ถ้าพูดถึงการสำรองข้อมูล (Data Backup) และ การกู้ข้อมูล (Data Recovery) นอกจากต้องให้ความสำคัญกับบริการที่เลือกใช้ และ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแล้ว พื้นฐานอีกอย่างก็คือการทำความเข้าใจเรื่องรูปแบบ และ ระดับของการสำรองเพราะหากผู้สำรองข้อมูลไม่วางแผนและใช้วิธีอย่างเหมาะสม ก็อาจทำให้เสียทั้งเงินและเวลา และสิ้นเปลืองพื้นที่ความจุของอุปกรณ์หรือบริการที่ใช้ไปโดยเปล่าประโยชน์ เลวร้ายที่สุดก็คือข้อมูลสำคัญขาดหายไป จนไม่สามารถเรียกคืนกลับมาได้เหมือนเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเหตุการณ์เหล่านั้นเกิดกับองค์กรธุรกิจ ผลกระทบก็จะกลายเป็นความสูญเสียที่ประเมินค่าไม่ได้เลยทีเดียว
บทความนี้ เราจะมาพูดถึง รูปแบบการสำรองข้อมูล 3 ประเภทพื้นฐาน ที่ทุกคนควรทราบ โดยเฉพาะผู้ดูแลระบบขององค์กร เพื่อที่จะสามารถ เลือกและใช้วิธีสำรองข้อมูลได้อย่างเหมาะสม โดย 3 ประเภทนั้นประกอบไปด้วย Full Backup, Incremental Backup, Differential Backup
การสำรองข้อมูลแต่ละประเภทมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันอย่างไร ถ้าเป็นเราจะเลือกสำรองข้อมูลแบบไหนให้คุ้มค่า และได้ประโยชน์ที่สุด
การทำ Full Backup คือ "การสำรองข้อมูลทั้งหมด" จากบนไดรฟ์ที่เลือก ให้นึกถึงการใช้ระบบสำรองข้อมูลไฟล์บน Windows 10 ที่เราสามารถเลือก D:\ หรือ C:\ เพื่อสำรองลงบน ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) ในรูปแบบแบบพกพา (External Harddisk) หรือ แม้กระทั่งสำรองไปยัง ระบบการจัดเก็บข้อมูลบนคลาวด์ (Cloud Storage) ต่าง ๆ และไดรฟ์อื่น ๆ เป็นต้น
ข้อมูลเพิ่มเติม : Cloud Computing คืออะไร ? มีกี่ประเภท อะไรบ้าง ? และ มีข้อดีข้อเสีย อย่างไร ?
ข้อดีของการสำรองข้อมูลแบบ Full Backup คือสำเนาไฟล์จะถูกคัดลอกไปยังปลายทางและเก็บไว้อย่างถาวร จะไม่มีอะไรไปยุ่งอีก เป็นรูปแบบที่ทำให้สำรองข้อมูลง่ายและกู้คืนได้ง่าย เพียงแค่ดึงไฟล์ทั้งหมดกลับมาเหมือนตอนที่ทำสำเนาไว้ก็ได้แล้ว
ภาพจาก : https://www.handybackup.net/backup_articles/backup-type.shtml
แต่ข้อเสียของ Full Backup คือการใช้พื้นที่ความจุในการเก็บข้อมูลค่อนข้างเยอะ เพราะสำเนาไฟล์ที่เก็บไว้จะมีความซ้ำซ้อนกัน (พูดง่าย ๆ คือข้อมูลในแต่ละสำเนา จะเหมือนกันเสียส่วนใหญ่) ให้นึกตอนใช้โปรแกรมสำรองข้อมูลและตั้งเวลาสำรองไว้ทุกเดือน ไฟล์ที่ถูกทำสำเนาก็จะแบ่งเก็บเป็นไฟล์สำรองของ เดือนที่ 1 / เดือนที่ 2 / เดือนที่ 3 และจะขยายไปเรื่อย ๆ จนพื้นที่เต็มถ้าเราไม่ได้ไปลบ
นอกจากนี้แล้ว การสำรองข้อมูลแบบ Full Data ก็ยังใช้เวลาค่อนข้างนานเวลา Backup เพราะมันต้องเขียนข้อมูลใหม่ทุกรอบ
การทำ Incremental Backup คือ "การสำรองข้อมูลส่วนเพิ่ม" เป็นการสำรองข้อมูลเฉพาะไฟล์ หรือข้อมูล ที่มีการเปลี่ยนแปลงจาก Full Backup ล่าสุด" เช่น ไฟล์มีการถูกแก้ไข, เพิ่มข้อมูลใหม่ หรือ ขนาดของไฟล์เปลี่ยนไป ระบบ Incremental Backup ก็จะทำการสำรองข้อมูลไฟล์เหล่านั้นและสร้างเป็นสำเนาอีกชุดให้ ไม่ได้สำรองทั้งหมด
ข้อดีของการสำรองข้อมูลแบบ Incremental Backup คือ ความรวดเร็วในการสำรอง รวมถึงไม่เปลืองพื้นที่จัดเก็บข้อมูล แต่ข้อเสียคือเวลากู้ข้อมูลคืนจะค่อนข้างซับซ้อนและใช้เวลานานกว่าประเภทอื่น ๆ เนื่องจากระบบต้องประมวลผลแยกชุดข้อมูลที่กระจัดกระจายกันไป และดีไม่ดีหากมีไฟล์ของวันใดเสียหาย การกู้จะซับซ้อนกว่าเดิม และช้ามากขึ้น
ภาพจาก : https://www.handybackup.net/backup_articles/backup-type.shtml
ยกตัวอย่าง สมมติว่ามีการตั้งเวลาสำรองไฟล์ แบบ Incremental Backup ในวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ ตามภาพและปรากฏว่าไฟล์ในวันเสาร์มีปัญหา พอกู้ข้อมูลก็ไม่สามารถกู้จากของวันเสาร์ได้ ระบบก็จะต้องย้อนไปหาไฟล์ชนิดเดียวกันในวันศุกร์ หรือ วันพฤหัส เพื่อดึงข้อมูลในช่วงที่ยังสมบูรณ์กลับมา ดังนั้นกระบวนการกู้ข้อมูลของ Incremental Backup จึงถือว่าซับซ้อนมาก
การทำ Differential Backup เป็น "การสำรองข้อมูลเฉพาะส่วนที่แตกต่าง" ซึ่งจะมีความคล้ายกับ Incremental Backup คือยึดตามข้อมูลจาก Full Backup ครั้งล่าสุด และจากนั้นก็จะสำรองข้อมูล เฉพาะไฟล์ที่มีการเปลี่ยนแปลง หรือ เพิ่มเข้ามาใหม่เท่านั้น แต่ Differential Backup ต่างตรงที่ มันจะสำรองไฟล์ใหม่รอบต่อ ๆ ไป โดยดูจากสำเนา (Copy) ของวันก่อนหน้า และเข้าไปเพิ่มเติม
ตัวอย่างเช่น วันพฤหัสตั้งไว้ให้สำรองข้อมูลแบบ Full Backup จากนั้นก็ตั้งให้วันศุกร์, เสาร์ และ อาทิตย์ ทำการสำรองข้อมูลแบบ Differential Backup เมื่อไฟล์มีการเปลี่ยนแปลงในวันศุกร์ก็จะสำรองข้อมูล เหมือนกับ Incremental Backup และพอวันเสาร์หากไฟล์มีการเปลี่ยนแปลงอีก สำเนาของวันนั้น ก็จะกลายเป็นไฟล์ที่รวมของวันศุกร์ และ วันเสาร์เอาไว้ และ จะเพิ่มไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะมีการ Full Backup ครั้งต่อไป
ภาพจาก : https://www.handybackup.net/backup_articles/backup-type.shtml
ข้อดีของ Differential Backup คือใช้เวลาในการสำรองไม่นาน, ใช้เวลาในการกู้คืนรวดเร็วกว่า เพราะไม่ต้องประมวลข้อมูลแยกกันเหมือน Incremental Backup และใช้พื้นที่ประหยัดกว่า Full Backup (แต่ก็ยังเยอะกว่า Incremental Backup) พูดง่าย ๆ คือประสิทธิภาพโดยรวมจะอยู่ในระดับปานกลาง
ในส่วนของ ข้อควรระวังของ Differential Backup ก็มีเพียงอย่างเดียวคือ ให้ระวังไฟล์สำเนาจะใหญ่กว่าข้อมูลต้นฉบับ และหากไม่สลับมา Full Backup บ้าง กระบวนการสำรองแต่ละครั้งจะกินเวลานานขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยขนาดข้อมูลที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง
ประเภทของการ Backup | ข้อมูลที่ได้ | ความเร็ว Backup | ความเร็ว Restore | พื้นที่ความจุ |
Full Backup | ทั้งหมด | ช้า | เร็ว | ใช้พื้นที่เยอะ |
Incremental Backup | เฉพาะไฟล์ใหม่/ไฟล์ที่แก้ไข | เร็ว | ปานกลาง | ใช้พื้นที่น้อยสุด |
Differential Backup | ทุกไฟล์ที่เปลี่ยนแปลงจาก Full Backup ครั้งล่าสุด | ปานกลาง - ช้า | เร็ว | ใช้พื้นที่ปานกลาง |
การสำรองข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นคนทั่วไป หรือ องค์กร ถือเป็นสิ่งที่ต้องทำ เพราะยุคนี้การโจมตีทางไซเบอร์มาได้ทุกรูปแบบ และนอกจากจะต้องทำความเข้าใจเรื่องประเภทของการสำรองข้อมูลแล้ว การเลือกบริการ หรือ ใช้อุปกรณ์ที่ปลอดภัย หรือ มีประสิทธิภาพ ก็เป็นอีกสิ่งที่พึงปฏิบัติ แนะนำ บริการคลาวด์ออนไลน์ต่าง ๆ หรือ หากไม่ไว้ใจบริการเหล่านั้นจะลองใช้ NAS ก็น่าสนใจไม่แพ้กัน
ข้อมูลเพิ่มเติม : รีวิว Synology DS220+ แกดเจ็ตสำหรับคนยุคใหม่ที่อยากมีพ่อบ้านคลาวด์เก็บไฟล์ส่วนตัว
|
งานเขียนคืออาหาร ปลายปากกา ก็คือปลายตะหลิว |
ความคิดเห็นที่ 1
1 พฤศจิกายน 2564 00:23:39
|
||
GUEST |
vechay
แปลก/แต่จริง เรื่องการศึกษาและนำไปปฎิบัติขอขอบพระคุณข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์จากทีมงานทุกๆท่าน ข้าพเจ้ามีความปราถนาเรื่องการศึกษาฯเพื่อประโยชน์เยาวชนที่จำต้องดำเนินสู่สังคมที่ไม่อาจจะเปลี่ยนแปลงใดๆตามกรอบระเบียบ(การบังคับว่าด้วยถ้อยความของวลีที่แอบแผง)ข้าพเจ้าจึงจำเป็นที่ต้องศึกษาเท่าที่ความเป็นไปในปัจจุบัน ขอขอบพระคุณแทนเด็กและเยาวชนตลอดถึงข้าพเจ้าด้วยเทอญ |
|