ส่วนมากผู้ใช้คอมพิวเตอร์จะไม่ค่อยสนใจเครื่องมือ Troubleshoot บนระบบปฏิบัติการ Windows เพราะไม่รู้ว่ามันคืออะไร ? และ มีความสามารถอะไรบ้าง ? เพราะว่า ปกติเราจะรู้แค่ว่ามันขึ้นแจ้งเตือนเมื่อพบข้อบกพร่อง หรือการทำงานของโปรแกรมที่ผิดพลาด (Error) และผู้ใช้ส่วนใหญ่ก็จะปิดมันไปด้วยความเคยชิน โดยไม่ได้อ่านรายละเอียด อะไรมากมาย
ซึ่งจริง ๆ แล้วประโยชน์ของ Troubleshoot มีอะไรมากกว่าที่คุณคิด เพราะมันสามารถที่จะช่วยคุณซ่อมแซมระบบที่เสียหาย หรือปรับแต่งแก้ไขข้อบกพร่องบางอย่างให้เราได้เลย ไม่ใช่แค่ว่าโปรแกรม Error ก็โชว์ขึ้นมาอย่างเดียวอย่างที่หลายคนเห็นบ่อย ๆ โดยถ้าคุณศึกษาดี ๆ และใช้ "Troubleshoot" เป็น ปัญหาคอมพิวเตอร์เล็ก ๆ น้อย ๆ คุณก็สามารถแก้ไขด้วยตัวเองได้เนื้อหาภายในบทความ
Troubleshoot หรือ Troubleshooter จริง ๆ แล้วมันเป็นเครื่องมืออรรถประโยชน์ หรือ เครื่องยูทิลิตี้ (Utility Tools) ชนิดหนึ่ง ที่มีติดมากับระบบปฏิบัติการ Windows มีหน้าที่ไว้ช่วยเหลือผู้ใช้งาน เมื่อพบข้อบกพร่องบนอุปกรณ์ทั่วไป เช่น การเชื่อมต่อเครือข่าย เครื่องพิมพ์ การอัปเดต ระบบปฏิบัติการ Windows, ระบบบลูทูธ (Bluetooth) และอีกมากมาย การใช้งาน Troubleshoot ปกติมันจะทำงานเองเมื่อพบปัญหาแต่จริง ๆ คุณก็สามารถเรียกใช้ Troubleshoot เองได้ ซึ่งจะบอกวิธีในส่วนถัดไป
ถ้าคุณอยากดูว่าความสามารถพื้นฐานของ Troubleshoot ว่ามีอะไร รวมถึงวิธีเรียกใช้งานให้เข้าไปที่การตั้งค่าตัวจัดการปัญหา (Troubleshoot Setting) โดยพิมพ์คำค้นหาลงใน "ช่อง Search" ที่อยู่บนเมนูเริ่มต้น (Start Menu) แล้วก็กด "ปุ่ม Enter" แค่นี้ก็จะพบเจอกับรายละเอียดความสามารถของ Troubleshoot แล้ว
ความสามารถของ Troubleshoot ประกอบด้วย
จากภาพที่ 1 - 4 ผมได้ใช้ Troubleshoot ในการแก้ปัญหาไมโครโฟน และสิ่งที่มันทำก็คือการสอบถามเราเพื่อทำความเข้าใจปัญหาที่เราเจอ (ตามภาพที่ 1) ซึ่งพอตอบไปเรื่อย ๆ มันก็ได้แนะนำผู้เขียนว่าให้ลองตั้งค่าแนะนำสำหรับไมโครโฟนใหม่หรือไม่ (ตามภาพที่ 2)
หลังจากกดตกลงแล้วระบบก็บอกให้เราพูดตามประโยค (ตามภาพที่ 3) และระหว่างพูดไปมันก็จะค่อย ๆ ปรับความชัด และการตั้งค่าของไมโครโฟนให้เหมาะสมและสุดท้ายก็เป็นการสรุปผลการทำงานของ Troubleshoot (ในภาพที่ 4)
จริง ๆ แล้วคำว่า Troubleshoot นั้นมาจากการรวมคำว่า Trouble ที่แปลว่า "ปัญหา" และ Shoot ที่แปลว่ายิง หรือ "กำจัด" พอรวม ๆ แล้วเลยเป็นคำความหมายแบบตรงตัวว่า "การกำจัดปัญหา" (ไปทีละอย่าง) ซึ่งมันมักจะถูกใช้ในลักษณะของการแก้ปัญหาพวก สินค้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ระบบซอฟต์แวร์ และ เครื่องจักร ที่มีความซับซ้อน ไม่ได้มีแค่เฉพาะในคอมพิวเตอร์เท่านั้น
อธิบายง่าย ๆ Troubleshoot ก็เหมือนกับทฤษฎีในการแก้ปัญหารูปแบบหนึ่ง ที่มีแนวคิดคือการตรวจสอบชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับปัญหาไปทีละจุดเพื่อหาวิธีแก้ไขไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะเสร็จสิ้น หรือ ทำให้อุปกรณ์กลับมาใช้งานได้อีกครั้ง โดยมีพื้นฐาน ง่าย ๆ คือ
ถ้าวันนี้คุณเปิดคอมพิวเตอร์และหน้าจอเป็นสีดำสนิท สิ่งแรกที่ทำคือการตั้งคำถามว่าเกิดจากสาเหตุอะไร เช่น
เช็คทีละส่วน ทีละขั้นตอน ตัดความเป็นไปได้ออกไปให้มากที่สุดจนกว่าจะเจอสาเหตุที่แท้จริง สิ่งนี้เอง ก็เป็นขั้นตอนแก้ปัญหาง่าย ๆ ที่เรียกกันว่า Troubleshoot นั่นเองครับ
|
งานเขียนคืออาหาร ปลายปากกา ก็คือปลายตะหลิว |