ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
THAIWARE.COM | ทิปส์ไอที
 

Dead Pixel, Bright Pixel และ Struck Pixel คืออะไร ?

Dead Pixel, Bright Pixel และ Struck Pixel คืออะไร ?

เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 24,035
เขียนโดย :
0 Dead+Pixel%2C+Bright+Pixel+%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0+Struck+Pixel+%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3+%3F
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

Dead Pixel, Bright Pixel และ Struck Pixel คืออะไร ?

มีอุปกรณ์หลายอย่างที่มีหน้าจอแสดงผลอยู่ในตัวอย่างเช่น หน้าจอคอมพิวเตอร์, โทรทัศน์, สมาร์ทโฟน, แท็บเล็ต ฯลฯ ซึ่งหน้าจอแสดงผลในปัจจุบันนี้ ก็จะใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่าจอ Liquid-crystal display (LCD) ในการทำงาน

บทความเกี่ยวกับ Monitor อื่นๆ

โดยในหน้าจอแบบ LCD นั้นจะประกอบไปด้วยพิกเซล (Pixel) เป็นจำนวนมาก อย่างหน้าจอ หน้าจอความละเอียดแบบ Full HD ก็จะมีความละเอียด 1,920 x 1,080 พิกเซล หรือมีจำนวนพิกเซลทั้งหมด 2,073,600 จุด หรือหากคุณใช้ ความละเอียดหน้าจอ 4K (3,840 x 2,160 พิกเซล) ก็จะมีจำนวนพิกเซลสูงถึง 8,294,400 จุด ภายในจุดพิกเซลจะประกอบไปด้วย สี RGB ซึ่งจะผสมสีและเปล่งแสงออกมา เพื่อสร้างสีตามข้อมูลที่ได้รับมา รวมกันแสดงเป็นภาพให้ปรากฏบนหน้าจอ 

Dead Pixel, Bright Pixel และ Struck Pixel คืออะไร ?
หากเรามีแว่นขยายกำลังสูง ส่องไปที่หน้าจอก็จะเห็นภาพประมาณนี้
ภาพจาก : https://www.austinobrien.me/blog/shader-study/slime-rancher-pixel-display

จะเห็นได้ว่า ในหน้าจอแสดงผลที่เราใช้งานอยู่นั้น เกิดจากการการทำงานร่วมกันของจุดพิกเซลหลายล้านจุด จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ในขั้นตอนการผลิตหน้าจอ จะมี "พิกเซล" บางจุด ที่ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ซึ่งโดยปกติแล้วฝ่ายตรวจสอบคุณภาพในการผลิต ก็จะทำการคัดหน้าจอที่มีปัญหาออกไป อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริง เราก็ยังมีโอกาสพบเจอปัญหาจุดพิกเซลทำงานผิดปกติอยู่ดี 

เรื่องนี้ทางผู้ผลิต และผู้บริโภค จะมีความเห็นไม่ตรงกัน โดยส่วนใหญ่แล้ว ในเงื่อนไขการเคลมสินค้าในกรณีที่พบปัญหาการทำงานของพิกเซล ทางผู้ผลิตมักกำหนดให้ เคลมได้ต่อเมื่อมีจุดพิกเซลที่มีปัญหามากกว่า 3-5 จุด (แล้วติดประเภท และราคาสินค้า สินค้าที่อยู่ในกลุ่มเรือธงอาจจะเคลมได้ แม้พบแค่จุดเดียว) เพราะ 5 พิกเซล จาก 2,073,600 พิกเซล หากคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ ก็แค่ 0.00024112% เท่านั้น นับเป็นข้อบกพร่องที่ยอมรับได้

แต่สำหรับผู้บริโภค ต่อให้มีจุดเดียวก็ไม่อยากจะใช้งานต่อแล้ว หากมองไม่เห็นจุดพิกเซลที่มีปัญหา หรือหาไม่เจอก็แล้วไป แต่ถ้าบังเอิญเห็นขึ้นมาเมื่อไหร่ เราจะรู้สึกว่าเจ้าจุดนั้นมันช่างโดดเด่น เตะตาเสียเหลือเกิน

ปัญหาการทำงานของพิกเซลก็จะมีอยู่ 3 อาการ คือ เดธพิกเซล (Dead Pixel), ไบรท์พิกเซล (Bright Pixel) และสตรัคพิกเซล (Struck Pixel) มันคืออะไร ? แตกต่างกันอย่างไร ? มาทำความรู้จักกับมันกัน

เนื้อหาภายในบทความ

Dead Pixel คืออะไร ?
(What is Dead Pixel ?)

เดธพิกเซล (Dead Pixel) หรือบางคนก็เรียกว่า "ดาร์คพิกเซล" (Dark Pixel), "จุดทึบ", "จุดดับ" หรือ "จุดมืด" เป็นอาการที่เกิดจากการที่ตัวซับพิกเซล (Sub-Pixel) ทั้ง 3 สี (แดง - Red, เขียว - Green และ น้ำเงิน - Blue) ที่อยู่ภายในจุดพิกเซล หยุดทำงานโดยสมบูรณ์ ทำให้เห็นเป็นจุดสีดำปรากฏบนหน้าจอ

สาเหตุของการเกิดเดธพิกเซล (Dead Pixel) เกิดขึ้นจากการที่ทรานซิสเตอร์ (Transistor) ในอิเล็กโทรด (Electrodes) นั้น "ค้าง" อยู่ที่ตำแหน่ง "เปิด" (On) หากเป็นจอที่ใช้ พาเนลหน้าจอแบบ TN หรือ "ค้าง" อยู่ที่ตำแหน่ง "ปิด" (Off) หากเป็นจอที่ใช้พาเนลแบบ IPS ส่งผลให้แสงไม่สามารถลอดผ่านออกมาได้ เราจึงเห็นเป็นจุดสีดำบนหน้าจอตลอดเวลา

Dead Pixel, Bright Pixel และ Struck Pixel คืออะไร ?
ตัวอย่างของเดธพิกเซล (Dead pixel)
ภาพจาก : https://www.galax.com/en/monitorlimitedwarranty

Bright Pixel คืออะไร ? (What is Bright Pixel ?)

ไบร์ทพิกเซล (Bright Pixel) หรือบางคนก็เรียกว่า "ฮอตพิกเซล" (Hot Pixel), "จุดขาว" หรือ "จุดสว่าง" เป็นปัญหาที่เกิดจากการที่ทรานซิสเตอร์ (Transistor) ในอิเล็กโทรด (Electrodes) นั้น "ค้าง" อยู่ที่ตำแหน่ง "ปิด" (Off) หากเป็นจอที่ใช้พาเนลแบบ TN หรือ "ค้าง" อยู่ที่ตำแหน่ง "เปิด" (On) หากเป็นจอที่ใช้ พาเนลหน้าจอแบบ IPS ส่งผลให้แสงทั้งหมดสามารถลอดผ่านเลเยอร์ RGB มาได้ ทำให้เราเห็นเป็นจุดพิกเซลสีขาวตลอดเวลา

Dead Pixel, Bright Pixel และ Struck Pixel คืออะไร ?
ตัวอย่างของไบร์ทพิกเซล (Bright Pixel)
ภาพจาก : https://www.galax.com/en/monitorlimitedwarranty

Struck Pixel คืออะไร ?
(What is Struck Pixel ?)

สตรัคพิกเซล (Struck Pixel) เป็นอาการเสียอีกรูปแบบหนึ่ง ที่สามารถเกิดได้กับจุดพิกเซล แต่สาเหตุจะแตกต่างไปจากเดธพิกเซล (Dead Pixel) และไบร์ทพิกเซล (Bright Pixel) อย่างสิ้นเชิง โดยมีความเป็นไปได้อยู่ 2 อย่าง คือ ความผิดพลาดจากการทำงานของทรานซิสเตอร์ (Transistor) หรือความผิดปกติของเลเยอร์ RGB ที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการผลิต

อาการของสตรัคพิกเซล (Struck Pixel) นั้นจะคล้ายคลึงกับไบร์ทพิกเซล (Bright Pixel) คือเป็นจุดที่สว่างตลอดเวลา แต่แทนที่จะเป็นจุดสีขาวเหมือนกับไบร์ทพิกเซล (Bright Pixel) มันจะเป็นจุดสีแทน โดยสามารถเป็นสีใดก็ได้แล้วแต่มันจะสุ่มเป็น

ในกรณีที่ปัญหามาจากความผิดพลาดของทรานซิสเตอร์ (Transistor) สาเหตุจะเกิดจากการที่ทรานซิสเตอร์ (Transistor) ไม่ได้รับพลังงานมากพอ ทำให้แสงสามารถส่องผ่านไปได้เพียงถึงเลเยอร์ RGB แล้วจบการทำงานอยู่แค่นั้น ทำให้พิกเซลดังกล่าวแสดงสีค้างอยู่แบบนั้น

อย่างไรก็ตาม อาการสตรัคพิกเซล (Struck Pixel) สามารถแก้ไขได้ เมื่อทรานซิสเตอร์ (Transistor) ได้รับพลังงานมากพอ โดยมันจะหายไปเองเมื่อเวลาผ่านไปสักพัก หรือกระตุ้นด้วยการกดลงไปเบา ๆ บริเวณที่เกิดสตรัคพิกเซล (Struck Pixel) ไม่ก็พยายามเปลี่ยนสีบนหน้าจอสลับไปมา เพื่อกระตุ้นการใช้พลังงานของทรานซิสเตอร์ (Transistor) ให้กลับมาเป็นปกติ

Dead Pixel, Bright Pixel และ Struck Pixel คืออะไร ?
ตัวอย่างของสตรัคพิกเซล (Struck Pixel)
ภาพจาก : https://shotkit.com/stuck-pixel/

เปรียบเทียบความแตกต่าง ระหว่าง Dead Pixel, Bright Pixel และ Struck Pixel (What is the difference between Dead Pixel, Bright Pixel and Struck Pixel ?)

  อาการ

แก้ไข

Dead Pixel จุดสีดำบนหน้าจอ

เคลมอย่างเดียว

Bright Pixel จุดสีขาวบนหน้าจอ

เคลมอย่างเดียว

Struck Pixel จุดสีแบบสุ่มแบบหน้าจอ

สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง


ที่มา : www.dell.com , digitalworld839.com , www.austinobrien.me , www.nelson-miller.com , www.cnet.com , www.techtarget.com , www.laptopscreen.com , www.galax.com

0 Dead+Pixel%2C+Bright+Pixel+%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0+Struck+Pixel+%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3+%3F
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
ระดับผู้ใช้ : Admin    Thaiware
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ
 
 
 

ทิปส์ไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น