ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
THAIWARE.COM | ทิปส์ไอที
 

ระบบปฏิบัติการ Windows ธรรมดา กับ Windows Server ต่างกันอย่างไร ?

ระบบปฏิบัติการ Windows ธรรมดา กับ Windows Server ต่างกันอย่างไร ?

เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 36,971
เขียนโดย :
0 %E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3+Windows+%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%B2+%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A+Windows+Server+%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3+%3F
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

ความแตกต่างระหว่างระบบปฏิบัติการ Windows กับ Windows Server

ระบบปฏิบัติการ Windows เป็นระบบปฏิบัติการที่มีมาอย่างยาวนาน หลายสิบปีแล้ว และผ่านการพัฒนามาหลายเวอร์ชัน (ประวัติการพัฒนาของระบบปฏิบัติการ Windows เวอร์ชันต่าง ๆ) ซึ่งหากเราแบ่งตามฮาร์ดแวร์ที่เหมาะสมต่อการใช้งานแล้ว จะมี Windows กับ Windows Server ซึ่งทั้งคู่หน้าตาแทบจะเหมือนกัน แต่ว่ามันได้รับการออกแบบมาให้เหมาะสมกับการใช้งานที่แตกต่างกันนะ

บทความเกี่ยวกับ Windows อื่นๆ

แรกเริ่มเดิมที ระบบปฏิบัติการ Windows ทำมาให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล แต่เมื่อเทคโนโลยีพัฒนาขึ้น เครือข่ายต่าง ๆ ขยายใหญ่ว่าเดิม ทำให้ Microsoft เริ่มพัฒนาระบบปฏิบัติการ Windows สำหรับใช้ด้านธุรกิจ และเครือข่าย ที่ต้องมีการควบคุมดูแลทรัพยากรระบบที่สูงกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลขึ้นมา

หลายคนน่าจะสงสัยว่ามันต่างกันอย่างไร ส่วนใหญ่เราก็น่าจะใช้งาน Windows 10 กันแหละ แต่หากอยากจะใช้ Windows Server บ้าง จะใช้ได้หรือเปล่า สามารถดูหนัง ทำงาน ฟังเพลง เล่นเกมได้หรือไม่ ? สามารถหาคำตอบได้ในบทความนี้เลยครับ

เนื้อหาภายในบทความ

ความเป็นมาโดยสังเขปของ Windows Server

ก่อนจะไปถึงความแตกต่าง เราอยากจะเล่าถึงความเป็นมาของมันก่อนสักเล็กน้อย ว่า Windows Server มีที่มาที่ไปอย่างไร

Windows NT บรรพบุรุษของ Windows Server

Windows สำหรับ Server เวอร์ชันแรกนั้น คือ Windows NT Advanced Server 3.1 เปิดตัวในปี ค.ศ. 1993 (พ.ศ. 2536) ทาง Microsoft ได้เปิดตัวออกมา 2 เวอร์ชัน คือ เวอร์ชันสำหรับใช้ในเครื่องเทอร์มินัล และเวอร์ชันสำหรับเซิร์ฟเวอร์

Windows NT คำว่า NT ย่อมาจาก New Technology ที่แปลว่า "เทคโนโลยีใหม่"

ถัดมาในปี ค.ศ. 1994 (พ.ศ. 2537) ทาง Microsoft ได้เปิดตัว Windows NT Server 3.5 ที่มีการปรับปรุงให้รองรับการทำงานร่วมกับระบบ Unix และระบบ Novell Netware ซึ่งในเวลานั้นระบบเครือข่ายส่วนใหญ่จะใช้สองระบบนี้เป็นหลัก ในฐานะผู้เล่นหน้าใหม่ในตลาดแล้ว การที่ Windows NT Server 3.5 ทำงานร่วมกับระบบเดิมได้ทำให้มันเป็นที่ยอมรับในตลาดได้ง่ายขึ้น

พอเข้าไป ค.ศ. 1995 (พ.ศ. 2538) ซึ่งปีนี้ทาง Microsoft ได้เปิดตัว Windows 95 ที่มีความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ จนแทบไม่เหลือเค้าเดิมของ Windows 3.1x แล้วก็มี Windows NT Server 3.51 เปิดตัวด้วยในเวลาไล่เลี่ยกัน Windows NT Server 3.51 มีความสามารถในการบริหารจัดการคอมพิวเตอร์ที่ใช้ Windows 95 อย่างงานพวกดูแลจัดการสิทธิ์การใช้งานซอฟต์แวร์ (Software License) งานติดตั้งอัปเดต Windows ให้กับคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในระบบ ผ่านเครือข่ายได้

ระบบปฏิบัติการ Windows ธรรมดา กับ Windows Server ต่างกันอย่างไร ?
ภาพจาก https://www.youtube.com/watch?v=Be50Xj3CTBg 

Windows NT Server 4.0 ที่เปิดตัวในปี ค.ศ. 1996 (พ.ศ. 2539) เป็นเวอร์ชันสุดท้ายที่มีพ่วงคำว่า "NT" มันเป็นเวอร์ชันที่น่าจดจำด้วยเหตุผลหลายอย่าง ประการแรกมันเป็นครั้งแรกที่หน้าตาถูกออกแบบให้มีความเหมือนกับ Windows 9x (ก่อนหน้านี้หน้าตาจะเหมือน Windows 3.1x) และมันยังมาพร้อมกับระบบ IIS 2.0 (Internet Information Services) ที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องจนกลายมาเป็นซอฟต์แวร์ Web server ที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ได้รับความนิยมเป็นอันดับหนึ่งอยู่หลายสิบปี (ถูก Apache แซงไปในปี ค.ศ. 2018 หรือ พ.ศ. 2561)

เข้าสู่ยุคของชื่อ Windows Server

Microsoft ได้ตัดชื่อ NT ออกไปในปี ค.ศ. 2000 (พ.ศ. 2543) ด้วยการเปิดตัว Windows Server 2000 หลังจากนั้นเป็นต้นมา ชื่อเวอร์ชันของ Windows Server ก็จะตามด้วยปีที่เปิดตัว

Windows Server จะมาพร้อมกับมาตรการสนับสนุนที่เรียกว่า Long Term Servicing Channel (LTSC) พูดง่าย ๆ คือ ให้การสนับสนุนระยะยาว โดย Microsoft จะให้การสนับสนุนยาวนานถึง 10 ปี โดย 5 ปีแรก จะเป็น Mainstream support และ Extended support ได้อีก 5 ปี

Windows Server 2000 มาพร้อมกับความสามารถหลายอย่างที่ยังคงถูกใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้ อย่างเช่น มันสนับสนุนการทำงานของ XML, Active Server Pages (ASP), Active Directory สำหรับการทำ User authentication และ Windows Server 2000 ยังเป็นจุดเริ่มต้นของการแบ่งรุ่น Windows ตามความเหมาะสม โดยมันมีถึง 3 เวอร์ชันให้เลือกใช้งานเลยล่ะ คือ

  1. Windows Server Standard Edition (รุ่นมาตรฐาน)
  2. Windows Server Professional Edition (รุ่นโปร หรือ รุ่นมืออาชีพ)
  3. Windows Server Advanced Edition (ุร่นแอ๊ดวานซ์)
  4. Windows Server Datacenter Edition (รุ่นสำหรับใช้งานในศูนย์ข้อมูล หรือ ดาต้าเซ็นเตอร์)

ระบบปฏิบัติการ Windows ธรรมดา กับ Windows Server ต่างกันอย่างไร ?
ภาพจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Windows_Server_2019

รายชื่อรุ่นของ Windows Server

  • Windows Server 2003 (เมษายน ค.ศ. 2003)
  • Windows Server 2003 R2 (ธันวาคม ค.ศ. 2005)
  • Windows Server 2008 (กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008)
  • Windows Server 2008 R2 (ตุลาคม ค.ศ. 2009)
  • Windows Server 2012 (กันยายน ค.ศ. 2012)
  • Windows Server 2012 R2 (ตุลาคม ค.ศ. 2013)
  • Windows Server 2016 (กันยายน ค.ศ. 2016)
  • Windows Server 2019 (ตุลาคม ค.ศ. 2018)

เกร็ดน่าสนใจ

Microsoft ยังมี Windows Server แบบ Semi-Annual Channel (SAC) อีกด้วยนะ มันถูกตัด GUI desktop environments ออกไป แล้วทำให้รองรับ Server Core และ Nano Server ออกแบบมาให้มีขนาดที่เล็กมาก เพื่อให้เหมาะสมกับการทำงานบน Cloud ที่เป็นเทรนด์นิยมในปัจจุบันนี้ 

ขณะนี้มีออกมา 3 เวอร์ชัน คือ (เลขเวอร์ชัน คือ ปีตามด้วยเดือน เช่น เวอร์ชันแรกคือ เปิดตัวปี 2018 เดือน 03)

  • Windows Server เวอร์ชัน 1803
  • Windows Server เวอร์ชัน 1809
  • Windows Server เวอร์ชัน 1903

ความเหมือน ที่แตกต่างระหว่าง Windows ธรรมดา และ Windows Server

ความเหมือนของ Windows ธรรมดา และ Windows Server

หากคุณเพิ่งติดตั้ง Windows 10 หรือ Windows Server 2019 มาใหม่ ๆ คุณอาจจะเกิดความสับสนระหว่าง 2 เวอร์ชันได้ เพราะมันใช้โค้ดพัฒนาร่วมกัน ทำให้หน้าตาเหมือนกันมาก มีปุ่ม Start, หน้าจอ Desktop ฯลฯ เหมือนกันหมด มี Kernel เหมือนกัน สามารถติดตั้งโปรแกรมเพิ่มได้เหมือนกันหมด

อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางความเหมือน แต่ความแตกต่างมีมากพอสมควรนะ Windows ธรรมดาออกแบบมาเพื่อใช้งานทั่วไป ในขณะที่ Windows Server ออกแบบมาให้รองรับบริการผู้ใช้ที่อยู่ในเครือข่าย ทำให้มีพวกเครื่องมือต่าง ๆ ให้ใช้งานแตกต่างกันเป็นอย่างมาก

ความแตกต่างของ Windows ธรรมดา และ Windows Server

มีข้อแตกต่าง ๆ หลายอย่างระหว่าง Windows ปกติ กับ Windows Server มาลองดูรายละเอียดเบื้องต้นกันคร่าว ๆ

ด้านฮาร์ดแวร์

  • Windows 10 Pro สามารถใส่แรมได้มากสุด 2TB แต่ Windows Server 2019 สามารถใส่แรมได้มากสุดถึง 24TB ต่างกันถึง 12 เท่าเลยทีเดียว
  • Windows 10 Pro สามารถใส่ CPU ได้สูงสุด 2 ตัว รองรับการทำงานได้สูงสุด 256 Cores ถ้าเป็น Windows 10 Pro สำหรับ Workstation จะใส่ CPU ได้สูงสุด 4 ตัว
    แต่ Windows Server 2019 สามารถใส่ CPU ได้สูงสุดถึง 64 ตัว รองรับจำนวน Cores ได้ไม่จำกัด

ซอฟต์แวร์ที่แตกต่างกัน

เพราะ Windows ทั้ง 2 เวอร์ชันนี้ ถูกออกแบบมาให้ใช้งานคนละประเภท ซอฟต์แวร์ที่ให้มาจึงแตกต่างกันเป็นอย่างมาก

  • Windows 10 มีการอัปเดตความสามารถบ่อย และเร็วกว่า Windows Server มาก
  • Windows Server ไม่มี Windows Subsystem for Linux (WSL) ไม่มี Cortana ไม่มี Microsoft Store ไม่รองรับ Progressive Web Apps ไม่มีพวกไดร์เวอร์สำหรับอุปกรณ์ทั่วไป เช่น ต่อจอย Xbox 360 ก็ไม่ขึ้น ปัญหาพวกนี้มีทางแก้แต่ไม่ง่ายสำหรับคนทั่วไป หรือ Microsoft Account ก็จะไม่สามารถเข้าระบบใน Windows Server ได้ ต้องใช้ Domain account เท่านั้น
  • Windows Server มีเครื่องมือสำหรับธุรกิจให้ใช้งาน อย่างพวก
    • Server manager
    • DHCP Services
    • Windows Deployment Services
    • Active Directory
    • File and Storage
    • Print Services
    • ฯลฯ

การเชื่อมต่อ

  • การเชื่อมต่อผ่าน TCP connection ตัว Windows 10 Pro จะอยู่ที่ 20 หากเราต้องการเชื่อมต่อมากกว่านั้น จำเป็นต้องใช้ Windows Server ที่เชื่อมต่อได้อย่างไม่มีข้อจำกัดด้านจำนวน

ราคา

ระบบปฏิบัติการ Windows ธรรมดา กับ Windows Server ต่างกันอย่างไร ?
ภาพจาก https://www.microsoft.com/en-us/cloud-platform/windows-server-pricing

Windows Server เหมาะกับใคร ?

ถ้าได้อ่านความแตกต่างด้านบนแล้ว ก็น่าจะเข้าใจจุดประสงค์ในการทำงานที่แตกต่างระหว่าง Windows ธรรมดากับ Windows Server กันไปแล้ว จะเห็นได้ว่า Windows Server ออกแบบมาสำหรับใช้ในเซิร์ฟเวอร์ตามชื่อของมันเลย เอาไว้ใช้ในเครื่องที่เป็นฐานข้อมูล สำหรับให้บริการข้อมูลกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ หรือจะใช้ในเรื่องของ

  • Web Hosting : พื้นที่เก็บข้อมูล และ บริหารจัดการเว็บไซต์
  • File Server : เซิร์ฟเวอร์สำหรับเก็บไฟล์สำคัญ เพื่อแชร์กันภายใน หรือกับคนภายนอกองค์กร
  • E-Mail Server : เซิร์ฟเวอร์เก็บข้อมูลอีเมล ไฟล์แนบที่มากับอีเมล ของผู้ใช้ต่าง ๆ ภายในองค์กร
  • Application Server : เก็บข้อมูลของแอปพลิเคชัน หรือ ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ที่ต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
  • และอื่น ๆ แล้วแต่จะนำไปประยุกต์ใช้งาน

Windows Server ใช้งานทั่วไปได้หรือไม่ ?

แม้เราจะบอกว่าตัวโค้ดของ Windows Server กับ Windows ปกติจะมีพื้นฐานร่วมกัน แต่พวกไฟล์ระบบ และไดร์เวอร์ต่าง ๆ มันไม่เหมือนกันนะครับ เนื่องจากคำถามนี้ค่อนข้างกว้าง เราจึงขอตอบแบบคร่าว ๆ นะครับ

Windows Server สามารถใช้งาน Microsoft Office ได้หรือไม่ ?

ระบบปฏิบัติการ Windows Server 2019 รองรับการทำงานของ Office 365 ProPlus

Windows Server สามารถใช้งาน Adobe Creative Cloud ได้หรือไม่ ?

เท่าที่เช็คกับหน้า สนับสนุนของ โปรแกรม Adobe ไม่สามารถทำงานได้

Windows Server สามารถใช้เล่นเกมได้หรือไม่ ?

ได้ แต่ไม่ง่าย จำเป็นต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ และไดร์เวอร์เพิ่ม รวมถึงการตั้งค่าอีกหลายอย่าง

Windows Server สามารถใช้เล่นอินเทอร์เน็ต ได้หรือไม่ ?

ระบบปฏิบัติการ Windows Server ทำงาน และยุ่งเกี่ยวกับงานด้านเครือข่ายเป็นหลักอยู่แล้ว จึงไม่มีเหตุผลที่จะเล่นอินเทอร์เน็ตไม่ได้ โดยมันสามารถติดตั้ง เว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) เพื่อใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วไปได้เลย อย่างน้อยก็ โปรแกรม Internet Explorer 11 ที่ติดมากับตัว Windows Server ในขณะที่ โปรแกรม Mozilla Firefox หรือ โปรแกรม Google Chrome เว็บเบราว์เซอร์ยอดนิยม ก็สามารถดาวน์โหลดมาติดตั้งได้เช่นกัน

บทสรุประบบปฏิบัติการ Windows Server

ท้ายที่สุดแล้ว แม้ Windows Server และ Windows ปกติ จะมีหน้าตาที่คล้าย ๆ กัน แต่การใช้งานนั้นแตกต่างโดยสิ้นเชิง

Windows ปกติออกแบบมาให้ใช้งานทั่วไปเป็นหลัก และมีลูกเล่นเสริมเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ ส่วน Windows Server ออกแบบมาเพื่อให้บริการงานหลาย ๆ อย่าง ให้กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ 

ทีนี้ก็น่าจะได้คำตอบกันแล้วล่ะ ว่าจะใช้ Windows แบบไหนดี


ที่มา : medium.com , blogs.systweak.com , www.makeuseof.com , www.minitool.com , en.wikipedia.org , www.comparitech.com , www.microsoft.com , social.technet.microsoft.com

0 %E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3+Windows+%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%B2+%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A+Windows+Server+%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3+%3F
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
 
 
 

ทิปส์ไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 3
21 พฤษภาคม 2558 13:28:00
GUEST
Comment Bubble Triangle
ุ่hoho
555
24 สิงหาคม 2565 11:34:16
GUEST
Comment Bubble Triangle
ฮิวมังกัสซอ
มีอะไรน่าขำว่ะไอเชี่ย
 
 
ความคิดเห็นที่ 2
7 มีนาคม 2557 11:37:32
GUEST
Comment Bubble Triangle
2557
กากเกรียน
24 สิงหาคม 2565 11:32:51
GUEST
Comment Bubble Triangle
panot
WTF
 
 
ความคิดเห็นที่ 1
22 พฤศจิกายน 2555 11:08:33
GUEST
Comment Bubble Triangle
pop
ดี