เรารู้กันดีว่าโรคระบาดทำให้โปรแกรมวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ มีอัตราการใช้งานที่สูงขึ้น และ แพลตฟอร์มประชุมทางไกล Google Meet ก็เป็นหนึ่งในนั้น
หลายคนอาจได้ยินการเปิดตัว หรือ ได้เห็นตัวเลือก "Companion Mode" ปรากฏขึ้นมาใน แพลตฟอร์มประชุมออนไลน์ Google Meet หลายคนอาจสงสัยว่าโหมดนี้มีเอาไว้ใช้ทำอะไร ต่างไปจากเดิมอย่างไร และเราจะใช้งานได้อย่างไร บทความนี้เราจะมาทำความรู้จัก Companion Mode โหมดใหม่ของ Google Meet กัน
โหมดแยกจอคู่ (Companion Mode) บนแพลตฟอร์มประชุมออนไลน์ Google Meet คือโหมดที่เปิดตัวอย่างเป็นทางการในช่วงประมาณเดือนกันยายน ค.ศ. 2021 (พ.ศ. 2564) จุดประสงค์ของโหมดนี้ ออกแบบมาเพื่อเพิ่มเวิร์กโฟลว์ (Workflow) ในการใช้งาน Google Meet โดยจะอนุญาตให้คุณสามารถนำอุปกรณ์อีกเครื่องมาเชื่อมต่อเป็นจอที่ 2 และเอาไว้แชร์หน้าจอเอกสารในขณะที่อุปกรณ์หลักสามารถเปิดโหมดปกติเพื่อคอยมอนิเตอร์และสื่อสารกับผู้เข้าร่วมประชุมคนอื่น ๆ ไปพร้อม ๆ กันได้นั่นเอง
ยกตัวอย่างในกรณีที่มีการเรียนการสอน อาจารย์ก็จะสามารถเปิด "Companion Mode" เพื่อแชร์หน้าเอกสารการเรียน พร้อมกับหยิบมือถือมาเปิดโหมดปกติ เพื่อใช้มอนิเตอร์และสื่อสารกับนักเรียนผ่าน หน้าจอผู้ใช้งาน (User Interface) ของ แพลตฟอร์มประชุมออนไลน์ Google Meet โดยไม่ต้องมานั่งคอยสลับแท็บไปมาระหว่างจอ Google Meet กับจอโปรแกรมเอกสาร นั่นเอง
ข้อแตกต่างเมื่อเราเปิดใช้ Companion Mode ก็คือคุณสมบัติของระบบเสียง และกล้องจะถูกปิดการใช้งาน ทันที เพื่อป้องกันการเกิด เสียงไมค์สะท้อน (Microphone Echoing) รวมถึงคุณก็จะไม่สามารถเห็นฟีดวิดีโอของคนอื่นผ่านโหมดนี้ ดังนั้นถ้าเปิด Companion Mode คุณก็จะไม่สามารถเห็นหน้าตาของคนอื่นในที่ประชุม และก็จะไม่สามารถสื่อสารกับคนอื่นผ่านไมโครโฟนได้ แต่ผู้เข้าร่วมประชุมจะเห็นแค่หน้าจอที่คุณแชร์ลงในห้องประชุมเท่านั้น
สำหรับฟีเจอร์อื่น ๆ เช่น ระบบแชท, ระบบไวท์บอร์ด, ระบบโพลสำรวจ, ระบบยกมือในห้องประชุม หรือบันทึกการประชุม นั้นยังสามารถเปิดใช้งานได้เหมือนโหมดปกติ
ดังนั้นในหัวข้อนี้สามารถสรุปง่าย ๆ ว่า Companion Mode นั้นถูกสร้างมาเพื่อให้เราสามารถใช้มันเพื่อแชร์หน้าจอและตอบสนองกับผู้เข้าร่วมประชุมคนอื่น ๆ ได้โดยการเปิด 2 จอ 2 อุปกรณ์ พร้อมกับไม่ทำให้เกิดเสียงสะท้อนระหว่างอุปกรณ์ที่คุณใช้อยู่นั่นเอง
เอาล่ะ ตอนนี้คุณรู้ถึงประโยชน์ของ Companion Mode ไปแล้ว ต่อไปเราจะสอนการใช้งาน ซึ่งข้อจำกัดของ Comapanion Mode มีอย่างเดียวคือคุณจำเป็นต้องเปิดใช้ผ่านเวอร์ชัน Desktop เท่านั้น มันจะไม่รองรับในระบบมือถือทั้ง iOS และ Android โดยวิธีการเปิดใช้งานมี 2 วิธีหลัก ๆ คือ
เมื่อคุณได้ลิงก์มา หรือมีลิงก์รหัสเข้าห้องประชุม Google Meet อยู่แล้วก็ให้คลิกลิงก์เข้าปกติ และพออยู่ในหน้า "Ready to join" คุณจะพบ "ตัวเลือก Use Companion Mode" ที่คุณอาจไม่เคยสังเกตมาก่อน
เมื่อกดคลิกเข้ามาแล้วคุณก็จะอยู่ในห้องประชุมของ Google Meet ด้วยสถานะแบบ Companion Mode แล้วครับ ซึ่งถ้าสังเกตด้านขวารายชื่อบัญชีที่เชื่อมต่อ Companion Mode อยู่ก็จะมีข้อความระบุเอาไว้ชัดเจน
เป็นอีกวิธีเปิดใช้งานด้วยลิงก์ตรง โดยให้เข้าไปที่ลิงก์ g.co/companion ก่อนจากนั้นให้คุณคัดลอกลิงก์ห้อง Google Meet เช่น "https://meet.google.com/vem-sgcm-kwz" ไปวางในช่องว่าง และกด "ปุ่ม Start Companion" ก็จะเป็นการเปิด "Companion Mode" ได้อีกวิธี
การแชร์หน้าจอใน Companion Mode ก็ไม่แตกต่างกับโหมดปกติ ถึงแม้เมื่อคุณอยู่ในห้องประชุมแล้วคุณจะไม่เห็นฟีดวิดีโอคนอื่นหรือได้ยินเสียงใคร แต่ "ปุ่ม Share Screen" ก็ยังอยู่ที่เดิมไม่ไปไหน และคุณก็ยังสามารถเลือกประเภทการแชร์หน้าจอได้ตามปกติ ประกอบไปด้วย
อย่างที่ทราบว่า Companion Mode มีไว้เพื่อให้การเปิด 2 จอมีประสิทธิ์ภาพมากขึ้น ดังนั้นหากพูดถึงการใช้ Companion Mode เพียว ๆ แล้วเราก็ไม่แนะนำ เนื่องจากคุณจะไม่สามารถสื่อสารกับคนอื่นได้เลย เว้นแต่ใช้พิมพ์ข้อความแชท ดังนั้นถ้าไม่ต้องการเปิด 2 จอแยกก็ใช้โหมดปกติดีที่สุดแล้วครับ
|
งานเขียนคืออาหาร ปลายปากกา ก็คือปลายตะหลิว |