ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
THAIWARE.COM | ทิปส์ไอที
 

ซอฟต์แวร์แบบเปิดเผยซอร์สโค้ด มีความน่าเชื่อถือได้หรือไม่ ? (Should we trust Open-Source Software ?)

ซอฟต์แวร์แบบเปิดเผยซอร์สโค้ด มีความน่าเชื่อถือได้หรือไม่ ? (Should we trust Open-Source Software ?)
ภาพจาก : https://forum.huawei.com/enterprise/en/the-overview-of-open-source-software-oss-part-01/thread/789185-867?page=1
เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 4,428
เขียนโดย :
0 %E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%9F%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%A2%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%94+%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%96%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88+%3F+%28Should+we+trust+Open-Source+Software+%3F%29
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

ซอฟต์แวร์แบบเปิดเผยซอร์สโค้ด มีความน่าเชื่อถือได้หรือไม่ ?
(Should we trust Open-Source Software ?)

สำหรับผู้ที่เป็นสายฟรี น่าจะคุ้นเคยกับ ซอฟต์แวร์ประเภทเปิดเผยซอร์สโค้ด (Open-Source Software) กันเป็นอย่างดี เพราะส่วนใหญ่แล้วซอฟต์แวร์ประเภทนี้มักจะอนุญาตให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดไปใช้งานได้ฟรี มีบ้างที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่ก็เป็นส่วนน้อย

บทความเกี่ยวกับ Software อื่นๆ

อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้ที่ไม่เคยใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส มาก่อน อาจจะมีคำถามสงสัยว่ามันมีความน่าเชื่อถือขนาดไหน ? เพราะเราปฏิเสธไม่ได้เลยว่าชื่อเสียงของผู้พัฒนาก็มีส่วนสำคัญต่อความน่าเชื่อถือเช่นกัน เช่น ถ้าต้องเลือกซอฟต์แวร์มาใช้งานสักตัว ระหว่างซอฟต์แวร์จากบริษัทมีชื่ออย่าง ไมโครซอฟท์ (Microsoft) หรือ อะโดบี (Adobe) เราก็คงไม่สงสัยเลยว่ามันจะมีอันตรายไหม แต่ถ้ามาจาก Baidu คุณก็คงจะมีความ "เอ๊ะ" ความลังเลเกิดขึ้นบ้างแหละ

แล้วซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ที่เป็นผลงานจากความอาสาสมัครของนักพัฒนาล่ะ สามารถเชื่อถือได้ขนาดไหน ? เราขออนุญาตตอบไว้ตรงนี้เลยว่าส่วนใหญ่ "เชื่อถือได้" ส่วนถ้าอยากรู้เหตุผล เชิญอ่านต่อได้เลย

เนื้อหาภายในบทความ

  1. คุณสามารถเชื่อถือโค้ดสาธารณะได้
    (You can trust public code)
  2. บริษัทระดับโลกหลายแห่ง สนับสนุนซอฟต์แวร์โอเพยซอร์ส
    (Many Global Companies are supported Open-Source Software)
  3. เป็นการร่วมลงทุน ในโค้ดเดียวกัน
    (It is a Joint Investment in the same code)
  4. ชุมชนโอเพนซอร์ส มีจรรยาบรรณคอยค้ำจุน
    (Open-source Community have Ethics Supported)
  5. ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส มีเวลาเป็นเครื่องพิสูจน์
    (Time will tell the proof of Open-Source Software)

1. คุณสามารถเชื่อถือโค้ดสาธารณะได้
(You can trust public code)

ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาโดยบริษัทส่วนใหญ่แล้วจะมีการจดลิขสิทธิ์เพิ่มเป็นการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร เพราะมันก็มีการลงทุนเป็นเงินจำนวนมากกว่าจะพัฒนาซอฟต์แวร์สำเร็จ เพื่อป้องกันการลอกเลียนแบบซอร์สโค้ด (Source Code) ก็จะมีการปิดซ่อนเอาไว้ไม่มีการเผยแพร่สู่สาธารณะ

เมื่อผู้ใช้ไม่สามารถดูโค้ดการทำงานของมันได้ จึงไม่สามารถตรวจสอบอะไรได้เลย ว่ามันมีอันตรายอะไรแอบซ่อนไว้หรือเปล่า ? สิ่งที่ทำได้คือการไว้วางใจในตัวชื่อเสียงของบริษัทที่เป็นผู้พัฒนาเท่านั้น ถ้าไม่เชื่อก็ไม่ต้องใช้

การทำงานของโค้ดรูปแบบนี้เรียกว่า "Closed-Source" เมื่อเราไม่เห็นว่าโค้ดทำงานอย่างไร ? เราก็ไม่รู้เลยว่าเบื้องหลังมัน "แอบ" ทำอะไรอยู่บ้างหรือเปล่า ? หากบริษัทดังกล่าวคิดไม่ซื่อ เขาก็สามารถแสวงหากำไรเพิ่มเติมจากจุดนี้ได้ โดยอาจจะมีการแอบเก็บพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้, ตำแหน่ง ฯลฯ เพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ด้านการตลาด หรือนำไปขายให้กับบริษัทโฆษณา

แต่สมมติว่าซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ต้องการจะเก็บข้อมูลแบบนั้นบ้าง มันก็ทำได้เช่นกัน เพียงแต่ด้วยความที่ซอร์สโค้ดนั้นมีการเผยแพร่แบบสาธารณะ คนที่ต้องการปกป้องข้อมูลส่วนตัว สามารถเลือกที่จะแก้ไข หรือลบโค้ดที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลทิ้งไปได้เลย

ซอฟต์แวร์แบบเปิดเผยซอร์สโค้ด มีความน่าเชื่อถือได้หรือไม่ ? (Should we trust Open-Source Software ?)
ซอสโค้ดของโปรแกรม VideoLAN (VLC)
ภาพจาก : https://code.videolan.org/videolan/x264/

แม้ว่าคุณจะไม่มีความรู้เรื่องโค้ดก็ไม่สำคัญ เพราะในสังคม Open-Source จะมีนักพัฒนาอาสาแก้ไขให้อยู่เสมอ โดยทำการแยกโปรเจคเอาซอฟต์แวร์เดิมมาแก้ไขพัฒนาออกมาเป็นซอฟต์แวร์เดิมในอีกเวอร์ชันหนึ่ง หรือที่เรียกว่าการ "Forking"

ด้วยเหตุผลนี้ ส่วนใหญ่แล้วซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส จะไม่ค่อยมีการซ่อนโค้ดอันตรายเอาไว้ เพราะทำไปก็ไม่มีประโยชน์ สุดท้ายก็โดน Forking ลบโค้ดเหล่านั้นทิ้งไปได้ง่าย ๆ 

2. บริษัทระดับโลกหลายแห่ง สนับสนุนซอฟต์แวร์โอเพยซอร์ส
(Many Global Companies are supported Open-Source Software)

ถ้าลองให้นึกถึงชื่อบริษัทระดับโลกคุณจะนึกถึงบริษัทอะไรบ้าง ? Apple ?, Amazon ?, Facebook ?, Microsoft ? รู้หรือไม่ว่า บริษัทเหล่านี้ก็มีการใช้ Open-Source เช่นกัน และมีส่วนช่วยในการพัฒนาในหลายโปรเจคด้วยซ้ำไป

ยกตัวอย่างเช่น Linux kernel ระบบปฏิบัติการแบบ Open-Source ที่ทาง Microsoft ก็เข้าไปมีส่วนพัฒนาทำ Azure ที่เป็นระบบคลาวด์ หรือ Google ก็นำ Linux มาพัฒนาต่อเป็น Android และ Chrome OS 

ซอฟต์แวร์แบบเปิดเผยซอร์สโค้ด มีความน่าเชื่อถือได้หรือไม่ ? (Should we trust Open-Source Software ?)
สมาชิกที่ร่วมกันพัฒนา Linux มีบริษัทใหญ่ ๆ อยู่มากมาย
ภาพจาก https://www.linuxfoundation.org/about/members

หรือเอาใกล้ตัวยิ่งกว่านั้น โลกอินเทอร์เน็ตที่เราสิ่งสู่กันอยู่ทุกวันนี้ ก็มีองค์ประกอบส่วนใหญ่ที่เป็นสถาปัตยกรรมแบบ Open-Source เว็บไซต์ที่เราใช้ใช้งานกันอยุ่ทุกวันนี้นิยมพัฒนาด้วย LAMP stack ที่ย่อมาจาก Linux ระบบปฏิบัติการเว็บเซิร์ฟเวอร์, Apache, เซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูล MySQL, และภาษาโปรแกรม PHP ซึ่งเทคโนโลยีทั้งสี่ตัวนี้ล้วนแต่เป็นโอเพนซอร์สทั้งสิ้น

การที่นักพัฒนา และบริษัทต่าง ๆ ไว้วางใจซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ก็เพราะว่ามันเชื่อถือได้ และง่ายต่อการพัฒนา แทนที่จะทำของแบบเดียวกันใหม่โดยเริ่มตั้งแต่ศูนย์ และบ่อยครั้งที่มันออกมาดีกว่าการที่คุณพยายามพัฒนาเพียงลำพังด้วย มีซอฟต์แวร์อยู่หลายตัวในปัจจุบันนี้ ที่สร้างขึ้นจากการนำ Open-Source มาพัฒนาต่อในรูปแบบของตนเอง โดยที่มีโค้ดแบบกรรมสิทธิ์ปิดทับเอาไว้ในขั้นตอนสุดท้าย

3. เป็นการร่วมลงทุน ในโค้ดเดียวกัน
(It is a Joint Investment in the same code)

เมื่อซอร์สโค้ดมีการเผยแพร่แบบสาธารณะ เราสามารถเปรียบมันได้กับโครงสร้างพื้นฐานอย่างถนนสาธารณะ ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถร่วมกันสร้างได้

ถึงแม้ว่า ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ส่วนใหญ่มาจากอาสาสมัคร แต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่เป็นนักพัฒนากินเงินเดือน ขออนุญาตยกตัวอย่าง Linux Kernel อีกสักรอบ ซึ่งมันเป็นโอเพนซอร์ส ที่มีอยู่หลายแพลตฟอร์มมาก ๆ ตั้งแต่ เครื่องซุปเปอร์คอมพิวเตอร์, เซิร์ฟเวอร์, คอมพิวเตอร์แบบพีซี, สมาร์ทโฟน ฯลฯ มีหลายบริษัทที่ร่วมลงทุนในแพลตฟอร์มเหล่านี้ ซึ่งนักพัฒนาที่อยู่ในบริษัทเหล่านี้ก็มีส่วนช่วยในการพัฒนาตัวโอเพนซอร์ส เป็นอย่างมาก

นอกจากนี้ ยังมีซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส หลายโปรแกรมที่ใช้ลิขสิทธิ์ภายใต้เงื่อนไขแบบ "Copyleft " ที่ทำให้ตัวซอฟต์แวร์มีการพัฒนาดีขึ้นเรื่อย ๆ และเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งานทุกคน

4. ชุมชนโอเพนซอร์ส มีจรรยาบรรณคอยค้ำจุน
(Open-source Community have Ethics Supported)

ในโลกของซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส มีกฏกติกาที่แตกต่างไปจากซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ มีนักพัฒนาจำนวนมากที่พัฒนาซอฟต์แวร์แบบโอเพนซอร์ส (Free and Open Source Software - FOSS) เพราะพวกเขาเชื่อว่ามันเป็นสิ่งที่สมควรทำ บางครั้งมันอาจมีเรื่องเงินมาเกี่ยวข้องบ้าง แต่ส่วนใหญ่ไม่ใช่ บ่อยครั้งที่นักพัฒนาในกลุ่ม Open-Source สร้างมันขึ้นมาแจกจ่ายด้วยความมีน้ำใจล้วน ๆ 

โลกใบนี้อาจมีคนเห็นแก่ตัวตัวมากกว่าคนมีน้ำใจ แต่สิ่งตอบแทนมีได้หลายรูปแบบไม่ใช่แค่เรื่องเงินเพียงอย่างเดียว นักพัฒนาบางคนเคยมาเรียนรู้ หรืออาศัยประโยชน์จากซอร์สโค้ดที่มีอยู่แล้ว เมื่อเขาลับฝีมือจนมีสกิลที่ดีพอ เขาก็กลับมาตอบแทนด้วยการช่วยพัฒนา หรือแจกซอร์สโค้ดที่เขาพัฒนาขึ้นเองบ้าง บางคนก็ไม่สะดวกใจที่จะจ่ายเงินซื้อซอฟต์แวร์ราคาแพงมาใช้งาน เขาก็เลยพยายามสร้างซอฟต์แวร์ขึ้นมาใช้เอง แต่แทนที่จะเริ่มต้นใหม่จากศูนย์ การนำของเดิมที่มีอยู่แล้วมาพัฒนาต่อ และมีนักพัฒนาคนอื่นร่วมด้วยช่วยกันพัฒนาย่อมเป็นเรื่องง่ายกว่า เหมือนสำนวนที่ว่า "ไปด้วยกัน ไปได้ไกล"

ผู้คนที่อยู่ในชุมชน FOSS มักจะมีความเชื่อว่า ใครก็สามารถใช้งานซอฟต์แวร์เหล่านี้ได้ฟรี เอาไปใช้ให้เต็มที่ เราไม่สนใจพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้คนอื่น เพื่อนำมาแสวงหาผลประโยชน์แต่อย่างใด

5. ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส มีเวลาเป็นเครื่องพิสูจน์
(Time will tell the proof of Open-Source Software)

มีซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส หลายตัวที่พัฒนากันมานานหลาย 10 ปี ที่เราน่าจะรู้จักกันดีก็อย่างเช่น โปรแกรม Mozilla Firefox, โปรแกรม LibreOffice, โปรแกรม GIMP, โปรแกรม Audacity, โปรแกรม VLC ฯลฯ ซึ่งซอฟต์แวร์เหล่านี้ ผ่านการขัดเกลาให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ มีการเพิ่มคุณสมบัติการทำงานใหม่ ๆ และแก้ไขข้อผิดพลาดที่เคยมีมา

เราไม่ได้จะบอกว่ามันเสถียร หรือยอดเยี่ยมกว่าซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ที่เพิ่งถูกสร้างใหม่ เราแค่ต้องการชี้ให้เห็นว่าแม้จะเป็นซอฟต์แวร์ฟรีแบบ Open-Source แต่กาลเวลาก็เป็นส่วนหนึ่งที่พิสูจน์ให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือของมันได้เช่นกัน

มันมีข้อแตกต่างสำคัญจากซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ หากบริษัทที่พัฒนาเกิดปิดตัวไป ซอฟต์ดังกล่าวก็จะหายไปเลย ไม่มีใครได้เห็นซอร์สโค้ด นอกเสียจากว่าจะมีคนไปซื้อกิจการบริษัทดังกล่าวมาทำต่อ แต่ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ต่อให้โครงการดังกล่าวไม่มีใครสนใจทำต่อแล้ว โค้ดก็ยังจะถูกเผยแพร่อยู่อย่างนั้น รอวันที่มีคนจะมาปัดฝุ่น หรือยกมันไปใช้พัฒนาซอฟต์แวร์ตัวใหม่ได้ ดังนั้น ต่อให้ซอฟต์แวร์ตายไปแล้ว แต่โค้ดจะยังมีชีวิตอยู่ต่อไป


สุดท้ายแล้ว แม้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส จะไม่ได้นำเสนอลูกเล่น หรือมีประสิทธิภาพการทำงานที่ดีที่สุด ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์หลายตัวมีความสามารถที่เหนือชั้นกว่าอย่างไม่อาจเปรียบเทียบได้ แต่ในเรื่องของความน่าเชื่อแล้ว มันก็ไม่เป็นสองรองใคร

มันไม่พยายามเก็บข้อมูลผู้ใช้, ไม่พยายามยัดเยียดโฆษณา และไม่พยายามลากคุณเข้าสู่อีโคซิสเต็มของมัน หากคุณรำคาญสิ่งเหล่านั้น ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส เป็นทางเลือกหนึ่งที่คุณสามารถไว้ใจมันได้


ที่มา : www.makeuseof.com

0 %E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%9F%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%A2%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%94+%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%96%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88+%3F+%28Should+we+trust+Open-Source+Software+%3F%29
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
ระดับผู้ใช้ : Admin    Thaiware
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ
 
 
 

ทิปส์ไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น