กล่าวได้ว่านี่ช่วงเวลานี้เป็นยุคที่ความนิยมของ แป้นพิมพ์กลไก (Mechanical Keyboard) ที่จัดว่าเฟื่องฟูเป็นอย่างมาก จากเดิมที่มีอยู่ไม่กี่แบรนด์ หรือไม่กี่ยี่ห้อ ให้เลือกซื้อ ก็มีผู้ผลิตหน้าใหม่หลายรายที่ปรากฏตัวเข้ามาทำให้ตลาดมีความคึกคักขึ้น ในประเทศไทยก็อย่างเช่น แบรนด์ Keychron, Royal Kludge, SKYLOONG, Drop และอื่นๆ อีกมากมาย
เวลาที่คุณอ่านสเปกของคีย์บอร์ด จะพบว่ามันมีคำศัพท์เฉพาะทางอยู่หลายคำ บางทีอ่านแล้วก็ไม่เข้าใจว่ามันหมายถึงอะไร ทำให้ยากแก่การเลือกซื้อให้ตรงกับความต้องการเพราะขาดความเข้าใจ
ในบทความนี้ เราจึงรวบรวมคำศัพท์ที่มีความเกี่ยวข้องกับ Mechanical Keyboard มาให้ทำความเข้าใจกัน จะมีคำไหนบ้าง ? มาอ่านกัน
สิ่งที่ทำให้ราคาของคีย์บอร์ดแบบ Mechanical กับคีย์บอร์ดราคาถูกที่ใช้ยาง Rubber Dome คือ ตัว สวิตช์ ที่อยู่ในปุ่มแต่ละปุ่มบนแป้นคีย์บอร์ด ซึ่ง สวิตช์ก็มีอยู่หลายประเภท เวลาคุณอ่านคุณสมบัติของสวิตช์จะมีคำศัพท์หลายคำ ที่ใช้บ่งบอกคุณสมบัติของมัน
หมายถึง ปริมาณแรงกดที่ต้องใช้ในการกดปุ่มเพื่อให้สวิตช์ทำงาน สวิตช์แต่ละรุ่นจะมีการออกแบบให้ต้องใช้กำลังแรงกดที่แตกต่างกัน โดยมีหน่วยวัดเป็น "กรัม" ไม่ก็ "เซนตินิวตัน" (Centinewton - cN) สวิตช์ที่มีแรงต้านเยอะ ก็จะต้องการแรงกดที่มากขึ้นในการกด
เป็นสวิตช์ประเภทหนึ่งของ Mechanical เหมือนกับสวิตช์ของ Cherry MX ออกแบบ และผลิตโดยบริษัท Alps Electric ถูกผลิตมาตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1980 (พ.ศ. 2523) ด้วยความที่มันมีกลไกในการทำงานแตกต่างจาก Cherry MX ที่นิยมในปัจจุบัน ความรู้สึก และแรงกดของ Alps Switch จึงใช้แรงกด และให้ความรู้สึกในการพิมพ์ต่างออกไปด้วย ปัจจุบัน Alps Electric เลิกผลิตสวิตช์ประเภทนี้ไปนานหลายปีแล้ว แต่แนวทางการออกแบบ เป็นเพียงของเลียนแบบเท่านั้น และส่วนมาก็มีคุณภาพไม่ดีเท่าไหร่นัก แต่ก็มีของสวิตช์ของบริษัท Matias ที่ได้รับการยอมรับว่าผลิต Alps Switch ออกมาได้อย่างมีคุณภาพ
อย่างไรก็ตาม Stem เสียบ Keycap ของ Alps Switch จะเป็นรูสี่เหลี่ยม ต่างจาก สวิตช์ Cherry MX ที่ Stem เป็นก้านรูปเครื่องหมาย + ทำให้การหาซื้อ Keycap ที่รองรับ Alps Switch มีตัวเลือกน้อยกว่าพอสมควร จะเรียกว่าเป็นตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niche Market) เลยก็ว่าได้
หมายถึง การกดปุ่มให้ลงไปจนสุดความลึกที่ทำได้ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่อยู่ลึกกว่าตำแหน่งที่สวิตช์ได้รับคำสั่ง (Actuate) จุดนี้เป็นอีกจุดที่แตกต่างจากคีย์บอร์ดแบบ Rubber Dome ที่ผู้ใช้จำเป็นต้องกดปุ่มให้ถึงตำแหน่ง Bottom Out เท่านั้นในการกระตุ้นให้วงจรรับรู้ว่าปุ่มได้ถูกกดแล้ว
ภาพจาก : https://switchandclick.com/cherry-mx-guide/
ด้วยความที่ Bottom out อยู่ตำแหน่งลึกกว่า มันจึงต้องอาศัยแรงกดมากขึ้นตามไปด้วย ตัวอย่างเช่น Cherry MX Reds มีค่า Actuation force อยู่ที่ 45 กรัม ค่า Bottom Out อยู่ที่ 75 กรัม ในขณะที่ Cherry MX Black มีค่า Actuation Force อยู่ที่ 60 กรัม ค่า Bottom Out อยู่ที่ 85 กรัม ในการใช้งานคีย์บอร์ด
เรียกได้ว่า ถ้าหากคุณเป็นพวกชอบแตะปุ่มเบา ๆ ก็จะเหมาะกับสวิตช์ Cherry MX Reds มากกว่า แต่หากเป็นคนนิ้วหนัก แค่วางนิ้วบนคีย์บอร์ดบนสวิตช์ Cherry MX Reds อาจทำให้คุณ "ลั่น" กดปุ่มโดยไม่ตั้งใจ ทำให้สวิตช์ Cherry MX Black จึงเหมาะกับคนนิ้วหนักมากกว่า
เป็นสวิตช์ในตำนานแบบดั้งเดิมที่ออกแบบโดยบริษัท IBM เป็นที่รู้จักกันดีจาก Model M คีย์บอร์ดที่เปิดตัวในปี ค.ศ. 1986 (พ.ศ. 2529) ที่ถือว่าเป็นดีไซน์ต้นแบบเลย์เอาท์ของคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์มาจนถึงปัจจุบันนี้ กลไกภายในสวิตช์จะแตกต่างไปจากสวิตช์ในปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง ภายในจะมีสปริงที่ถูกดัดให้งอเอาไว้ เมื่อถูกกด สปริงจะ "งอ" กว่าเดิม ทำให้ลิ้นกระดกลงเพื่อรับคำสั่ง เคยมีคนกล่าวเอาไว้ว่าสัมผัสของมันมีความรู้สึกที่พิเศษ เหมือนการกดปุ่มปล่อยยานอวกาศเลยทีเดียว
ภาพจาก : https://www.popularmechanics.com/technology/gadgets/a27123/model-f-project-buckling-spring-keyboard/
ปัจจุบันนี้ แทบจะไม่มีคีย์บอร์ดที่ใช้สวิตช์แบบ Buckling Spring Switch แล้ว เท่าที่ค้นเจอมีเพียงคีย์บอร์ดจากบริษัท Unicomp บางรุ่นเท่านั้น ที่ยังมีสวิตช์แบบนี้ให้เลือกซื้ออยู่
หมายถึง สวิตช์ที่เลียนแบบดีไซน์การทำงานของสวิตช์ Cherry MX เพียงแต่ว่าถูกผลิตขึ้นมาโดยบริษัทอื่น ที่เป็นที่รู้จักกันดีก็อย่างเช่น Gateron, Kailh และ Zeal PC (Zealio)
นี่คือสวิตช์ที่เป็นมาตรฐานหลักของ Mechanical Keyboard ในยุคปัจจุบัน ถูกพัฒนาขึ้นมาตั้งแต่ยุค ค.ศ. 1980 (พ.ศ. 2523) โดย Cherry บริษัทสัญชาติเยอรมนี ประเทศที่ทุกคนยอมรับในเรื่องความพิถีพิถันทางด้านวิศวกรรม
ภาพจาก : https://www.appqht.com/index.php?main_page=product_info&products_id=218458
สวิตช์ Cherry MX ถูกสร้างขึ้นมาหลายมาตรฐาน โดยจำแนกด้วย "สี" โดยแต่ละสีจะมีคุณสมบัติในการทำงานที่ต่างกัน ให้แรงกด และการตอบสนองที่แตกต่างแล้วแต่ความชอบของผู้ใช้งาน มีบริษัทหลายแห่งที่ผลิตสวิตช์ Cherry Clone ขึ้นมา สามารถใช้ชิ้นส่วนร่วมกันได้ แลกเปลี่ยน Keycap กันได้อย่างอิสระ
หมายถึงสวิตช์ที่มีเสียง "คลิก" เวลาที่กด จะเป็นเสียงคนละแบบกับที่มีในสวิตช์แบบ Tactile บางสวิตช์สามารถเป็นได้ทั้ง "Clicky" และ "Tactile" แต่ไม่ใช่ว่าสวิตช์แบบ Tactile ทุกตัวจะ Clicky ทั้งนี้ สวิตช์ที่ตั้งใจออกแบบมาให้ไม่มีเสียงคลิกเวลาตอบสนอง จะเรียกว่าสวิตช์แบบ "Non-Clicky"
หมายถึงสวิตช์แบบ "กึ่งกลไก (Semi-Mechanical)" มันเป็นสวิตช์ที่ใช้โดมยาง หรือโดมพลาสติก ครอบไปบนสปริงทรงก้นหอยเหนือแผ่นวงจร มีการใช้หลักการไฟฟ้าสถิตในการทำงาน สวิตช์แบบนี้ถูกคิดค้นโดยบริษัท Topre Corporation จากประเทศญี่ปุ่น ทำให้นิยมเรียกกว่ากันว่า "Topre Switch" ส่วนสวิตช์จากค่ายอื่นที่ผลิตด้วยดีไซน์เดียวกันก็จะเรียกว่า "Topre Clones" หรือ "Topre-Like"
ภาพจาก : https://www.custompcreview.com/reviews/review-coolermaster-novatouch-tkl-mechanical-keyboard/
Topre Switch มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเวลาใช้งานเป็นอย่างมาก ทั้งความรู้สึกตอนกด และเสียงที่ได้ยิน นอกจากนี้ มันยังได้รับคำชมจากผู้ใช้จำนวนมาก ว่าเป็นสวิตช์ที่ให้ความรู้สึกดีที่สุดสำหรับนักพิมพ์ จากการผสมผสานระหว่างความตอบสนองของกลไกสปริง และความนุ่มของยาง แต่ราคาของคีย์บอร์ดที่ใช้สวิตช์ Topre ก็จัดว่าแพงพอสมควร
ความต้องการของไฟไม่ว่าจะประโยชน์ หรือความสวยงาม ทำให้สวิตช์ในปัจจุบันนี้มีการใส่ไฟ LED ไว้ในตัวด้วย ในกรณีที่ไฟสามารถเปลี่ยนสีได้ก็จะเรียกว่าไฟ "RGB"
หมายถึงสวิตช์ที่ออกแบบมาให้กลไกเคลื่อนที่จากตำแหน่งสูงสุด ถึงตำแหน่ง "Actuation" และ "Bottom" โดยไม่มีเสียง "คลิก" หรือการตอบสนองของสวิตช์แบบ "Tactile" นักเล่นเกมส่วนใหญ่จะนิยมใช้งานสวิตช์แบบ Linear เพราะความลื่นไหลของมัน ทำให้ตอบสนองต่อการกดรัวได้อย่างรวดเร็ว
สวิตช์ชื่อดังของบริษัท Topre Corporation จากประเทศญี่ปุ่น ที่มีชื่อเสียงจากการนำไฟฟ้าสถิตมาออกแบบกลไกการทำงานของสวิตช์ อย่างไรก็ตาม คีย์บอร์ดที่ใช้สวิตช์ของ Topre นั้นมีอยู่เพียงไม่กี่รุ่น โดยส่วนใหญ่จะเป็นยี่ห้อ Realforce ของบริษัท Topre เอง และ Happy Hacking Keyboard ที่เป็นยี่ห้อของประเทศญี่ปุ่นเหมือนกัน อนึ่ง Stem ที่เสียบ Keycap ของสวิตช์ Topre จะเป็นวงกลม ทำให้ไม่สามารถใช้งานร่วมกับ Keycap ของ Cherry ได้ ยกเว้นแต่จะใช้อะแดปเตอร์ช่วย
สวิตช์จะมีการแบ่งรุ่นย่อยด้วย "สี" ที่แตกต่างกัน โดยแต่ละสีก็จะสะท้อนบุคลิกการออกแบบของกลไกของตัวสวิตช์ ผู้ผลิตสวิตช์แต่ละค่ายอาจจะมีรหัสสีของสวิตช์ที่ตนเองผลิตแตกต่างกันไป แต่โดยส่วนใหญ่ก็จะอ้างอิงรหัสสีตามมาตรฐานของ Cherry MX switch เป็นหลัก ดังนี้
สวิตช์ จากค่าย Logitech ผู้ผลิตอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ชื่อดัง Stem เป็นรูปสี่เหลี่ยม ทำให้ไม่สามารถใช้งานกับ Keycap ที่เป็นมาตรฐาน Cherry ได้ กลไกการทำงานก็แตกต่างกัน โดยจะมีระยะ Actuation ที่สั้นกว่า Cherry จึงทำให้ตอบสนองได้ไวกว่า แต่ก็ทำให้ผู้ใช้บางคนอาจจะรู้สึกว่ามัน "ตื้น" เกินไป
ภาพจาก : https://bestsale.2021outletstores.ru/content?c=logitech%20romer%20g%20switches%20vs%20cherry%20mx&id=7
มาตรฐานของคีย์บอร์ดที่ไม่ใช่คีย์บอร์ดแบบ Mechanical โดยจะใช้แผ่นยางคลุมลงไปเหนือแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ข้อดีคือทำให้ต้นทุนการผลิตถูกลงมาก คีย์บอร์ดราคาถูกส่วนใหญ่จึงมักจะเป็นแบบ Rubber Dome
ภาพจาก : https://www.careerstep.com/blog/news/keyboard-keyboardwhos-the-fairest-of-them-all/
สวิตช์ชนิดนี้เป็นสวิตช์ที่ออกแบบมาให้มีความบางเป็นพิเศษ นิยมใช้กันงานกับคีย์บอร์ดในโน๊ตบุ้ก ในเชิงเทคนิคแล้ว Scissor Switch ก็ถือว่าเป็น Mechanical Switch เหมือนกัน แต่เวลาที่กล่าวถึงคีย์บอร์ดแบบ Mechanical จะไม่นิยมนับรวม Scissor Switch ด้วย ด้วยความที่มันไม่มีแรงตอบสนองของสปริง และไม่สามารถปรับแต่ง Keycap ได้
ภาพจาก : https://leafandcore.com/scissorswitch/
หมายถึงสปริงเหล็กที่อยู่ในสวิตช์ มันทำหน้าที่ในการเพิ่มแรงต้าน และทำให้ปุ่มกลับคืนสู่ตำแหน่งเดิมในเวลาที่ปุ่มถูกกด สปริงจะมีความแข็งหลายระดับ ยิ่งแข็งมากเท่าไหร่ก็ต้องการแรงกด (Actuation Force) มากขึ้นเท่านั้น
เป็นชิ้นส่วนพลาสติกที่เชื่อมต่อระหว่างสวิตช์กับ Keycap ผู้ผลิตสวิตช์แต่ละค่ายสามารถออกแบบ Stem ของตนเองขึ้นมาได้ แต่ Stem ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด จะเป็น Stem ทรง + ที่สวิตช์ Cherry MX เป็นผู้ออกแบบ
ฝาครอบสวิตช์ที่ทำขึ้นมาเป็นพิเศษ โดยงานจะถูกหล่อขึ้นมาอย่างประณีต มีการลงสี, ใส่โมเดล หรือแกะสลัก จะให้ความสำคัญด้านสวยงามมากกว่าฟังก์ชันใช้งาน มักจะผลิตขึ้นมาเป็นจำนวนจำกัดด้วย ทำให้มีราคาที่สูงมาก ราคามีตั้งแต่หลักร้อย ไปจนถึงหลักพันบาทต่อชิ้นเลยทีเดียว
War Craft Keycap, Sylvanas Windrunner ราคาประมาณ 7,700 บาท
ภาพจาก : https://www.etsy.com/listing/1096114806/war-craft-keycap-sylvanas-windrunner
พลาสติกแบบ ABS (ย่อมาจากคำว่า Acrylonitrile butadiene styrine) เป็นเทอร์โมพลาสติกชนิดหนึ่ง ที่มีความทนทานต่อแรงกระแทก, การขีดข่วน และทนความร้อนได้ดี พื้นผิวมีความเรียบลื่น, บาง และน้ำหนักเบา พวก Keycap ราคาถูก มักจะใช้ ABS plastic ในการผลิต
Keycap ที่ออกแบบรูปทรง และขนาด เหมือนกับ OEM profile แต่จะสั้นกว่าเล็กน้อย
เหมือนกับ SA profile แต่จะมีความสูงเพียงแค่ครึ่งเดียว (และสั้นกว่า OEM profile) ด้านบนของปุ่มจะบุ๋มเป็นทรงกลม
Keycap Profiles
ภาพจาก : https://charlesatan.medium.com/a-framework-to-determine-which-Keycap-fit-your-mechanical-keyboard-94f3f8b2dff5
เป็น Key Profile ที่ออกแบบให้มีความแบนเป็นพิเศษ และมีขอบมนโค้ง ผลิต และจัดจำหน่ายโดย Pimp My Keyboard
G20 profile
ภาพจาก : https://geekhack.org/index.php?topic=77691.0
ในส่วนนี้ หมายถึงรูปทรงของ Keycap ที่เสียบอยู่เหนือ Stem เป็นส่วนที่นิ้วของคุณใช้สัมผัสเพื่อกดสวิตช์ให้ทำงาน
ชุด Keycap สำหรับไว้ใช้เปลี่ยนแทน Keycap เดิม อาจจะเพื่อการตกแต่งให้คีย์บอร์ดสวยงาม หรือใช้งานถนัดมากขึ้น อาจจะขายเป็นเซ็ตครบทุกสวิตช์ หรือแค่เพียงบางส่วนก็ได้
Kitten painting Style Keycap-129 PCS
ภาพจาก : https://www.etsy.com/listing/1108672526/kitten-painting-style-Keycap-129-pc
เป็นการพิมพ์, เจาะ หรือสลัก ข้อมูลลงบน Keycap
ชุดเซ็ต Keycap ที่พิมพ์ลายเป็นธีม โดยส่วนใหญ่จะนิยมพิมพ์เป็นลวดลายที่เกี่ยวข้องกับ Pop Culture หรือวิดีโอเกม สามารถหาซื้อได้ง่าย และมีราคาที่ถูกกว่า Artisan Keycap
Novelty allover dye subbed Plum Blossom110 Keys
ภาพจาก : https://www.etsy.com/listing/981084635/novelty-allover-dye-subbed-plum
เป็น Keycap แบบมาตรฐานที่คีย์บอร์ดส่วนใหญ่จะติดตั้งมาให้จากโรงงาน ด้านบนเป็นแบบเรียบ และมีความเฉียงเล็กน้อย
PBT ย่อมาจากคำว่า Polybutylene Terephthalate เป็นพลาสติกคุณภาพสูงที่นิยมใช้ในการผลิตคีย์บอร์ด และ Keycap ราคาแพง พื้นผิวจะมีลักษณะหยาบเป็นเม็ดเล็ก ๆ ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบจากผู้ใช้ส่วนใหญ่
POM ย่อมาจากคำว่า Polyoxymethylene เป็นพลาสติกที่มีความใกล้เคียงกับ PBT แต่ว่าพื้นผิวจะเรียบเหมือนกับ ABS แต่ไม่ค่อยมี Keycap ที่ใช้วัสดุนี้ในการผลิตให้เลือกซื้อมากนัก
เป็น Keycap ที่ค่อนข้างสูง และด้านบนจะทำบุ๋มเป็นวงกลมเล็กน้อย
Keycap ที่แสงจากไฟ LED สามารถส่องลอดขึ้นมาได้ เพื่อให้ Legends บน Keycap เรืองแสงได้ การผลิต Backlit Keycap ผลิตโดยเคลือบสีลงไปบนพลาสติกใส แล้วใช้เลเซอร์เจาะสลัก Legends ลงไป หรือไม่ก็ใช้พลาสติกทีบแสงซ้อนลงไปบนพลาสติกใส ขึ้นรูปด้วยเทคนิค Double-shot Moulding
ภาพจาก : https://latesttechnewsblog.com/2020/02/21/best-backlit-keyboard-top-7-rated-in-2020/
เป็น Keycap ที่ว่างเปล่า ไม่มีการพิมพ์ หรือทำ Legends มาแบบโล่ง ๆ เป็นที่หลงใหลในผู้ใช้บางกลุ่ม แต่ไม่เหมาะสำหรับมือใหม่หัดพิมพ์
NPKC - OY-RT4R-TXEE
ภาพจาก : https://www.amazon.com/NPKC-Switches-Tenkeyless-Mechanical-Keyboard/dp/B06XG63WWP
เป็น Keycap ที่ทำ Legends ด้วยการเจาะพิ้นผิวชั้นบนออก เพื่อแสดงสีของพลาสติกชั้นล่างที่แตกต่างกัน ราคาของ Keycap ที่ใช้เทคนิค Double-shot moulding ในการผลิตจะมีราคาสูงกว่า Keycap ที่ใช้วิธีพิมพ์ แต่มีข้อดีกว่าตรงที่ไม่ว่าจะใช้งานไปนานแค่ไหนก็ตาม อักขระบน Keycap จะไม่มีวันลบเลือนหายไป บางทีก็เรียกเทคนิคการผลิตนี้ว่า Dual-injection หรือ Insert Moulding.
ภาพจาก : https://www.ubuy.com.tr/en/product/5H56O7M-mistel-doubleshot-pbt-Keycap-for-mechanical-keyboard-with-cherry-mx-switches-and-clones-oem-profile
เทคนิคการพิมพ์ Legends ด้วยความร้อนลงไปในพลาสติกโดยตรง ทำให้ไม่มีวันเลือนจางหายไป แต่มีข้อด้อยตรงจำนวนสีที่มีให้เลือก
Keycap ที่ใช้เทคนิคอะไรก็ได้ในการพิมพ์ Legends (ส่วนใหญ่จะเป็นการสกรีนสีธรรมดานี่แหละ) ลงไปที่ด้านข้างฝั่งที่ผู้ใช้มองเห็น แทนที่จะไว้ด้านบน ช่วยให้คีย์บอร์ดดูโล่งสบายตา แต่ยังมองเห็นข้อมูลบนแป้นได้ แถมยังลดการสัมผัสทำให้ Legends ไม่เลือนหายไปง่าย ๆ
RK ROYAL KLUDGE 115 Carbon PBT Side Front Printed Keycap
ภาพจาก : https://www.ubuy.com.kz/en/product/23CV77RM-rk-royal-kludge-115-carbon-pbt-side-front-printed-Keycap-semi-profile-thick-ansi-iso-layout-non-bac
Keycap ที่ทำ Legends ด้วยการใช้เลเซอร์ตัด แล้วพิมพ์ด้วยระบบเลเซอร์ลงไป ทำให้ Legends ติดทนทานกว่าการพิมพ์แบบปกติ
Keycap ที่ทำ Legends ด้วยการ Pad (ใช้แม่มพิมพ์ซิลิโคนจุ่มหมึก แล้วไปประทับบนพื้นผิวที่จะพิมพ์) วิธีนี้ Legends จะเลือนง่าย ไม่ทนทาน
กล่องพลาสติก หรือโลหะที่ใช้บรรจุ PCB, Plate และ สวิตช์ ผู้ผลิตคีย์บอร์ดแบบ Mechanical บางราย เช่น Poker หรือ Happy Hacking Keyboard มีการวางจำหน่าย Case ให้ผู้ที่สนใจซื้อไปเปลี่ยน หรืออัปเกรดได้
Walnut Wood Mechanical Keyboard Case
ภาพจาก : https://www.etsy.com/listing/1058678430/top-mount-65-walnut-wood-mechanical
ส่วนที่ทำให้ Case สามารถยกตัวขึ้นสูงกว่าโต๊ะได้ เคสบางรูปแบบสามารถปรับองศา Feet ได้ เพื่อให้องศาในการวางมือมีความถนัดมากขึ้น ส่วนใหญ่ Feet จะทำจากยาง หรือไม่ก็พลาสติก
เป็นชิ้นส่วนพลาสติกขนาดเล็กที่รวมเอา Stems และ Clips เข้าไว้ด้วยกัน สำหรับเชื่อมต่อกับ Stabilizer
มันคือฝาพลาสติก ที่เชื่อมต่อกับสวิตช์ มีหลากหลายรูปทรง และขนาด ผู้ใช้งานสามารถถอดเปลี่ยนด้วยตัวเองได้อย่างง่ายดาย
ย่อมาจากคำว่าแผงวงจร (Printed Circuit Board - PCB) ซึ่งเป็นชิ้นส่วนที่ทำหน้าที่รับข้อมูลจากปุ่ม เมื่อกดปุ่ม PCB จะได้รับรู้ และส่งสัญญาณไฟฟ้าไปยังคอมพิวเตอร์
ภาพจาก : https://www.pcbonline.com/blog/select-and-build-keyboard-pcbs.html
โครงเหล็ก หรือพลาสติกที่อยู่เหนือแผ่น PCB เพื่อปกป้อง และเสริมความแข็งแรง โดย Key switches สามารถติดตั้งลงไว้บน Plate หรือแผ่น PCB โดยตรงก็ได้
ภาพจาก : https://1upkeyboards.com/shop/parts-and-tools/parts/diy-60-ansi-plate-kit/
เป็นตัวเสริม Stem หรือคานเหล็ก เพื่อช่วยซัพพอร์ตปุ่มที่มีขนาดใหญ่ให้ยึดกับสวิตช์ และ PCB ได้อย่างมั่นคงมากยิ่งขึ้น เช่น "ปุ่ม Space Bar" และ "ปุ่ม Enter" ตัว Stabilizer สามารถติดตั้งได้ทั้งบน หรือด้านล่างของตัว Plate
Zeal™ Transparent Gold Plated Screw-in Stabilizers V2
ภาพจาก : https://zealpc.net/products/zealstabilizers?variant=27196398790
เป็นคีย์บอร์ดที่มีขนาดเล็กที่สุด ด้วยการตัดปุ่มที่ไม่ค่อยได้ใช้ หรือไม่จำเป็นออกไปให้มากที่สุด เลย์เอาท์ขนาดนี้ไม่เป็นที่นิยมใช้งานมากนัก ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักก็อย่างเช่น Minivan และ Vortex Core
THE MINIVAN CUSTOM MECHANICAL KEYBOARD KIT
ภาพจาก : https://drop.com/buy/minivan-keyboard
คีย์บอร์ดขนาดกะทัดรัด ที่ตัดปุ่มต่างๆ ออกไปมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ปุ่ม Function, ปุ่มหมายเลข และแถวที่มีปุ่มทิศทางออก เป็นเลย์เอาท์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในกลุ่มนักเล่นคีย์บอร์ด แต่ในการใช้งานก็จะต้องจดจำคีย์ลัดในการใช้งานบางปุ่มบางปุ่มด้วย 60% Layout ยังเป็นที่รู้จักกันในชื่อ 61-Key (ANSI) หรือ 62-Key (ISO)
ภาพจาก : https://sea.banggood.com/th/61-Keys-WhiteandGrey-Keycap-Set-OEM-Profile-PBT-Thick-ANSI-Layout-Keycap-for-60-pencent-Mechanical-Keyboard-p-1163283.html
เป็นเลย์เอาท์ที่ขยายขนาดเพิ่มขึ้นมาจาก 60% Layout เล็กน้อย อย่างไรก็ดี เลย์เอาท์นี้ไม่ใช่ขนาดมาตรฐาน ส่วนใหญ่ผู้ผลิตออกแบบขึ้นมาเอง หรือถูกสั่งทำขึ้นมาเป็นพิเศษ
Keycool Hero 84 2020 Edition
ภาพจาก : https://www.ubuy.co.th/en/catalog/product/view/id/11028891/s/keycool-hero-84-2020-edition-mechanical-keyboard-rgb-gateron-switches-mini-gaming-84-keys-keyboard-rgb-gateron-brown
ย่อมาจากคำว่า "American National Standard Institute" เลย์เอาท์มาตรฐานของประเทศสหรัฐอเมริกา แม้แต่ในประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก ก็ยังนิยมใช้เลย์เอาท์แบบ ANSI ทั้งนี้ ANSI ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ QWERTY นะ
หมายถึงแถวล่างสุดของคีย์บอร์ด ที่มีปุ่ม Spacebar แถวสุดท้ายนี้มีไม่มีข้อจำกัดในการออกแบบ แม้จะมีมาตรฐานหลักที่เป็นที่นิยมอยู่ก็ตาม ซึ่งหากคีย์บอร์ดรุ่นไหนไม่ได้ใช้ Bottom row แบบมาตรฐานก็จะหา Keycap มาเปลี่ยนยากหน่อย
คีย์บอร์ดที่ออกแบบแยกออกมาเป็น 2 ชิ้น และมีเลย์เอาท์ที่จัดวางตามหลัก Ergonomic (การยศาสตร์) ดีไซน์ชนิดนี้มีความเป็น Open souce สามารถปรับแต่งได้อย่างอิสระ
Ergodox EZ
ภาพจาก : https://wolydarg.com/ergodox/
เลย์เอาท์มาตรฐาน มีทุกปุ่มที่ต้องมี ทั้งปุ่ม Function, ปุ่มหมายเลข และปุ่มทิศทาง เป็นเลย์เอาท์ที่คนใช้กันมากที่สุด มีอีกชื่อเรียกว่า (ANSI) หรือ 105-key (ISO)
เป็นเลย์เอาท์แบบเฉพาะตัว ที่นำเอา 60% layout มาปรับแต่งใหม่ โดยอ้างอิงจากระบบ Unix รุ่นเก่า ทำให้เป็นที่ชื่นชอบในหมู่คนใช้งาน Linux และโปรแกรมเมอร์ Happy Hacking Keyboard เรียกแบบย่อว่า "HHKB" ผลิตในประเทศญี่ปุ่น และใช้สวิตช์ของ Topre
HHKB Hybrid Type-S Charcoal 60%
ภาพจาก : https://mechanicalkeyboards.com/shop/index.php?l=product_detail&p=6190
ISO (International Organization for Standardization)
อีกหนึ่งเลย์เอาท์มาตรฐานของ ISO หรือว่า International Organization for Standardization ซึ่งถ้าหาก มองผ่าน ๆ ก็คล้ายคลึงกับ ANSI แต่จะมีความแตกต่างตรงขนาดของปุ่ม Enter และ Shift ด้านซ้าย เลย์เอาท์ ISO ได้รับความนิยมในประเทศอังกฤษ และประเทศแถบยุโรป
ภาพจาก : https://hakukeyboards.com/blogs/mechanical-keyboards/keyboard-layouts-simplified-ansi-vs-iso
เลย์เอาท์คีย์บอร์ดที่ทำทุกปุ่มให้มีขนาดเท่ากันหมด วางเรียงอย่างเป็นระเบียบ มี 2 แบบ คือ GRID ทุกปุ่มขนาดเท่ากัน และ MIT ที่ปุ่ม Space bar ทำให้ใหญ่เท่า 2 ปุ่ม แต่ที่เหลือก็ปุ่มเท่ากันหมด โดยปกติแล้ว คีย์บอร์ดแบบ Ortholinear จะดีไซน์ให้มีขนาดเล็กกะทัดรัด ไม่เป็นที่นิยมมากเท่าไหร่ แบรนด์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีก็ Planck keyboard
Planck EZ
ภาพจาก : https://www.zsa.io/planck/
รูปแบบการเรียงปุ่มที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในคีย์บอร์ดที่เป็นภาษาอังกฤษ แต่คีย์บอร์ดภาษาอื่นก็นิยมใช้ QWERTY เช่นกัน โดยมีการเพิ่มตัวอักษรภาษาที่ต้องการ แทรกเข้าไปด้วยบนปุ่มเดียวกัน
คีย์บอร์ดขนาดเล็กที่ตัดแผงปุ่มหมายเลขทางด้านขวามือออก แต่ยังคงเหลือปุ่มทิศทาง และปุ่มที่อยู่ด้านบนของปุ่มทิศทางเอาไว้อยู่ เกมเมอร์ที่ไม่ต้องการคีย์บอร์ดแบบ Full size layout จะนิยมเลือกใช้ Tenkeyless layout กัน Tenkeyless Layout สามารถเรียกโดยย่อว่า TKL ไม่ก็เรียกว่า 87-Key (ANSI) หรือ 88-Key (ISO)
Glorious GMMK Tenkeyless - THE WHITE ICE EDITION
ภาพจาก : https://www.pcgamingrace.com/products/the-glorious-gmmk-tkl-pre-built-white
ไฟ LED ที่ติดตั้งอยู่ภายในสวิตช์แต่ละตัว มีประโยชน์ในการเพิ่มความสว่างให้ Legends เพื่อให้มองเห็นได้ชัดเจนในที่มืด หรือเพื่อเพิ่มความสวยงาม
เป็นสวิตช์สำหรับเปลี่ยนรูปแบบเลย์เอาท์ของคีย์บอร์ด (ไม่ใช่สวิตช์ของปุ่มนะ) โดยไม่ต้องใช้ซอฟต์แวร์เสริมเข้ามาช่วย โดยปกติผู้ผลิตจะติดตั้ง DIP switches เอาไว้ที่ใต้ตัวคีย์บอร์ด เพื่อป้องกันการเผลอกดสวิตช์โดยที่ไม่ตั้งใจ
DIP switches ในคีย์บอร์ด Filco MiniLa
ภาพจาก : https://www.keyboardco.com/blog/index.php/2013/12/filco-minila-first-impressions/
การตั้งค่า DIP switches ไม่ง่ายแต่ก็ไม่ยาก ถ้าตั้งเองโดยไม่ดูคู่มือประกอบก็ยาก แต่ถ้าอ่านคู่มือประกอบไปด้วยก็จะเข้าใจได้โดยทันที ว่าควรเปิดสวิตช์ไหนบ้าง ถึงจะได้ค่าเลย์เอาท์ที่ต้องการ อย่างในตารางด้านล่างนี้เป็นวิธีตั้งค่า DIP switches ของคีย์บอร์ด POKER IV
Dip switch usage | |||
ON | OFF | Remarks | |
SW1 | CAP = L WIN/L FN CAP LED = L WIN LED | CAP = CAP CAP LED = CAP LED | Default = OFF |
L WIN/L FN = CAP L WIN LED = CAP LED | L WIN/L FN = L WIN/L FN L WIN LED = L WIN LED | ||
SW2 | R CTRL = ` ~ | R CTRL = R CTRL | Default = OFF |
SW3 | L WIN = L FN | L WIN = L WIN | Default = OFF |
SW4 | Writeprotect the keyboard, press FN+R or try to program the keyboard will be disabled, the PN LED flashes one time | Default = OFF |
อาการที่คีย์บอร์ดไม่สามารถตอบสนองได้อย่างถูกต้องเมื่อกดปุ่มพร้อมกันหลายปุ่มในเวลาเดียวกัน
คุณสมบัติของคีย์บอร์ดที่ช่วยให้คีย์บอร์ดรองรับการกดปุ่มพร้อมกันเป็นจำนวนมากภายในเวลาเดียวกันได้โดยไม่เกิดปัญหา Ghosting จำนวน Key rollover ในคีย์บอร์ดแต่ละรุ่นจะไม่เท่ากัน อาจจะกดได้พร้อมกันสูงสุด 8 ปุ่ม, 11 ปุ่ม 24 ปุ่ม หรือมากกว่านั้น
ชุดสวิตช์ที่ประกอบไปด้วยสวิตช์หลายประเภทรวมไว้ภายในชุดเดียว เพื่อใช้ในการทดสอบความรู้สึกในการสัมผัสที่แตกต่างกันของสวิตช์แต่ละแบบได้อย่างสะดวก ทั้งนี้ Key Tester ไม่ถือว่าเป็นคีย์บอร์ด นอกจากสวิตช์แล้ว ภายในก็ไม่มีแผง PCB ให้เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์แต่อย่างใด
72-key Ultimate Switch Tester (KBDFans)
ภาพจาก : https://mechanicalkeyboards.com/shop/index.php?l=product_detail&p=6862
เป็นเครื่องมือขนาดเล็ก สำหรับใช้ช่วยถอด Keycap ออกจากสวิตช์ได้อย่างง่ายดาย และลดความเสี่ยงจากการทำให้ Keycap หรือ Stem เกิดความเสียหาย
ภาพจาก : https://www.joom.com/en/products/5d8898fc8b2c3701012a7c7e
บางครั้งจะเรียกโดยย่อว่า "NKRO" เป็นคุณสมบัติของคีย์บอร์ดที่ช่วยให้สามารถกดปุ่มทุกปุ่มที่มีอยู่ได้โดยไม่เกิดอาการ Ghosting เป็นคุณสมบัติที่เหมือนกับ Key rollover เพียงแต่ N-key rollover คือ สามารถกดได้ทุกปุ่มพร้อมกัน มี 100 ปุ่ม ก็สามารถกดพร้อมกันได้ 100 ปุ่ม โดยไม่มีปัญหา เกมเมอร์ และนักพิมพ์ความเร็วสูงจะมองหาคุณสมบัตินี้เวลาเลือกซื้อคีย์บอร์ด
ห่วงพลาสติก หรือห่วงยางขนาดเล็ก สำหรับใส่ไว้ใต้ Keycap ตรงจุดเสียบ Stem เพื่อปรับแต่งเสียง และความรู้สึกเวลาที่กดปุ่ม O-Ring สามารถติดตั้งได้ในสวิตช์ทุกรุ่นที่ใช้ Stem แบบ Cherry
ภาพจาก : https://www.mechkeybs.com/learn/o-rings-keyboard/
ย่อมาจากคำว่า Red-Green-Blue เป็นไฟ LED แม่สีแดง, เขียว และน้ำเงิน สามารถผสมสีได้แทบทุกสีที่ผู้ใช้ต้องการ โดยสามารถปรับแต่งสีของไฟได้จากคีย์บอร์ดโดยตรง หรือผ่านซอฟต์แวร์
Corsair K60 RGB PRO SE
ภาพจาก : https://www.corsair.com/us/en/Categories/Products/CORSAIR-iCUE/Gaming-Keyboards/K60-RGB-PRO-SE/p/CH-910D119-NA
เป็นอย่างไรกันบ้าง คิดว่ารวบรวมคำศัพท์เกี่ยวกับคีย์บอร์ดมาอย่างครบถ้วนแล้วนะ จากนี้ไปอ่านคุณสมบัติของคีย์บอร์ดก็น่าจะเข้าใจไม่งงอีกต่อไป
|
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ |