ความละเอียดหน้าจอ (Display Resolution) แบบ 1,920 x 1,080 พิกเซล (Pixels) ที่อยู่บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือ โทรทัศน์ คือความละเอียดระดับ Full HD (High Definition) ที่แบ่งได้เป็น 2 รูปแบบคือ รูปแบบ "ระบบ Progressive (1080p)" และ "ระบบ Interlaced' (1080i)"
ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจำนวนพิกเซลหรือความละเอียดจริง ๆ ของทั้ง 2 แบบนั้นมีความเท่ากันอยู่แล้ว แต่คุณรู้หรือไม่ว่ามันมีข้อแตกต่างกันอย่างไร ? บทความนี้เรามาหาคำตอบกัน
ข้อมูลเพิ่มเติม : ความละเอียด 720p, 1080p, 1440p, 2K, 4K, 5K, 6L, 8K, HD, FHD, UHD, QHD, ของหน้าจอ คืออะไร ?
ความละเอียดแบบ 1080i เมื่อพูดถึงที่มาของตัวเลข 1080 จะหมายถึงใช้เรียกตามขนาดจำนวนพิกเซลแนวตั้ง (1,920 x 1,080 พิกเซล) โดยตัวย่อด้านหลัง "i" มาจากคำว่า 'Interlaced" หรือ "ระบบภาพแบบอินเทอร์เลซ" ซึ่งเป็นระบบภาพ ที่ใช้วิธีการสแกนข้อมูลจากซ้ายไปขวาตามเส้นจำนวนพิกเซลแนวตั้ง โดยจะแบ่งพื้นสแกนเป็น 2 ส่วนเพื่อสลับฟันปลา เรียกเป็น เส้นเลขคู่ และ เส้นเลขคี่
โดยเส้นคู่จะแสดงผลในส่วนของเส้นที่ 2, 4, 6, 8, 10...ไปจนถึงเส้นที่ 1,080 และ เส้นคี่ จะแสดงผลในส่วนของเส้นที่ 1, 3, 5, 7, 9 ไปจนถึงเส้นที่ 1,079 แล้วรวมกันเป็นภาพ 1 เฟรมที่เราเห็นบนจอ
ภาพจาก https://helpx.adobe.com/premiere-pro/using/interlacing-field-order.html
เท่ากับว่าการทำงานของระบบภาพ Interlaced จะแบ่งเป็น 2 ส่วน ผลลัพธ์นี้ทำให้ระบบภาพแบบ 1080i อาจมีความบกพร่องในการซ้อนภาพระหว่างเส้นคู่และเส้นคี่ จนทำให้เราเห็นความแตกต่างของเส้นเลขคี่ และ คู่ได้ชัดเจน โดยเฉพาะถ้าสัญญาณภาพเหล่านั้นเป็นวัตถุที่มีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว
ตัวอย่างผลกระทบ
ส่วนข้อดีของระบบนี้ คือการใช้ แบนด์วิดท์ (Bandwidth) ที่น้อยเพื่อรับสัญญาณ เนื่องจากการแบ่งพื้นที่สแกนเป็น 2 ส่วนทำให้มี อัตราการรีเฟรช (Refresh Rate) เพิ่มเป็น 2 เท่า
ข้อมูลเพิ่มเติม : Refresh Rate คืออะไร ?
โดยระบบ Interlaced นั้นจึงถูกนิยมใช้ในการส่งสัญญาณออกอากาศทางโทรทัศน์ หรือ พวก ทีวีดิจิทัล (Digital TV) ผ่านสัญญาณดาวเทียมมาจนถึงทุกวันนี้ และมักจะพบได้ใน เครื่องรับโทรทัศน์ (TV) ในรุ่นเก่า หรือ จอเก่า ที่มีอัตรา Refresh Rate ไม่เกิน 50 เฮิรตซ์ (Hz) ไปจนถึงทีวียุคโบราณหรือทีวีจอแก้ว ส่วนทีวีสมัยใหม่ เนื่องจากมีอัตรา Refresh Rate ที่สูงอยู่แล้ว ทำให้ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ระบบ Interlaced อีกต่อไป
สำหรับรูปแบบของ การแสดงผลแบบ 1080p ตัวย่อคือ "p" นั้นมาจาก "Progressive" หรือ "ระบบภาพแบบโปรเกรสซีฟ" เป็นระบบภาพสมัยใหม่ที่เกิดขึ้นในยุคคอมพิวเตอร์ และพบเห็นได้ในโมเดิร์น TV รวมถึงจอคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็น LCD, LED , UHD 4K TVs, OLED TVs, UHD 8K TVs และอื่น ๆ อีกมากมาย
ภาพจาก https://helpx.adobe.com/premiere-pro/using/interlacing-field-order.html
โดยระบบ Progressive จะมีการทำงานในรูปแบบของการสแกนเส้นพิกเซล (Pixel Line) ทั้งเฟรมที่เรียงตามลำดับจากเส้นที่ 1 - 1,080 โดยไม่สลับฟันปลาหรือแบ่งการทำงานเป็น 2 ส่วนแต่อย่างใด ผลที่ได้ก็คือความเสถียรและคุณภาพที่มากกว่า อย่างแรกก็คือการแสดงผลมีความราบรื่นมากยิ่งขึ้น ชัดเจนกว่า แม้ได้รับผลกระทบจากวัตถุที่เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว แต่นั่นก็หมายความว่าอุปกรณ์ที่ใช้ต้องคุณภาพดีกว่า และ ใช้แบนด์วิดท์มากกว่า 2 เท่าในการสแกนข้อมูลออกมาเป็น 1 เฟรม
ภาพแบบ 1080p เมื่อเทียบกับก่อนหน้านี้
แน่นอนถ้าพูดถึงการแสดงผลที่คมชัดแล้ว 1080p มีความคมชัดและเหนือกว่าในทุก ๆ ด้าน ในขณะที่ 1080i จะให้คุณภาพที่ใกล้เคียงกับ 720p (HD) ซึ่งหมายความว่ามันอาจไม่ใช่ Full HD เต็มตัว แต่มันก็ยังมีความจำเป็นในการใช้ออกอากาศทางโทรทัศน์ เนื่องจากใช้แบนด์วิดท์ที่น้อยกว่า ทำให้การออกกาศทีวีในปัจจุบันก็ยังใช้ ระบบ Interlaced อยู่ ในขณะที่สื่อดิจิทัล รวมไปถึงพวกเทคโนโลยี TV หรือหน้าจอ ก็ใช้ระบบ Progressive เป็นพื้นฐานหมดแล้ว
ซึ่งในกรณีที่บอกว่าระบบออกอากาศทีวีในปัจจุบัน ยังคงใช้ระบบ Interlaced แต่ทีวีใช้การสแกนแบบ Progressive หลายคนอาจสงสัยว่ามันทำงานร่วมกันอย่างไร ? คำตอบคือ ปกติแล้ว TV ปัจจุบันจะมีระบบ Deinterlacing หรือกระบวนการแปลงวิดีโอแบบ Interlaced ให้อยู่ในรูปแบบ Progressive ซึ่งทำให้ทีวีสามารถแสดงผลในรูปแบบ Progressive ได้แม้จะรับสื่อมาเป็น ระบบ Interlaced นั่นเอง
อย่างเช่นในสมัยก่อนก็จะใช้กล่องสัญญาณดาวเทียม ส่วนคอมพิวเตอร์จะใช้การแปลงจาก การ์ดจอ (Graphic Card) นั่นเอง ดังนั้นหมายความว่าข้อด้อยอีกอย่างของ Interlaced ก็คือความไม่เข้ากันกับอุปกรณ์ ถ้าเกิดระบบ Deinterlacing ทำได้ไม่ดีพอก็จะเกิดเป็นผลเสียดังตัวอย่างในภาพ
ตัวอย่างภาพที่รับสัญญาณ 'Interlaced แล้วไม่ได้รับการแปลงเป็น 'Progressive' กับ ด้านขวาที่มีระบบแปลง
ตารางสรุป | 1080p | 1080i |
ข้อดี |
|
|
ข้อสังเกต |
|
|
|
งานเขียนคืออาหาร ปลายปากกา ก็คือปลายตะหลิว |