เรามักจะรู้ตัวได้โดยทันที หากคอมพิวเตอร์ของเรามีความเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติเกิดขึ้น เช่น อาจจะมีจำนวนโฆษณาเพิ่มขึ้นจนผิดสังเกต หรือมีแถบเครื่องมือ (Toolbar) ที่คุณแน่ใจว่าไม่เคยติดตั้งมันมาก่อน
เรารู้ว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น แต่ก็รู้สึกว่ามันไม่น่าจะใช่ไวรัส แล้วมันคืออะไรกัน ?
หากความผิดปกติที่คุณรู้สึกว่ามันแปลกไป คือ มีหน้าต่างโฆษณาที่เด้งมารัวกว่าที่ควรจะเป็น อาการนี้มีความเป็นไปได้สูงว่าอุปกรณ์ของคุณน่าจะถูก "แอดแวร์ (Adware)" เข้าโจมตีนั่นเอง
แต่ข่าวดีคือ Adware ส่วนใหญ่นั้น จะไม่ทำให้คอมพิวเตอร์ของคุณเกิดความเสียหายจนทำงานไม่ได้ และมันก็ไม่ได้พยายามสร้างประตูหลัง (Backdoor) เอาไว้ให้ แฮกเกอร์ (Hacker) ใช้เจาะเข้ามาในระบบของคุณ อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ใช่เรื่องที่เราจะช่างมันปล่อยให้ Adware ลอยนวลอยู่ในระบบของเราต่อไป
ในบทความนี้ มาทำความเข้าใจ Adware กันให้มากขึ้น ว่ามันทำอะไรกับระบบของเราบ้าง ?
Adware นั้นย่อมาจากคำว่า "Advertising-Supported Software" หากแปลเป็นภาษาไทยก็มีความหมายประมาณว่า "ซอฟต์แวร์สนับสนุนการโฆษณา" โดยบางแพลตฟอร์มจะใช้มันเป็นเครื่องมือสร้างรายได้จากการโฆษณา (Advertising revenue) เพื่อเป็นเงินทุนสำหรับบริการที่เปิดให้ใช้ฟรี
โดย Adware เป็นมัลแวร์ที่อนุญาตให้ตัวผู้พัฒนาสามารถส่งโฆษณามาหาผู้ใช้ในลักษณะที่ล้ำเส้น Adware บางตัวมีคุณสมบัติไม่ต่างจาก ซอฟต์แวร์สายสืบ (Spyware) สามารถแอบติดตามพฤติกรรมของผู้ใช้ได้ด้วย อย่างเช่น การสอดส่องประวัติการท่องเว็บไซต์ หรือ การดักจับการพิมพ์บนแป้นคีย์บอร์ด (Keylogger) นั่นเอง
ภาพจาก : https://gridinsoft.com/adware
หากอุปกรณ์ของคุณมีอาการดังต่อไปนี้ ก็มีความเป็นไปได้สูงว่า คุณกำลังโดน Adware โจมตีอยู่
คำว่า Adware เริ่มต้นขึ้นในช่วงประมาณปี ค.ศ. 1995 (พ.ศ. 2538) เมื่อผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยเริ่มพิจารณาว่าซอฟต์แวร์ที่ใช้โฆษณาเป็นช่องทางหารายได้หลักจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับ Spyware แต่ต่อมาก็เริ่มแยกมันออกมา เนื่องจากมันยังไม่ได้มีภัยอันตรายร้ายแรงขนาดนั้น ออกแนวเป็นซอฟต์แวร์ที่ไม่พึงประสงค์ (Potentially Unwanted Programs - PUPs) เท่านั้น เพราะอันที่จริง มันเป็นซอฟต์แวร์ถูกกฏหมาย พัฒนาโดยบริษัทที่ถูกกฏหมาย
อย่างไรก็ตาม ปัญหาคือบริษัทภายในเครือที่ทำโปรแกรม Affiliates มักพยายามที่เผยแพร่ Adware เหล่านี้ออกไปในวงกว้าง เพื่อหารายได้ให้ได้มากที่สุด ซึ่งมักจะไม่เลือกวิธีการ แม้จะเป็นวิธีสกปรกก็ตาม โดยที่มันไม่ได้รับการตรวจสอบจากบริษัทที่สร้าง Adware ต้นฉบับขึ้นมา มันมีทั้งการนำไปฝากไว้ตามเว็บไซต์แบ่งปันไฟล์ Peer-to-peer, ทำ Botnets หรือแม้แต่จารกรรมการทำงานของเว็บเบราว์เซอร์
สถานการณ์เริ่มเลวร้ายขึ้นเรื่อย ๆ จนในที่สุด บริษัทที่ใช้โมเดลธุรกิจหารายได้จาก Adware ก็เริ่มเสื่อมความนิยมลง ส่วนหนึ่งก็มีเหตุผลมาจากรัฐบาลเริ่มเข้ามาควบคุมการทำ Adware ด้วย รวมกับการมาของเทคโนโลยี Adblock หลายเหตุผลที่ว่ามาทำให้การทำธุรกิจด้วย Adware ก็จางหายไป
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้ Adware ก็ยังคงอยู่ แต่ในรูปโฉมใหม่ ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะเกมฟรีบนสมาร์ทโฟน เราน่าจะเคยผ่านเกมที่สามารถดาวน์โหลดมาเล่นฟรี แต่จะใช้ไอเทม หรือทำกิจกรรมอะไรสักอย่างภายในเกม ผู้เล่นจะต้องดูโฆษณาเสียก่อน
โดยถูกจัดเป็นส่วนหนึ่งของ Grayware อย่างไรก็ตามมันต่างไปจาก Adware สมัยก่อนที่ถูกพัฒนาโดยบริษัทถูกกฏหมาย Adware อีกส่วนหนึ่งก็จะเป็นมัลแวร์แบบเต็มตัว โดยถูกมัดรวมมากับโทรจัน หรือไม่ก็ Rootkit เพื่อแทรกโฆษณาไว้ในอุปกรณ์ของเหยื่อ ซึ่งมันยากต่อการลบออกจากระบบอีกด้วย
Adware ถูกกฏหมาย หมายถึง Adware ที่ผู้ใช้งานดาวน์โหลดรับรู้ และยอมรับ ว่าต้องมีการดูโฆษณาเพื่อแลกเปลี่ยนบางสิ่งบางอย่างกลับคืนมา กรณีนี้ก็ยุติธรรมกับทั้งสองฝ่าย ผู้ใช้ได้ใช้งานฟรี ผู้พัฒนาก็มีรายได้ไปทำทุนพัฒนา หรือบริการต่อไปได้
ตัวอย่างง่าย ๆ ที่เห็นได้บ่อยคือ ดาวน์โหลดใช้งานได้ฟรี มีโฆษณาหรือลายน้ำ และถ้าไม่ต้องการดูโฆษณาก็จ่ายเงินเพิ่ม กรณีนี้ก็นับว่าเป็น Adware เช่นกัน
ด้วยความที่ทุกคนเกลียดโฆษณา แฮกเกอร์ หรือผู้พัฒนาบางรายก็เลยพยายามปกปิด เลือกใช้ส่งโฆษณามายังผู้ใช้แบบไม่สนโลก ไม่สนว่าคุณจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม แถมยังพยายามยัดเยียดให้คุณติดตั้งแอปพลิเคชัน 3rd-Party โดยที่มักจะออกแบบมาให้ปฏิเสธได้ยากกว่าที่ควรจะเป็นอีกด้วย
เราจะตัดสินว่า Adware ตัวนั้นเป็นอันตราย เมื่อมันออกแบบมาเพื่อส่งซอฟต์แวร์อันตรายมาให้ผู้ใช้ อย่างไรก็ตาม บ่อยครั้งที่มันเกิดจากความไม่ตั้งใจ คือตัวมันเองเป็น Adware ถูกกฏหมาย แต่ว่ามันดันมีช่องโหว่ที่สามารถให้มัลแวร์ตัวอื่นใช้แสวงหาผลประโยชน์ได้
ถือเป็น Spyware ตัวแรก ๆ ของโลก ปรากฏขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1990 (พ.ศ. 2533) มันถูกพัฒนาขึ้นมาโดย Claria Corporation เพื่อใช้เก็บเกี่ยวข้อมูลผู้ใช้ออนไลน์ จากนั้นจะยิงโฆษณามาถล่มผู้ใช้ทั่วโลก
แพร่ระบาดในปี ค.ศ. 2003 (พ.ศ. 2546) มันจะจารกรรมการทำงานของตัวเว็บเบราว์เซอร์ให้เปิดหน้าผลลัพธ์การค้นหา และข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ต่าง ๆ เพื่อพาผู้ใช้ไปหน้าเว็บไซต์ที่เต็มไปด้วยโฆษณาเพื่อสร้างรายได้ หรือมีซอฟต์แวร์อันตรายให้ดาวน์โหลด
สำหรับ Vundo ที่ออกอาละวาดในปี ค.ศ. 2004 (พ.ศ. 2547) นั้นอันที่จริงแล้วเป็นม้าโทรจัน แต่มันโจมตีผู้ใช้ด้วยการยิงหน้าต่างโฆษณาใส่ผู้ใช้งานรัว ๆ โดยจะเน้นไปที่การแนะนำซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยปลอมให้แก่ผู้ใช้
Adware ตัวนี้ปรากฏตัวในปี ค.ศ. 2005 (พ.ศ. 2548) มันจะแอบจับตาดูพฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้ เพื่อยิงโฆษณามาให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งอาจเป็นวิธีการปกติของโฆษณาในปัจจุบัน แต่ในตอนนั้น 180 Solutions ทำมันโดยที่ผู้ใช้ไม่ได้รับความยินยอม
เชื่อว่า Adware ตัวนี้ น่าจะมีคนรู้จักกันเยอะ เพราะในประเทศไทยเองก็มีเหยื่อโดนกันเยอะอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณเป็นผู้ใช้ในยุคที่ Internet Explorer ครองเมืองอยู่ มันจะทำการแก้ไขการตั้งค่าของเบราว์เซอร์เพื่อให้แสดงโฆษณาขึ้นมาเต็มไปหมด
Rafotech เป็นบริษัทที่ทำการการตลาดดิจิทัลในประเทศจีน ที่พัฒนา มัลแวร์ Fireball ขึ้นมา มันจะเปลี่ยนเว็บเบราว์เซอร์ให้กลายเป็นเครื่องปั๊มยอดชมโฆษณา มีการประมาณการเอาไว้ว่า มีคอมพิวเตอร์มากถึง 250,000,000 เครื่องทั่วโลกที่ได้รับผลกระทบ และมันก็ส่งผลให้การจราจรของอินเทอร์เน็ตได้เป็นอัมพาตไปบางส่วนเลยทีเดียว
ว่ากันตามจริง Hao123 ไม่ใช่แม้แต่มัลแวร์ แต่พฤติกรรมของมันก็ไม่ได้แตกต่างสักเท่าไหร่ และคนไทยหลายคนน่าจะเคยประสบปัญหาโดน Hao123 รุกรานมาแล้ว
Hao123 เป็นบริการเสิร์ชเอนจินชื่อดังของจีนที่พัฒนาโดย Baidu ปัญหา คือ มันมีการทำตลาดโดยการจ่ายเงินเพื่อขอพ่วงตัวเองไปกับผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ฟรีต่างๆ เมื่อเราติดตั้งซอฟต์แวร์ดังกล่าวไปโดยไม่ระมัดระวัง เราเลยได้ Hao123 แบบที่เป็นส่วนเสริมของเว็บเบราว์เซอร์แถมมาด้วย มันจะเปลี่ยนแปลงหน้าตาเบราว์เซอร์ของเราไปจนจำไม่ได้ และคอยแนะนำสิ่งที่เราไม่ต้องการมาให้อย่างรัวๆ
|
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ |