ในแวดวงไอทีมีคำศัพท์เท่ๆ (Buzzword) ที่เราน่าจะได้ยินกันบ่อยมากในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ว่าเรากำลังจะเข้าสู่ช่วงเปลี่ยนผ่านจาก Web 2 (หรือ Web 2.0) มาเป็น Web3 (หรือ Web 3.0) แม้ในความเป็นจริง มันยังต้องใช้เวลาในการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีอีกยาวนาน แต่การศึกษาข้อมูลล่วงหน้าไว้ก่อนก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย
ที่ Web3 น่าสนใจ ก็เพราะมันเปลี่ยนแปลงกระบวนการสื่อสารแบบออนไลน์ให้ต่างไปจากเดิม ผู้ใช้จะมีอำนาจในการควบคุมข้อมูลมากขึ้น ในบทความนี้เราก็เลยอยากจะมาแนะนำให้รู้จักกับระบบ Web3 Messaging ว่ามันคืออะไร ?
ใน Web3 ได้มีการเพิ่มระบบสื่อสารแบบข้อความเข้ามา ซึ่งเป็นก้าวถัดไปของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ด้วยการผนวกเอาเครือข่ายแบบ Peer-to-peer, Blockchain และ Token-Based Economy เข้ามา เพื่อบรรลุจุดประสงค์ในการทำให้ Web3 มีความเป็น กระจายอำนาจ (Decentralization) โดยมันจะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้โดยไม่ต้องผ่าน ตัวกลาง (Centralized Entity) นั่นเอง
ภาพจาก https://provokesolutions.com/Web3-explained/
ด้วเทคโนโลยี Blockchain มันทำให้ระบบ Web3 messaging เกิดขึ้นได้ โดยใช้มันในการเก็บข้อมูล, ลายเซ็นดิจิทัล และ การเข้ารหัสแบบ End-to-End ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยให้ผู้ใช้ได้รับความเป็นส่วนตัว และความปลอดภัยในการใช้ระบบส่งข้อความมากกว่าระบบเดิมมาก นอกจากนี้มันยังสามารถเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชัน หรือบริการอื่น ๆ ที่อยู่ในรูปแบบ Decentralization เหมือนกันได้ง่ายขึ้น
Web3 Messaging นั้นทำงานอยู่บนเทคโนโลยี Blockchain และเครือข่าย Peer-to-Peer (P2P) โดยหน้าที่ของ Blockchain คือทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการส่งข้อความระหว่างผู้ใช้โดยที่ไม่ต้องมีเซิร์ฟเวอร์กลางในการแลกเปลี่ยน ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้เพราะมีเครือข่ายคอมพิวเตอร์จำนวนมากที่แชร์ฐานข้อมูลร่วมกัน
ในขณะที่ เครือข่าย Peer-to-Peer จะมีหน้าที่ในการเข้ารหัส, แลกเปลี่ยน และเก็บข้อมูลไปยัง Network Node ด้วยรูปแบบเครือข่ายดังกล่าว จึงมีแค่ผู้ส่งข้อความ และผู้รับข้อความเท่านั้น ที่มี Private Key ในการถอดรหัส และอ่านข้อมูลได้ ดังนั้น ระบบในรูปแบบนี้จึงมีข้อได้เปรียบในด้านการแบ่งปันข้อมูลโดยที่ยังรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูลเอาไว้ได้
จากคุณสมบัติของ 2 เทคโนโลยีที่เราได้ว่าไป ทำให้คุณสมบัติในการทำงานของ Web3 จะมีรูปแบบดังต่อไปนี้
ภาพจาก : https://www.dock.io/post/decentralized-identifiers
ซึ่งจากคุณสมบัติที่ว่ามา เราก็น่าจะเข้าใจแล้วว่า เทคโนโลยีของ Web3 Messaging นั้นจะช่วยให้การเชื่อมต่อ, แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ใช้ หรือระหว่างแอปพลิเคชัน ไร้รอยต่อมากขึ้น ซึ่งนั่นหมายถึงประสบการณ์ในการใช้งานที่ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม
Web3 Messaging | Traditional Messaging | |
รูปแบบการทำงาน | Decentralization | Centralized Entity |
การควบคุมข้อมูล | ไม่มีใครควบคุม | ผู้ให้บริการอาจเข้าถึงข้อมูลของเราได้ |
การควบคุมเนื้อหา | ไม่มี | สามารถถูกแทรกแซงเพื่อปิดกั้นเนื้อหา |
การเชื่อมโยง | ทำได้อย่างอิสระ | สื่อสารกันได้เฉพาะแพลตฟอร์มเดียวกัน |
โปรโตคอล Blockchain แทบทุกตัวจะมีปัญหาด้านการขยายขนาดของระบบ เนื่องจากมันจะใช้เวลาในการตรวจสอบข้อมูลมากขึ้นตามจำนวนผู้ใช้งานในขณะนั้น ซึ่งในปัจจุบันนี้ มีการรับส่งข้อความมากถึงประมาณ ~16,000,000 ครั้งต่อนาที ทำให้การสื่อสารบน Web3 Messaging ในวงกว้างจะมีปัญหาอย่างแน่นอน หากปัญหานี้ยังไม่ได้รับการแก้ไข
สำหรับแพลตฟอร์ม Web3 มีความยุ่งยากในการใช้งานกว่าแพลตฟอร์มทั่วไป หากผู้ใช้ไม่ได้มีความชำนาญด้านเทคโนโลยีอาจจะใช้งานไม่เป็น ตัวอย่างเช่น ไม่รู้ว่าค่า Addresses หรือ Seed phrases คืออะไร ? ไม่ใช่ผู้ใช้งานทุกคนที่ต้องการเรียนรู้ข้อมูลเหล่านี้
ถึงแม้ว่าเทคโนโลยี Blockchain จะได้รับการยอมรับว่ามีความปลอดภัยสูงมาก แต่มันก็ไม่สามารถหยุดการโจมตีจากแฮกเกอร์ได้อยู่ดี และด้วยความที่มันเป็นระบบแบบ Decentralization นั่นทำให้เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น การตามล่าคนร้ายจึงยากกว่าปกติ รวมไปถึงปัญหาด้านข้อกฏหมายที่ในบางประเทศอาจจะยังไม่ได้รับการปรับปรุงให้เหมาะสมกับการควบคุม Blockchain
แม้ว่า Web3 Messaging จะเป็นนวัตกรรมใหม่ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีสื่อสารแบบออนไลน์ได้ แต่การปรับใช้ก็มีความยุ่งยาก มีหลายความท้าทายที่ยังต้องได้รับการพัฒนาเสียก่อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการขยายขนาด, วิธีการใช้งานที่เป็นมิตรแก่ผู้ใช้มากขึ้น และกฏหมายที่สามารถปกป้องผู้ใช้งานได้
|
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ |