ในที่สุด Microsoft ก็ได้ปล่อย ระบบปฏิบัติการ Windows 11 ออกมาให้อัปเดตอย่างเป็นทางการแล้วนะครับ (ไหนเคยบอกว่า Windows 10 จะเป็นระบบปฏิบัติการเวอร์ชันสุดท้ายนะ) อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้งานบางคนอาจจะยังไม่ได้รับแจ้งเตือนให้อัปเดตก้ไม่ต้องแปลกใจไป เพราะระบบปฏิบัติการที่มีผู้ใช้ทั่วทั้งโลกเป็นจำนการอัปเดตจึงวนมาก หากปล่อยให้อัปเดตพร้อมกันในทีเดียว เซิร์ฟเวอร์ไม่มีทางรับมือได้ไหวแน่นอน ดังนั้นจึงต้องมีระบบ "ต่อคิว" เพื่อลดภาระของเซิร์ฟเวอร์
ในบทความนี้ เราก็จะมาสอนวิธีอัปเดต และติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 11 ซึ่งสามารถทำได้เลย โดยที่ไม่ต้องรอคิวการอัปเดตอัตโนมัติจาก Microsoft จะมีขั้นตอนอย่างไร เชิญอ่าน และทำตามได้เลย ...
สำหรับระบบปฏิบัติการ Windows 11 แล้ว ต้องยอมรับว่าทาง Microsoft มีการพัฒนามาให้ใช้ทรัพยากรการทำงานค่อนข้างต่ำนะ แม้คอมพิวเตอร์จะมีสเปกไม่แรงก็สามารถติดตั้งเพื่อใช้งานได้
โปรเซสเซอร์ | 1 GHz) หรือเร็วกว่า 2 คอร์ขึ้นไปบนโปรเซสเซอร์ 64 บิต หรือ System on a Chip (SoC) |
หน่วยความจำ | แรมอย่างน้อย 4 GB |
ที่เก็บข้อมูล | อุปกรณ์เก็บข้อมูลอย่างน้อย 64 GB ขึ้นไป |
เฟิร์มแวร์ระบบ | UEFI, รองรับการบูตแบบปลอดภัย |
TPM | Trusted Platform Module (TPM) เวอร์ชัน 2.0 |
การ์ดจอ | ใช้ได้กับ DirectX 12 หรือรุ่นใหม่กว่าที่มีโปรแกรมควบคุม WDDM 2.0 |
จอแสดงผล | จอแสดงผลความละเอียดสูง (720p) ที่ใหญ่กว่า 9 นิ้ว ในแนวทแยง และ 8 บิต ต่อช่องสี |
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต | ต้องมีบัญชี Microsoft และการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเพื่อตั้งค่า Windows 11 Home |
ในกรณีถ้าเราอ่านสเปกไม่เป็น หรือ จำสเปกฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอยู่ไม่ได้ ก็ไม่กังวลไปครับ ทาง Microsoft มีแอปพลิเคชันสำหรับใช้ตรวจสอบว่า คอมพิวเตอร์ที่คุณใชังานอยู่จะสามารถติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 11 ได้หรือไม่แบบอัตโนมัติ ให้ดาวน์โหลดมาใช้เพื่อการนี้โดยเฉพาะ ชื่อว่าแอป PC Health App
ดาวน์โหลดโปรแกรม PC Health App :
หลังจากดาวน์โหลดมาแล้วก็ทำการติดตั้งให้เรียบร้อย จากนั้นก็เปิดแอป PC Health App ขึ้นมา แล้วคลิกที่ "ปุ่ม Check Now" ถ้ามีเครื่องหมายถูก พร้อมข้อความ "This PC Meets Windows 11 Requirements" แปลว่าผ่านฉลุย
แต่ถ้าเจอเครื่องหมายกากบาท พร้อมข้อความว่า "This PC can't Run Windows 11" ก็แปลว่าคอมพิวเตอร์ของเราไม่รองรับระบบปฏิบัติการ Windows 11 นะ อย่างไรก็ตาม อย่าเพิ่งตกใจไป
ภาพจาก : https://www.pcgamer.com/Windows-11-PC-Health-Check/
สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้ผู้ใช้งานส่วนใหญ่ไม่สามารถติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 11 มาจากการที่ไม่ได้เปิดใช้งาน หรือฮาร์ดแวร์ไม่รองรับระบบ Trusted Platform Module (TPM) เวอร์ชัน 2.0 ซึ่งแก้ไขได้ไม่ยาก
อย่างตัวผู้เขียนเองใช้เมนบอร์ดรุ่น ASUS TUF Z490-PLUS GAMING (WI-FI) เช็คในทีแรกก็ไม่ผ่านเช่นกัน และในเมนู ไบออส (BIOS) ก็ไม่มีคุณสมบัตินี้ให้เปิดใช้งานด้วย แต่เมื่อเข้าไปตรวจสอบบนเว็บไซต์ของผู้ผลิตก็พบเฟิร์มแวร์ BIOS เวอร์ชันใหม่ ที่ทำมาให้รองรับระบบปฏิบัติการ Windows 11 หลังจากดาวน์โหลดมา และทำการอัปเดต BIOS เมื่อลองเช็คอีกทีก็พบว่าคุณสมบัติผ่านเป็นที่เรียบร้อย
ดังนั้น ใครที่เช็คแล้วไม่ผ่านให้ลองทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
ก่อนจะไปเล่นท่ายาก เรามาเริ่มจากการตรวจสอบระบบของเราก่อนว่า ได้คิวอัปเดตแล้วหรือเปล่า ? ถ้าได้คิวก็ไม่จำเป็นต้องอ่านขั้นตอนที่เหลือแล้วกดอัปเดตได้เลย
ภาพจาก : https://youtu.be/2-ERV_gAIrc
สำหรับคนที่ใจร้อน ไม่อยากรอคิวอัปเดตจากทาง Microsoft ก็สามารถ "ลัดคิว" ได้ด้วยการสร้างไฟล์สำหรับติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 11 ผ่านระบบ Installation Media ได้นะ โดยวิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ใช้งานระบบปฏิบัติการ Windows 10 อยู่แล้ว และต้องการอัปเดตเป็นระบบปฏิบัติการ Windows 11
วิธีนี้เหมาะสำหรับคนที่ต้องการติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 11 แบบ "Clean Install" หรือที่คนไทยนิยมติดปากกันว่า "ล้างเครื่อง"
ภาพจาก : https://www.techadvisor.com/how-to/software/how-boot-from-usb-3636405/
|
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ |
ความคิดเห็นที่ 1
18 มิถุนายน 2564 22:43:42
|
||
ดูดีน่าใช้
|
||