การสำรองข้อมูล (Data Backup) เป็นเรื่องพื้นฐานที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ควรจะทำกันเป็นประจำอยู่แล้ว เพื่อไว้เวลาที่ฮาร์ดไดรฟ์เกิดมีปัญหา หรือถูก มัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware) โจมตี จะได้ลดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับข้อมูลสำคัญของเราได้ไปให้ได้มากที่สุด
วิธีสำรองข้อมูลก็มีอยู่หลายแนวทาง ทั้ง การสำรองข้อมูลแบบ ออฟไลน์ และ ออนไลน์ (Offline and Online Backup) รวมไปถึงการสำรองข้อมูลแบบ สำรองข้อมูลทั้งหมด (Full Backup), สำรองข้อมูลเฉพาะส่วนเพิ่ม (Incremental Backup) และ สำรองข้อมูลเฉพาะส่วนที่แตกต่าง (Differential Backup) หรืออะไรก็ว่าไป
ในบทความนี้เราจะมาแนะนำวิธีการสำรองข้อมูลด้วยการสร้างเป็นไฟล์ System Image Backup ขึ้นมาเลย ซึ่งเราสามารถใช้มันในการกู้คืนข้อมูลได้อย่างสมบูรณ์แบบ มีขั้นตอนการทำอย่างไร ? มาอ่านกัน
ในระบบปฏิบัติการ Windows ตัว System Image Backup จะเป็น "ไฟล์อิมเมจ (ไฟล์ .ISO)" ที่มีข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่ใน ไดรฟ์ C: ที่ประกอบไปด้วยข้อมูลของระบบปฏิบัติการ Windows, แอปพลิเคชัน และซอฟต์แวร์ทั้งหมดที่มีการติดตั้งเอาไว้, การตั้งค่า รวมไปถึงไฟล์ทั้งหมดที่มีในไดรฟ์ด้วย กล่าวได้ว่าเป็นการสำรองข้อมูลทั้งไดรฟ์รวมไว้เป็นก้อนเดียว เพื่อให้สะดวกต่อการนำไปใช้งาน
ถ้าเกิดไดรฟ์ระบบ (System Drive) เกิดมีปัญหาขึ้นมา เราสามารถนำไฟล์อิมเมจที่เราสร้างไว้มาคืนค่า (Restore) เพื่อทำให้ทั้งไดรฟ์กลับไปเป็นเหมือนเดิม โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows ใหม่, ลงโปรแกรมใหม่, ตั้งค่าใหม่ ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม การสำรองข้อมูลด้วยการสร้างอิมเมจไฟล์ด้วยข้อมูลทั้งไดรฟ์ หากมีไฟล์เยอะ ตัวอิมเมจไฟล์ก็จะใหญ่มาก ทำให้ใช้เวลาในการสร้างไฟล์นาน และเปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บ ดังนั้นการสำรองไฟล์ด้วยวิธีนี้ จึงไม่ใช่วิธีที่จะทำกันบ่อย เหมาะสำหรับคนที่ต้องการบันทึกค่าสถานะของตัวระบบปฏิบัติการ Windows ในขณะที่อยู่ในสถานะที่ต้องการเอาไว้
ในการสร้างไฟล์ System Image Backup บนระบบปฏิบัติการ Windows 11 เราสามารถใช้เครื่องมือเก่าแก่ที่ชื่อว่า "Backup and Restore (Windows 7)" ที่เป็นเครื่องมือที่มีมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการทุกเวอร์ชัน มาตั้งแต่ Windows 7 มาจนเวอร์ชันล่าสุดอย่าง Windows 11
และนี่ก็คือวิธีสำรองข้อมูลแบบ Copy ข้อมูลทั้งไดรฟ์ ก็ลองนำไปใช้สำรองข้อมูลกันดูนะ
|
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ |