เชื่อว่าหลายคนน่าจะมีประสบการณ์ที่แอปพลิเคชันโซเชียล เช่น เฟซบุ๊ก (Facebook) อินสตาแกรม (Instagram) ก็สามารถจัดสรรข้อมูลที่ต้องการมาได้อย่างตรงใจสุด ๆ บางคนอาจจะชอบ แต่บางคนก็อาจสงสัย เป็นแค่แอปพลิเคชัน แพลตฟอร์มโซเชียลแท้ ๆ รู้ใจเราได้อย่างไร ถ้าใครไม่ชอบหรือกลัวว่าข้อมูลส่วนตัว ความชอบ ความสนใจส่วนตัวจะหลุดรอดออกไปไหน ก็มี วิธีป้องกันไม่ให้แอปฯ เหล่านี้ดักฟังเสียง มาฝากกัน
การปิดระบบดักฟังเสียงของ อุปกรณ์ iOS ไม่ว่าจะเป็น iPhone หรือ iPad ก็คือ การปิดใช้งานไมโครโฟนในบางแอปพลิเคชัน ยกตัวอย่างแอปพลิเคชันที่เจอเหตุการณ์นี้ได้บ่อย ๆ ก็คือ Facebook ส่วนวิธีการนั้น ง่ายนิดเดียว
ส่วนการปิดระบบดักฟังเสียงของมือถือ แอนดรอยด์ ก็คือการปิดไมโครโฟนในแอปพลิเคชันที่ต้องการเช่นกัน แต่การปรับค่าของมือถือแอนดรอยด์จะไม่ได้อยู่ในแอปพลิเคชัน Facebook แต่จะอยู่ในเมนูการตั้งค่าของเครื่องนั้น ๆ แทน
วิธีนี้สามารถใช้งานร่วมกับแอปพลิเคชันอื่น ๆ ได้เช่นกัน แต่ขอให้เลือกปิดไมโครโฟนเฉพาะบางแอปฯ ที่สามารถส่งต่อข้อมูลไปยังหน่วยงานหรือแอปพลิเคชันอื่น ๆ ได้ ส่วนแอปพลิเคชันที่จำเป็นต้องใช้ไมโครโฟนหรือการอัดเสียงก็ไม่ต้องปิดไมค์ เช่น แอปพลิเคชันอัดเสียง ถ่ายวิดีโอ เป็นต้น
ถ้าใครสงสัยว่า แอปพลิเคชันฟังเสียงที่เราพูดคุยได้จริงหรือไม่ ? นั่นเกิดจากการที่ผู้ใช้ยินยอม (Permission) ให้แอปพลิเคชันนั้น ๆ เข้าถึงข้อมูลส่วนไหนบ้าง เช่น เข้าถึง พื้นที่จัดเก็บข้อมูลของตัวเครื่อง (Storage), เข้าถึงเมนูกล้องเพื่อถ่ายรูป, เข้าถึงรายชื่อผู้ติดต่อในเครื่อง เป็นต้น
ซึ่งถ้าแอปพลิเคชันไหน ที่เปิดใช้งานไมโครโฟน ตัวแอปฯ ก็จะทำการบันทึกเสียงไว้ นอกจากเป็นการเก็บข้อมูลผู้ใช้งานแล้ว บางแอปพลิเคชันยังใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อสำรวจพฤติกรรม ไปจนถึงการทำการตลาดร่วมกับแบรนด์ต่าง ๆ และส่งโฆษณาแบบตรงกลุ่มเป้าหมายที่สุดมาที่ผู้ใช้
ตัวอย่างการยินยอม (Permission) ของแอปพลิเคชันต่าง ๆ ซึ่งมีมากน้อยแตกต่างกันไป
นอกจากการฟังเสียงแล้ว แพลตฟอร์มต่าง ๆ ยังสำรวจข้อมูลผ่าน Keyword ที่เราใช้ค้นหาข้อมูล เช่น เมื่อเราพิมพ์สินค้าสักชิ้นหนึ่งใน Google Search Engine, Facebook, Instgram, แพลตฟอร์มและเว็บไซต์ชอปปิ้งออนไลน์ต่าง ๆ คำเหล่านี้จะถูกรวบรวมส่งเข้าระบบ เพื่อนำไปทำการตลาดแบบ Dynamic Remarketing กระตุ้นให้ผู้ใช้ต้องการสินค้านั้น ๆ มากขึ้น หากแพลตฟอร์มโซเชียลของแบรนด์สินค้านั้น ๆ ทำ Google Ads ร่วมด้วย
นี่เป็นเพียงตัวอย่างแอปพลิเคชันที่ต้องการให้ผู้ใช้ยินยอมเปิดไมโครโฟน ซึ่งบางแอปพลิเคชันมีความจำเป็นที่จะต้องใช้งาน เช่น กล้องถ่ายภาพและวิดีโอ เมนูอัดเสียง ฉะนั้น จะเลือกเปิดหรือปิดไมโครโฟน ขอให้พิจารณาแต่ละแอปพลิเคชัน เพราะบางแอปฯ สามารถนำข้อมูลผู้ใช้ไปกระทำการอื่น ๆ ได้อีกมากมาย แต่ข้อมูลเหล่านั้นจะเป็นประโยชน์หรือโทษต่อผู้ใช้ อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับเจ้าของแอปฯ และผู้พัฒนาแอปฯ ร่วมด้วย
|
Web Content Editor ท่านหนึ่ง นิยมการเล่นมือถือเป็นชีวิตจิตใจ |