ความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity) นั้นถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็ก, ขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ รวมไปถึงผู้ใช้งานทั่วไปด้วย เพราะถ้าหากข้อมูลธุรกิจที่เป็นความลับทางการค้า หรือจะเป็นข้อมูลส่วนบุคคลหลุดออกไป มักจะมีความเสียหายเกิดขึ้นตามมาอย่างแน่นอน
การถูกแฮกไม่ใช่เรื่องไกลตัว จากสถิติที่ผ่านมามีการโจมตีของแฮกเกอร์เกิดขึ้นทุก ๆ 39 วินาที และมีแนวโน้มถี่ขึ้นทุกปี โดยเป้าหมายหลักที่ แฮกเกอร์ (Hacker) เล็งก็จะเป็นธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม เพราะถ้าหากบริษัทไม่มีระบบป้องกันที่ดี หรือขาดความรู้ด้านไอทีก็มีสิทธิ์ตกเป็นเหยื่อได้ง่าย ๆ
หนึ่งในเครื่องมือป้องกันการโจมตีที่เป็นพื้นฐาน และปรับใช้ภายในองค์กรได้ง่ายที่สุดก็คือ โปรแกรมแอนตี้ไวรัส (Antivirus Software) แต่อันที่จริงมันมีซอฟต์แวร์อีกประเภทหนึ่งที่ชื่อคล้ายกันมาก นั่นก็คือซอฟต์แวร์แอนตี้มัลแวร์ (Antimalware Software) สองตัวนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร ในบทความนี้เราจะอธิบายให้อ่านกัน
ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ไวรัส (Virus) กับ มัลแวร์ (Malware) นั้นไม่เหมือนกัน
ไวรัสเป็นโค้ดที่สามารถทำซ้ำตัวเองได้เรื่อย ๆ เพื่อสร้างความเสียหายแก่คอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นการทำลายไฟล์ระบบ หรือลบข้อมูลภายในเครื่อง ในขณะที่มัลแวร์นั้น นิยามถึงซอฟต์แวร์อันตรายทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นโทรจัน (Trojans), สปายแวร์ (Spyware), หนอนคอมพิวเตอร์ หรือเวิร์ม (Worm), แอดแวร์ (Adware), มัลแวร์เรียกค่าไถ่ หรือ แรนซัมแวร์ (Ransomware) ฯลฯ ซึ่งไวรัสก็เป็นส่วนหนึ่งของมัลแวร์ด้วยเช่นกัน
สรุปง่าย ๆ ว่า ไวรัสทุกตัวเป็นมัลแวร์ แต่มัลแวร์อาจจะไม่ใช่ไวรัสก็ได้
แต่เนื่องจากไวรัสเป็นภัยคุกคามที่มีมาอย่างยาวนาน และปัจจุบันนี้ก็ยังมีอยู่ แต่ทุกวันนี้แฮกเกอร์ก็ไม่นิยมใช้งานมันในการโจมตี นั่นเป็นเหตุผลว่าบริษัทผู้พัฒนาโปรแกรมแอนตี้ไวรัส ต้องพยายามพัฒนาซอฟต์แวร์ให้สามารถต่อสู้กับมัลแวร์ได้ด้วย ไม่ได้จำกัดแค่ไวรัสเหมือนในอดีต เราสามารถสังเกตเห็นได้ว่าโปรแกรมแอนตี้ไวรัสในยุคนี้ นอกเหนือจากการตรวจจับไวรัสแล้ว มันยังสามารถรับมือกับเวิร์ม, เครื่องมือดักจับการพิมพ์บนคีย์บอร์ด (Keylogger), รูตคิต (Rootkit) ฯลฯ ได้ด้วย
ไวรัสคอมพิวเตอร์โจมตีด้วยการแพร่กระจายตัวมันเองจากอุปกรณ์หนึ่ง ไปยังอีกอุปกรณ์หนึ่งด้วยการทำซ้ำตัวเองไปเรื่อย ๆ ผ่านไฟล์ของ โปรแกรมแอนตี้ไวรัส ก็จะตรวจจับไวรัสโดยใช้เทคนิคแบบ Signature-based ในการจับคู่รูปแบบไฟล์กับฐานข้อมูลของมัลแวร์ที่มีอยู่
ส่วนซอฟต์แวร์แอนตี้มัลแวร์จะใช้เทคนิคแบบ Heuristic-based ซึ่งเป็นการวิเคราะห์พฤติกรรมการทำงานของไฟล์ หากมันมีความพยายามทำอะไรที่รุกล้ำเกินหน้าที่ หรือคล้ายคลึงกับพฤติกรรมของมัลแวร์ตัวอื่น ๆ ที่มีอยู่ในฐานข้อมูล มันก็จะตัดสินได้ทันทีว่ามันเป็นไฟล์อันตรายแม้จะไม่มีข้อมูลของไฟล์ดังกล่าวอยู่ในฐานข้อมูลก็ตาม
คำถามคือ แล้วทำไมบรรดาบริษัทผู้พัฒนาโปรแกรมแอนตี้ไวรัส ถึงยังเรียกผลิตภัณฑ์ของตัวเองว่า "แอนตี้ไวรัส" สาเหตุก็มาจากในอดีตมัลแวร์ที่สร้างชื่อเสีย(ง) เอาไว้มากที่สุดคือไวรัส ในการต่อสู้กับไวรัสทำให้ทีม "แอนตี้ไวรัส" ถูกสร้างขึ้นมา และคำนี้ก็ถูกใช้ในการทำตลาดมาโดยตลอด ทำให้คนส่วนใหญ่คุ้นเคยกับคำนั้นไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่วนคำว่า "มัลแวร์" นั้น บางคนไม่รู้จักมันด้วยซ้ำไป
ไวรัส
| มัลแวร์
|
สำหรับ โปรแกรมแอนตี้ไวรัส (Antivirus Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่เดิมทีถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อป้องกันคอมพิวเตอร์จากการโจมตีของไวรัสตามชื่อของมันเลย อย่างไรก็ตาม เมื่อมัลแวร์ประเภทอื่น ๆ เริ่มแพร่หลายมากขึ้น ตัวโปรแกรมแอนตี้ไวรัส จึงมีการพัฒนาให้สามารถปกป้องการโจมตีจากมัลแวร์ต่าง ๆ ได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นโทรจัน, คีย์ล็อกเกอร์, รูทคิท, แบ็คดอร์, ฟิชชิ่ง หรือบอทเน็ต
บ่อยครั้งที่แอนตี้ไวรัส ถูกเรียกว่าแอนตี้มัลแวร์ โดยคนส่วนใหญ่เข้าใจว่าสองคำนี้สามารถใช้งานแทนกันได้ เพราะคิดว่าโปรแกรมแอนตี้ไวรัส สามารถป้องกันมัลแวร์ได้ทุกประเภท ซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจผิด มันป้องกันมัลแวร์ได้เพียงบางประเภทเท่านั้น และไม่สามารถป้องกันมัลแวร์ที่มีความซับซ้อนได้อย่างที่ซอฟต์แวร์แอนตี้มัลแวร์สามารถทำได้ด้วย
สามารถสแกนไวรัสโดยทำงานอยู่เบื้องหลังได้ และสแกนไฟล์ หรือโปรแกรมในตอนที่มันถูกเปิดใช้งานเป็นครั้งแรก โปรแกรมแอนตี้ไวรัสส่วนใหญ่ จะสามารถทำงานแบบเรียลไทม์ เพื่อตรวจจับไฟล์ที่มีอันตรายได้อย่างรวดเร็ว
ปิดกั้นไฟล์สคริปต์ที่อันตราย และป้องกันไม่ให้ทำงานได้ ทั้งสคริปต์ที่อยู่ส่งผลกระทบต่อการทำงานแบบออนไลน์ หรือออฟไลน์ เพื่อป้องกันอันตรายจากมัลแวร์
การวิเคราะห์พฤติกรรม เป็นวิธีที่ โปรแกรมแอนตี้ไวรัสนิยมใช้ในการตรวจจับไวรัสที่ไม่รู้จัก หรือไม่มีอยู่ในฐานข้อมูลมาก่อน
ไวรัส และมัลแวร์มีการพัฒนาทุกวัน ตัวซอฟต์แวร์จึงควรสามารถอัปเดตการทำงาน และฐานข้อมูลให้ทันเหตุการณ์ได้อย่างสม่ำเสมอ
เป็นคุณสมบัติที่สำคัญมาก เพราะมัลแวร์หลายตัวที่สามารถสร้างความเสียหายให้กับคอมพิวเตอร์ของคุณได้ อย่างไรก็ตาม โปรแกรมแอนตี้ไวรัส แบบฟรีส่วนใหญ่ จะสามารถตรวจเจอ และปิดกั้นการทำงานของมัลแวร์ได้ แต่ไม่สามารถลบมันทิ้งได้ นอกจากจะจ่ายเงินซื้อเวอร์ชันเต็มมาใช้งาน หรือไม่ก็ต้องดาวน์โหลดซอฟต์แวร์พิเศษที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อจัดการมัลแวร์บางชนิดโดยเฉพาะ
ทุกครั้งที่สแกนไฟล์ เนื้อหาจะถูกเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลมัลแวร์ที่ โปรแกรมแอนตี้ไวรัสมีอยู่
จากเหตุการณ์เรียกค่าไถ่ไฟล์ครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นหลายครั้ง ทำให้มันกลายเป็นคุณสมบัติหลักที่ โปรแกรมแอนตี้ไวรัสส่วนใหญ่ ใส่เข้ามาให้ เพื่อป้องกันไม่ให้ไฟล์สำคัญของคุณถูกจับเข้ารหัสเป็นตัวประกัน
โปรแกรมแอนตี้ไวรัสในปัจจุบันนี้ มักจะมีเครื่องมือป้องกันการฟิชชิ่ง, สแกนหาช่องโหว่, ป้องกันการโจมตีผ่านเว็บเบราว์เซอร์ และปรับแต่งระบบให้ปลอดภัย ใส่เข้ามาให้ด้วย
สำหรับ โปรแกรมแอนตี้มัลแวร์ (Antimalware Software) จะนิยามถึงซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยที่มีขอบเขตการทำงานกว้างกว่าแอนตี้ซอฟต์แวร์ อย่างเช่น แอนตี้สปายแวร์ (Anti-Spyware), แอนตี้ฟิชชิ่ง (Anti-Phishing), แอนตี้สแปม (Anti-Spam) ฯลฯ
โดยที่ตัวซอฟต์แวร์จะให้ความสำคัญกับมัลแวร์ที่มีการทำงานซับซ้อนเป็นพิเศษ อย่างเช่น มัลแวร์ Zero-day ที่อาศัยช่องโหว่ที่ไม่เคยถูกค้นพบมาก่อนในการโจมตี ซึ่งโปรแกรมแอนตี้ไวรัส ที่ไม่รู้จักมาก่อน
จากทั้งหมดที่เราได้กล่าวมาข้างต้น ก็จะสามารถสรุปความแตกต่างระหว่างแอนตี้ไวรัส และแอนตี้มัลแวร์ ออกมาได้ดังนี้
แอนตี้ไวรัส | แอนตี้มัลแวร์ | |
นิยาม | ซอฟต์แวร์ป้องกันคอมพิวเตอร์จากไวรัส | ซอฟต์แวร์ป้องกันคอมพิวเตอร์จากมัลแวร์ |
การป้องกัน | ไวรัส และมัลแวร์บางชนิด | มัลแวร์ทุกชนิด รวมถึงตัวที่ใหม่ และซับซ้อน |
การตรวจจับ | ตรวจจับ และทำลาย ไวรัสกับมัลแวร์บางชนิด | ตรวจจับ และทำลายมัลแวร์ทุกชนิด รวมถึงไวรัส |
อัปเดตกฏ | ไม่บ่อยครั้ง | เป็นประจำ เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจจับ |
ภัยอันตราย | ป้องกันภัยที่คาดเดาได้ | ป้องกันภัยที่คาดเดาไม่ได้ |
การใช้งาน | นิยมใช้ใน เครื่อง PC ตามบ้าน | นิยมใช้ใน PC ของบริษัท หรือองค์กร |
ราคา | ไม่แพง | ค่อนข้างสูง |
คุณสมบัติ | ตรวจจับแบบเรียลไทม์ ลบไฟล์อันตราย | แซนด์บอกซ์ |
การรองรับ | รองรับอุปกรณ์ส่วนใหญ่ | ต้องการฮาร์ดแวร์ที่มีความเฉพาะเจาะจง |
ความเชื่อมั่น | พอประมาณ ไม่สามารถรับมือการโจมตีที่ซับซ้อนได้ | ค่อนข้างปลอดภัย |
สำหรับซอฟต์แวร์ทั้งสองประเภทนี้ สามารถทำงานร่วมกันได้ โดยไม่ขัดแย้งกัน และมันก็ไม่ได้แย่งหน้าที่กันทำงานด้วย มันออกแบบมาให้เติมเต็มส่วนที่ขาดให้กัน และกันมากกว่า
ดังนั้นผู้ใช้ หรือองค์กรที่ให้ความสำคัญกับระบบรักษาความปลอดภัย แนะนำว่าควรใช้งานทั้งแอนตี้ไวรัส และแอนตี้มัลแวร์ร่วมกัน เพราะการพึ่งพา "โล่" เพียงอันเดียว คงไม่สามารถรับมือกับภัยอันตรายที่มีอยู่รอบด้านได้
|
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ |