สำคัญอะไรมากนักสำหรับคนส่วนใหญ่ แต่อย่างน้อย คุณเองก็อาจเป็นหนึ่งในผู้ที่มีแนวโน้มจะซื้อ PS5 ด้วยถ้าเพื่อนคุณมีกันหมดแล้วและอยากซื้อมาเล่นด้วยกันกับเพื่อน การที่ทำให้เกมทุกเกมสามารถเล่นข้ามแพลตฟอร์มได้หมด ก็ทำให้ผู้เล่นมีอิสระในการเลือกซื้อมาขึ้น ซึ่งมีผลกระทบกับยอดขายของทั้งสองบริษัทด้วย

2. ค่าใช้จ่ายในการอัปเดตของ Microsoft และ Sony
(Microsoft and Sony Update Fees)

ผู้พัฒนาเกมจะต้องจ่ายเงินให้กับ Microsoft และ Sony เพื่ออัปเดตเกมของตัวเองบนแพลตฟอร์มของทั้งสองค่ายเพื่อให้เกมของตัวเองสามารถดำเนินต่อไปได้ ซึ่งค่าอัปเดตที่ว่า ในแพลตฟอร์มค่ายอื่นอย่าง Nintendo และ Steam หรือแม้กระทั่งในบรรดาแอปสโตร์บนมือถือ ก็มีการเรียกเก็บด้วยเช่นกัน

ค่าใช้จ่ายในการอัปเดตของ Microsoft และ Sony (Microsoft and Sony Update Fees)
เครดิตภาพ : https://steamcommunity.com/sharedfiles/filedetails/?l=thai&id=370635049

การที่มีเกมของตัวเองอยู่บนแพลตฟอร์มที่ต่างกัน ผู้พัฒนาก็จะต้องใช้บิลด์ (ตัวเกม) ที่ต่างกันตามแพลตฟอร์มที่เกมนั้นรัน เช่นเกม Minecraft เวอร์ชันคอนโซล ก็จะใช้บิลด์ที่เก่ากว่าเวอร์ชัน PC บรรดาผู้พัฒนาทั้งหลายโดยเฉพาะผู้พัฒนาอิสระ (ผู้พัฒนาเกมอินดี้) ก็อาจจะต้องใช้การรออัปเดตแพทช์ใหญ่ตูมเดียวในแต่ละแพลตฟอร์มที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลทางด้านการเงินที่ไม่สามารถอัปถี่ ๆ ได้เหมือนค่ายใหญ่ ๆ หรือเรื่องของความท้าทายในการอัปเดตบนแพลตฟอร์มที่มีเกมของตัวเองอยู่ก็ตาม

3. ผลกระทบจากการปิดปรับปรุงเซิร์ฟเวอร์
(Server Maintenance Effects)

การมีเกมที่รันบนเซิร์ฟเวอร์ที่แตกต่างกันสำหรับแต่ละแพลตฟอร์มโดยเฉพาะในเวลาที่เกม ๆ นั้นไม่ได้เป็นเกมที่เล่นข้ามแพลตฟอร์มได้ ถือเป็นวิธีให้บริการเกมที่ชาญฉลาดในเวลาที่ต้องปิดปรับปรุงเซิร์ฟเวอร์ไม่ว่าจะปิดเพื่อการแก้ไข ข้อผิดพลาด หรือ บัค (Bug) หรือปัญหาใด ๆ ที่เกี่ยวกับเครือข่ายหรือแพลตฟอร์มก็ตาม เพราะถ้าหากว่าคุณเล่นเกมบน Xbox แต่มีบัคขนาดใหญ่ที่ทำให้ต้องปิดปรับปรุงในเวอร์ชัน PS4 การปิดเซิร์ฟเวอร์เกมจะเห็นผลกระทบในเรื่องดังกล่าวขึ้นมาทันที

เพราะถ้าเกมดังกล่าวเป็นเกมที่เล่นข้ามแพลตฟอร์มได้ แล้วต้องทำการปิดปรับปรุงเพื่ออัปเดต ก็จะต้องทำการปิดทุกเซิร์ฟเวอร์ในทุกแพลตฟอร์มไปพร้อม ๆ กัน แน่นอนว่าจะส่งผลกระทบในวงกว้าง ทั้งจำนวนผู้เล่นที่ไม่สามารถเข้าเล่นเกมได้ และรายได้ที่หายไปในช่วงเวลาปิดปรับปรุง เพราะถ้าหากเกมดังกล่าวไม่ได้เล่นข้ามแพลตฟอร์ม ก็ยังทำให้ผู้พัฒนาสามารถเลือกที่จะปิดอัปเดตเซิร์ฟเวอร์แบบไม่พร้อมกันได้ เช่น ปิดปรับปรุงเวอร์ชัน PC ก่อน แล้วค่อยปิดปรับปรุงเวอร์ชันมือถือ

ผลกระทบจากการปิดปรับปรุงเซิร์ฟเวอร์ (Server Maintenance Effects)
มีปัญหาคลิกขวาใน PC แล้วเกมเด้งออก แต่ผู้เล่นในมือถือก็ต้องโดนหางเลขไปด้วยเพราะเซิร์ฟเวอร์หลักปิดปรับปรุง
เครดิตภาพ : https://www.facebook.com/mir4global/posts/pfbid02nNoVD3aGj4nUweCvR7W3oF4hMw9rNnLxLtscvNsvBVtwjinXPqPmQ9MiJX8atkBhl

ถึงแม้ว่าเกมที่เล่นข้ามแพลตฟอร์มได้ จะทำให้สามารถเล่นกับเพื่อนไปได้พร้อม ๆ กัน แต่ถ้าเกมไหนที่มีปัญหาเรื่องการปิดปรับปรุงบ่อย ๆ เช่น เกม MIR4 ที่มีปัญหาในเวอร์ชัน PC แต่ต้องปิดเซิร์ฟเวอร์ทั้งหมด อดเล่นไปด้วยทั้ง ๆ ที่คุณเป็นผู้เล่นแบบ Mobile ที่ในมือถือยังเล่นได้ปกติล่ะก็ คุณจะต้องมีอาการหงุดหงิดกันบ้างแหละ

4. ความแตกต่างจากโครงสร้างภายใน
(Difference from Internal Infrastructure)

โครงสร้างภายในเครื่องเกมแต่ละเครื่อง ทั้ง Sony, Microsoft, และ Nintendo ไม่ได้จำเป็นว่าจะต้องเหมือนกันเสมอไป ทำให้เป็นงานยากสำหรับเหล่าผู้พัฒนาเกมแบบข้ามแพลตฟอร์มอยู่เหมือนกัน ในการพัฒนาเกม หรือพอร์ตเกมจากอีกเครื่องมาลงอีกเครื่อง

ความแตกต่างจากโครงสร้างภายใน (Difference from Internal Infrastructure)
เครดิตภาพ : https://www.dailysabah.com/life/strategy-showdown-in-gaming-nintendo-vs-sony-vs-microsoft/news

ในขณะที่มีเกมที่สามารถเล่นข้ามแพลตฟอร์มได้มากขึ้น แสดงให้เห็นว่าความแตกต่างของโครงสร้างภายในไม่ได้เป็นปัญหามากมายอะไรนักสำหรับการทำเกม แต่ก็ต้องไม่ลืมด้วยว่า ในท้ายที่สุด มันก็ยังมีเรื่องของความแตกต่างในการระดมทุน และการทำทีมพัฒนาตามความถนัดในแต่ละแพลตฟอร์ม ที่มีผลโดยตรงต่อการทำเกมแบบข้ามแพลตฟอร์มด้วยเหมือนกัน

5. ผู้เล่น PC มักได้เปรียบกว่าในการเล่น
(PC Players have more advantages)

หากคุณเป็นผู้เล่นเกม PC ย่อมต้องรู้ดีอยู่แล้วว่า ความเร็วของ เมาส์ (Mouse) และ คีย์บอร์ด (Keyboard) นั้น มีความรวดเร็วในการควบคุมแตกต่างกันมากน้อยแค่ไหนเมื่อเทียบกับคอนโทรลเลอร์ ซึ่งความเร็วในการสั่งการที่แตกต่างกันตรงนี้ มีผลกระทบอย่างเห็นได้ชัดกับ เกม FPS เช่น ความเร็วในการกวาดสายตา, การล็อกเป้ายิง, การเลือกจุดปาระเบิดสูตรเป็นต้น

ผู้เล่น PC มักได้เปรียบกว่าในการเล่น (PC Players have more advantages)
เครดิตภาพ : https://www.youtube.com/watch?v=NblYe--9kdo

ถึงแม้ว่าคุณอาจจะอยากเล่นกับเพื่อนที่มีเกมอยู่ในเครื่องคนละค่ายกัน แต่ถ้าต้องแลกกับการคุณใช้จอยคอนโทรลเลอร์ที่ต้องบังคับแกนอนาล็อกเพื่อหมุนมุมกล้อง แล้วไปเจอกับคนลากเมาส์ที่หันมายิงคุณได้เร็วกว่า คุณจะยอมแลกหรือเปล่าล่ะ ?


ที่มา : www.makeuseof.com


0 5+%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88+%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B8%9F%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A1+%28Cross-Platform+Game%29+%E0%B8%96%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
สมาชิก : Member    สมาชิก
เกมเมอร์หญิงทาสแมว ถ้าอยู่กับแมวแล้วจะน้วยแมวทั้งวัน
 
 
 

ทิปส์ไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น