ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
THAIWARE.COM | ทิปส์ไอที
 

9 เหตุผล ที่ผู้ใช้แอนดรอยด์ควรอัพเดทระบบปฏิบัติการเป็น Android 8.0 Oreo

9 เหตุผล ที่ผู้ใช้แอนดรอยด์ควรอัพเดทระบบปฏิบัติการเป็น Android 8.0 Oreo

เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 14,815
เขียนโดย :
0 9+%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%9C%E0%B8%A5+%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B9%8C%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99+Android+8.0+Oreo
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

Android 8.0 Oreo ระบบปฏิบัติการเวอร์ชันล่าสุดของ Google ที่ออกมาสักพักใหญ่ๆ แล้ว มันมีคุณสมบัติใหม่ๆ เพิ่มเข้ามามากมาย แต่ที่หลายคนอาจจะไม่ได้สนใจ ก็คือ เรื่องความปลอดภัย นอกเหนือจากลูกเล่นใหม่ที่ Google ใส่เข้ามาแล้ว ใน Android 8.0 ทาง Google ได้มีการเพิ่มระบบรักษาความปลอดภัยให้ตัวระบบมีความเข้มแข็งมากขึ้น ใครที่ลังเลอยู่ว่าจะอัพเดทดีไหม ลองมาดูรายละเอียดกันครับ แล้วจะเข้าใจว่าทำไมเราถึงแนะนำให้ผู้ใช้ควรรีบอัพเดทสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ของคุณให้เป็น Android 8.0 

1. การติดตั้งแอปฯ แบบ Sideload ควบคุมความเสี่ยงได้ง่ายขึ้น

บทความเกี่ยวกับ Google อื่นๆ

9 เหตุผล ที่ผู้ใช้แอนดรอยด์ควรอัพเดทระบบปฏิบัติการเป็น Android 8.0 Oreo

การติดตั้งแอปฯ ลงบนระบบปฏิบัติการ Android นั้นค่อนข้างมีความแตกต่างจาก iOS โดย Android จะค่อนข้าง "เปิดกว้าง" มากกว่า ผู้ใช้สามารถติดตั้งแอปฯ (.apk) จากแหล่งต่างๆ ได้อย่างอิสระ ไม่จำเป็นต้องดาวน์โหลดจาก Google Play แต่เพียงอย่างเดียว (ที่เรียกกันว่า Sideload)

อย่างไรก็ตาม ด้วยความเปิดกว้างนี่แหละ จึงมีความเสี่ยงที่จะเจอไฟล์ .apk ปลอม ที่แฮกเกอร์ทำขึ้นมาหลอกได้ ดังนั้นการติดตั้งแอปฯ แบบ Sideload เราจะต้องพิจารณาแหล่งที่มาของตัว .apk ให้ดี ซึ่งใน Android 8.0 สามารถตั้งค่าให้ตัวระบบเลือกติดตั้ง .apk จากแหล่งที่เราอนุญาตไว้เท่านั้น

2. Android Verified Boot 2.0

คุณสมบัติ Android Verified Boot เป็นระบบรักษาความปลอดภัยที่มีมาตั้งแต่ในสมัย Android 4.4 Kitkat มันออกแบบมาเพื่อป้องกันการโจมตีจากมัลแวร์ที่ได้รับการอนุญาตให้เข้าถึง Root เพื่อซ่อนตัวเองจากแอปฯ รักษาความปลอดภัยได้

แต่แฮกเกอร์ที่สร้างมัลแวร์ได้ตอบโต้ด้วยการสร้างมัลแวร์ที่สามารถทำการดาวน์เกรดอุปกรณ์ของเราไปยังเวอร์ชันเก่ากว่าได้ เพื่อทำการ Bypass ระบบ Android Verified Boot

เพื่อตอบโต้กับสถานการณ์นี้ Android Oreo ได้มาพร้อมกับ Android Verified Boot 2.0 ซึ่งรองรับระบบ Rollback Protection ที่ออกแบบมาให้ป้องกันไม่ให้อุปกรณ์สามารถบูทได้หากมีการเรียกบูทจากระบบปฏิบัติการเวอร์ชันเก่าหรือเวอร์ชันที่พบความผิดปกติ

อย่างไรก็ตาม Android Verified Boot 2.0 สามารถใช้ได้ในสมาร์ทโฟนบางรุ่นที่ได้รับการออกแบบฮาร์ดแวร์มาเป็นพิเศษเท่านั้น ซึ่งในขณะนี้มีแค่ Pixel 2 และ Pixel 2 XL เท่านั้น ที่รองรับคุณสมบัตินี้ ซึ่งทาง Google ได้เรียกร้องให้บรรดาผู้ผลิตสมาร์ทโฟนต่างๆ ใส่คุณสมบัตินี้เข้ามาในสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ที่จะวางจำหน่ายในอนาคต

3. Project Treble

บนระบบปฏิบัติการ Android 8.0 Oreo มีการใส่คุณสมบัติใหม่เข้ามาที่มีชื่อว่า Project Treble เข้ามา มันเป็นสิ่งที่จะช่วยให้ผู้ใช้งานระบบปฏิบัติการ Android ได้รับการอัพเดทเฟิร์มแวร์ได้เร็วขึ้นกว่าเก่า แม้ว่าอุปกรณ์นั้นจะไม่ได้ใช้ระบบปฏิบัติการแบบ Pure Android ก็ตาม

ด้วยระบบ Sandbox แบบใหม่นี้ มันจะช่วยให้ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนสามารถอัพเดทเฟิร์มแวร์ให้ตัวอุปกรณ์ได้อย่างรวดเร็ว และง่ายขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากตัว Hardware Abstraction Layer (HAL) ที่เป็นส่วนควมคุมระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของ ใน Android 8.0 มีความเป็นเอกเทศ ทำให้ผู้ผลิตไม่จำเป็นต้องมาพัฒนาไฟล์ในส่วนนี้ใหม่ทุกครั้งที่มีการอัพเดท

Project Treble คุณสมบัติใหม่ของ Android ที่ผู้ใช้ควรรู้

นี่คือลักษณะของการอัพเดทเฟิร์มแวร์ของ Android แบบเดิม ที่ผู้ผลิตจะต้องทำการอัพเดททั้ง Framework และซอฟต์แวร์ในส่วนที่ผู้ผลิตต้องการเพิ่มเข้าไปในตัว OS (เช่น Galaxy Note ก็จะมีการเพิ่มเติมซอฟต์แวร์ในส่วนที่ใช้ควบคุม S Pen)

Project Treble คุณสมบัติใหม่ของ Android ที่ผู้ใช้ควรรู้

ส่วนนี่คือลักษณะของการอัพเดทด้วย Project Treble จะเห็นได้ว่าผู้ผลิตไม่จำเป็นต้องเขียน Implement ซอฟต์แวร์ในส่วนที่ผู้ผลิตต้องการเพิ่มเข้าไปในตัว OS เข้าไปใหม่ เพราะการอัพเดทจะเปลี่ยนแปลงเฉพาะในส่วนของ Framework เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม การจะใช้ Project Treble ได้ ทางผู้ผลิตสมาร์ทโฟนจะต้องทำการแยกไฟล์ระบบออกเป็น 2 Partition เพื่อแยกการอัพเดทออกจากกันตั้งแต่แรกด้วยนะ ทำให้ในสมาร์ทโฟนบางรุ่นที่ไม่ได้แยกไว้ จะใช้คุณสมบัตินี้ไม่ได้

4. Deprecated Insecure Version of SSL

9 เหตุผล ที่ผู้ใช้แอนดรอยด์ควรอัพเดทระบบปฏิบัติการเป็น Android 8.0 Oreo

SSL/TLS คือ Network protocols ที่ใช้ในการรักษาความปลอดภัยของการเชื่อมต่อของโลกอินเทอร์เน็ต อย่างไรก็ตาม ในปี 2014 นักวิจัยของ Google ได้พบช่องโหว่ใน SSL v3.0

ใน Android 8.0 Oreo จึงได้ยุติการสนับสนุนระบบ SSL เก่าที่มีช่องโหว่ รวมไปถึง TLS เวอร์ชันเก่าอีกด้วย เนื่องจากมันส่งผลให้ความปลอดภัยลดต่ำลง พูดง่ายๆ ก็คือ มันทำให้การเชื่อมต่อไปยังอินเทอร์เน็ตมีความปลอดภัยมากขึ้นนั่นเอง

นอกจากนี้ Android 8.0 Oreo ยังมีการเปลี่ยนแปลงระบบรักษาความปลอดภัยของ WebView element อีกด้วย โดยมันจะแยกการประมวลผลระหว่างท่องเว็บออกไปอยู่ใน Sandbox เพื่อปกป้องระบบจากการโจมตีผ่านหน้าเว็บไซต์

5. ปกป้องอันตรายเมื่อเชื่อมต่อไปยัง Wi-Fi สาธารณะ

หลายคนน่าจะรู้กันดีอยู่แล้วว่า การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่าย Wi-Fi สาธารณะมีอันตรายเป็นอย่างมาก เสี่ยงต่อการถูกดักขโมยข้อมูล

ใน Android 8.0 Oreo มีระบบ Wi-Fi Assistant ซึ่งมันจะช่วยให้เราเชื่อมต่อไวไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังมีการรักษาความปลอดภัยด้วยการใช้ VPN ของ Google อีกด้วย อย่างไรก็ตาม คุณสมบัตินี้ยังใช้งานได้เฉพาะผู้ที่ใช้งาน Project Fi และ Nexus/Pixel เท่านั้น

6. รองรับระบบฮาร์ดแวร์ Tamper-Resistant

9 เหตุผล ที่ผู้ใช้แอนดรอยด์ควรอัพเดทระบบปฏิบัติการเป็น Android 8.0 Oreo

Android 8.0 Oreo มีโมดูลสำหรับรักษาความปลอดภัยของฮาร์ดแวร์โดยเฉพาะ เพื่อปกป้องการทะลวงรหัสผ่านของ Lock screen จากการโจมตีทางกายภาพ โดยสมาร์ทโฟนรุ่นแรกที่รองรับคุณสมบัตินี้ คือ Pixel 2

โดยการทำงานของระบบฮาร์ดแวร์ Tamper-Resistant จะมีการใส่ชิปป้องกันที่มีหน่วยประมวลผล, แรม และระบบตรวจจับการโจมตีทางกายภาพ โดยทำงานแยกออกจากชิปประมวลผลหลักของตัวเครื่อง

7. รองรับ Physical Security Keys

ถ้าคุณเคยใช้ระบบป้องกันแบบ Two-factor authentication มาก่อน นี่เป็นอีกหนึ่งการเข้าระบบแบบ 2 ขั้น แต่แทนที่เราจะต้องมาใส่รหัสผ่านชุดที่สองที่มีการสุ่มใหม่ทุกครั้งแทน Android 8.0 Oreo จะรองรับการทำงานร่วมกับอุปกรณ์อย่าง U2F ด้วย

9 เหตุผล ที่ผู้ใช้แอนดรอยด์ควรอัพเดทระบบปฏิบัติการเป็น Android 8.0 Oreo

U2F (Universal 2nd Factor) ทำหน้าที่เป็นเหมือนกุญแจชุดที่สอง แทนที่เราจะต้องกรอกรหัส ก็ใช้การเชื่อมต่อเจ้า U2F เข้ากับสมาร์ทโฟนแทน อย่างไรก็ตาม แอปฯ ที่ใช้งานได้จะต้องมีการใส่ API ของตัว U2F เข้าไปใน Code ด้วย

8. Kernel Lockdown

Android 8.0 Oreo มีการจำกัดการเข้าถึง Kernel ด้วยความช่วยเหลือจาก Seccomp filter แบบใหม่ ซึ่ง Google ระบุว่ามันจะทำการปิดการเรียกไฟล์ใน System ที่ไม่มีการใช้งานได้ ซึ่งจะช่วยลดช่องทางการโจมตีผ่าน Kernel พูดง่ายๆ ก็ คือ ลดช่องโหว่ที่มัลแวร์จะเข้าโจมตีได้

9. เพิ่มหน้าต่างแจ้งเตือนเมื่อเกิดการทับซ้อนหน้าต่างแจ้งเตือนของของระบบ

ปกติแล้ว ระบบปฏิบัติการ Android อนุญาตให้แอปฯ สามารถสร้างหน้าต่างแจ้งเตือนเด้งขึ้นมาทับกับแอปฯ อื่นได้ ซึ่งแฺฮกเกอร์ได้มีการนำคุณสมบัติดังกล่าวมาใช้ประโยชน์ด้วยการสร้างหน้าต่างแจ้งเตือนซ้อน(ปลอม) ทับไว้บนสุดของหน้าต่างแจ้งเตือน (ของจริง) หากผู้ใช้เผลอพลาดกดไปก็จะงานเข้าในทันที แต่ใน Android 8.0 จะมีการแจ้งเตือนทุกครั้ง หากหน้าต่างแจ้งเตืิอนเกิดการซ้อนทับ เพื่อให้เรากดปิดได้อย่างง่ายๆ


ใครที่ยังใช้แอนดรอยด์เวอร์ชันเก่าอยู่ หากอัพเดทได้ ก็พยายามอัพเดทให้เป็นเวอร์ชันใหม่อยู่เสมอนะครับ มันไม่ใช่แค่เรื่องของการได้ฟีเจอร์ใหม่เพิ่มเข้ามา แต่มันรวมถึงระบบรักษาความปลอดภัยที่แข็งแกร่งขึ้นด้วย


ที่มา : www.makeuseof.com


0 9+%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%9C%E0%B8%A5+%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B9%8C%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99+Android+8.0+Oreo
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
ระดับผู้ใช้ : Admin    Thaiware
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ
 
 
 

ทิปส์ไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1
15 สิงหาคม 2564 16:43:03 (IP 1.46.18.xxx)
GUEST
Comment Bubble Triangle
Johnson
สุดยอด