ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
THAIWARE.COM | ทิปส์ไอที
 

วิธีแก้ปัญหา The User Profile Service Failed the Sign-in ใน Windows 10

วิธีแก้ปัญหา The User Profile Service Failed the Sign-in ใน Windows 10
ภาพจาก : https://www.freepik.com/free-psd/digital-device-mockup_4264999.htm
เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 54,177
เขียนโดย :
0 %E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2+The+User+Profile+Service+Failed+the+Sign-in+%E0%B9%83%E0%B8%99+Windows+10
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

วิธีแก้ปัญหา "The User Profile Service failed the sign-in.
User profile cannot be loaded." ในระบบปฏิบัติการ Windows 10

ถ้าระบบปฏิบัติการ Windows จะเกิดปัญหาในการทำงานขึ้นมา ส่วนใหญ่มันก็จะเกิดขึ้นหลังจากที่ผู้ใช้ได้เข้าสู่ระบบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ปัญหาการแจ้งข้อผิดพลาดว่า

บทความเกี่ยวกับ Microsoft อื่นๆ

"The User Profile Service service failed the sign-in. User profile cannot be loaded."

เป็นปัญหาที่จะทำให้คุณไม่สามารถเข้าสู่ระบบเพื่อใช้งาน ระบบปฏิบัติการ Windows ได้เลย จึงทำให้ปัญหานี้ เป็นปัญหาที่ค่อนข้างจะแก้ไขได้ยุ่งยากกว่าปัญหาอื่น ๆ ของระบบปฏิบัติการ Windows

อย่างไรก็ตาม ไม่ต้องกังวลไป หากคุณเจอปัญหานี้อยู่ ในบทความนี้จะมาแนะนำวิธีแก้ปัญหา "The User Profile Service service failed the sign-in. User profile cannot be loaded." ให้ทราบกัน

เนื้อหาภายในบทความ

  1. บูตเข้าระบบปฏิบัติการ Windows ใน Safe Mode
  2. ใช้คำสั่ง SFC เพื่อสแกนตรวจสอบ และแก้ไขไฟล์ระบบที่เสียหาย
  3. ใช้เครื่องมือ System Restore ย้อนเวลากลับไปก่อนที่ระบบจะมีปัญหา
  4. ตรวจสอบสถานะของ User Profile Services
  5. แก้ไขค่าของรีจิสทรี (Registry) ของ Windows

1. บูตเข้าระบบปฏิบัติการ Windows ใน Safe Mode

สิ่งแรกที่เราต้องทำก็คือการบูตเข้า ระบบปฏิบัติการ Windows ใน Safe Mode นะครับ เพราะเมื่อเราเข้าระบบไม่ได้ เราก็แทบจะทำอะไรเพื่อแก้ไขปัญหาไม่ได้เลย แต่ถ้าเป็นใน Safe Mode เราจะเข้าใช้งานได้โดยไม่ต้องเข้าระบบครับ

อ่านบทความ Safe Mode คืออะไร ?

อ่านบทความ วิธีเข้า Safe Mode แบบง่าย ๆ บน Windows ทุกเวอร์ชัน

วิธีบูตเข้าระบบปฏิบัติการ Windows ใน Safe Mode

  1. เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ตามปกติ
  2. เมื่ออยู่ในหน้า Sign-In ให้กด "ปุ่ม Shift" บนคีย์บอร์ดค้างเอาไว้แล้ว แล้วคลิกที่ "ปุ่ม Power" ที่อยู่บริเวณมุมขวาล่างของหน้าจอ เลือก "เมนู Restart"

เข้าระบบปฏิบัติการ Windows ใน Safe Mode

  1. คอมพิวเตอร์ของเราจะรีสตาร์ท และบูตเข้าสู่หน้าจอสีฟ้าที่มีตัวเลือก Continue, Use a device, Troubleshoot และ Turn off your PC
  2. ให้คลิกเลือก "เมนู Troubelshoot" ครับ

เข้าระบบปฏิบัติการ Windows ใน Safe Mode
ภาพจาก : https://www.makeuseof.com/fix-the-user-profile-service-failed-the-logon-windows-10/

  1. จากนั้นเราจะเข้าสู่หน้าจอ Advanced Options
  2. คลิก "เมนู Startup Settings" แล้วคลิก "ปุ่ม Restart"

เข้าระบบปฏิบัติการ Windows ใน Safe Mode
ภาพจาก : https://www.androidauthority.com/how-to-boot-in-windows-10-safe-mode-974576/

  1. เมื่อคอมพิวเตอร์รีบูตขึ้นมาใหม่ จะมีตัวเลือกว่าต้องการบูตแบบไหน ให้เราเลือก "Safe Mode with Networking" (เลือกด้วยการกด "ปุ่ม Function" บนคีย์บอร์ด)

เข้าระบบปฏิบัติการ Windows ใน Safe Mode
ภาพจาก : ภาพจาก : https://www.androidauthority.com/how-to-boot-in-windows-10-safe-mode-974576/

  1. จากนั้นคอมพิวเตอร์ของเราก็รีบูตเข้าสู่ Safe Mode แล้วครับ

เข้าระบบปฏิบัติการ Windows ใน Safe Mode

ถ้าเข้าไปถึงหน้าจอ Sign-in ไม่ได้

ในกรณีที่อาการหนัก เข้าไปยังหน้าจอ Sign-in ไม่ได้ อย่าเพิ่งถอดใจ ลองทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ก่อน

  1. กด "ปุ่ม Power" ค้างไว้จนกว่าคอมพิวเตอร์จะปิดเครื่องลง
  2. กดเปิดคอมพิวเตอร์อีกครั้ง ทันทีที่ระบบเริ่มบูต เห็นโลโก้ผู้ผลิตแสดงบนหน้าจอ ให้รีบกด "ปุ่ม Power" ค้างไว้จนกว่าคอมพิวเตอร์จะปิดเครื่องอีกครั้ง
  3. ทำซ้ำไปเรื่อย ๆ  ประมาณ 2-3 ครั้ง คอมพิวเตอร์ของคุณจะบูตเข้าสู่หน้าจอ Windows Recovery Environment (winRE)
  4. จากนั้นคลิกเข้า "เมนู Troubleshoot" แล้วทำตามขั้นตอนที่กล่าวไว้ข้างต้นได้เลย

2. ใช้คำสั่ง SFC เพื่อสแกนตรวจสอบ และแก้ไขไฟล์ระบบที่เสียหาย

สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา "The User Profile Service service failed the sign-in. User profile cannot be loaded." มักจะมาจากปัญหาของไฟล์ระบบ ที่เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ 

ซึ่งปัญหาไฟล์ระบบเสียหาย เราสามารถแก้ไขได้ง่าย ๆ ด้วยเครื่องมือ System File Checker (SFC) ที่มีอยู่ในระบบปฏิบัติการ Windows อยู่แล้ว ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

  1. เข้าใช้งานระบบปฏิบัติการ Windows ใน Safe Mode
  2. คลิก "ปุ่ม Start" พิมพ์เพื่อค้นหาลงไปว่า "cmd" คลิกเลือก "Command Prompt" ที่ปรากฏขึ้นมา โดยเลือก "Run as administrator"
  3. พิมพ์คำสั่ง "sfc /scannow" แล้วกด "ปุ่ม Enter"
  4. จากนั้นระบบปฏิบัติการ Windows จะเริ่มสแกนตรวจสอบไฟล์ระบบ หากพบไฟล์ที่เสียหาย มันก็จะทำการแก้ไข และซ่อมแซมให้ทันที ซึ่งมันอาจจะใช้เวลาในการทำงานนานพอสมควรนะครับ ปล่อยทิ้งไว้ อย่าเพิ่งปิด "หน้าต่าง Command Prompt" ไปก่อนล่ะ
  5. เมื่อมันสแกนเสร็จ ให้รีบูตคอมพิวเตอร์ตามปกติ แล้วเข้าระบบดูอีกครั้ง

ใช้คำสั่ง SFC เพื่อสแกนตรวจสอบ และแก้ไขไฟล์ระบบที่เสียหาย

3. ใช้เครื่องมือ System Restore ย้อนเวลากลับไปก่อนที่ระบบจะมีปัญหา

ในระบบปฏิบัติการ Windows มีคุณสมบัติ "System Restore" ให้ใช้งาน มันมีความสามารถในการย้อนสถานะเครื่องกลับไปยังช่วงเวลาก่อนหน้านี้ที่ถูกบันทึกเอาไว้ได้

อย่างไรก็ตาม วิธีการนี้ คือ คุณจำเป็นต้องมีการบันทึกจุด Restore เอาไว้ก่อนด้วย ซึ่งถ้าคุณเคยบันทึกเอาไว้ ก็จะสามารถย้อนสถานะเครื่องกลับไปช่วงที่คอมพิวเตอร์ของคุณจะเกิดปัญหาได้ ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

  • เข้าใช้งานระบบปฏิบัติการ Windows ใน Safe Mode
  • กด "ปุ่ม Windows+R" บนคีย์บอร์ดเพื่อเปิดโปรแกรม Run
  • พิมพ์ลงไปใน "ช่อง Open" ว่า "rstrui.exe" แล้วกด "ปุ่ม Enter"
  • หน้าต่าง System Restore จะปรากฏขึ้นมา ให้เราคลิก "ปุ่ม Next"
  • เลือกจุดช่วงเวลาที่เราต้องการย้อนกลับไป จากรายการที่มีให้เลือก แล้วคลิก "ปุ่ม Next"
  • ตรวจสอบความถูกต้อง หากไม่แก้ไขอะไร คลิก "ปุ่ม Finish"
  • ระบบจะเริ่มทำการย้อนสถานะเครื่องกลับไปยังเวลาที่กำหนด จากนั้นปัญหาก็จะหายไปด้วยโดยปริยาย

ใช้เครื่องมือ System Restore ย้อนเวลากลับไปก่อนที่ระบบจะมีปัญหา

4. ตรวจสอบสถานะของ User Profile Services

โปรไฟล์ของผู้ใช้งาน (User Profile) ก็จัดเป็น Services ตัวหนึ่งของระบบปฏิบัติการ Windows นะครับ บางทีมันอาจจะถูกเปลี่ยนการตั้งค่าไปจากสาเหตุบางอย่าง ให้เราลองไปตรวจสอบสถานะการทำงานของมันด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

  • เข้าใช้งานระบบปฏิบัติการ Windows ใน Safe Mode
  • กด "ปุ่ม Windows+R" บนคีย์บอร์ดเพื่อเปิดโปรแกรม Run
  • พิมพ์ลงไปใน "ช่อง Open" ว่า "services.msc" แล้วกด "ปุ่ม Enter"
  • มองหา "User Profile Service" แล้ว "คลิกขวา" ที่มันเลือก "เมนู Start"
  • "คลิกขวา" ที่ "User Profile Service" อีกครั้ง เลือก "เมนู Properties"
  • "หน้าต่าง Registry Editor" จะปรากฏขึ้นมา ให้เราไปที่ตำแหน่ง ตรวจสอบว่าตรง Startup Type ถูกตั้งค่าไว้เป็น Automatic ถ้าไม่ใช่ก็ให้ตั้งค่าเป็น Automatic
  • คลิก "ปุ่ม Apply"
  • ลองรีบูตแล้ว Sign-in ดูอีกครั้ง

ตรวจสอบสถานะของ User Profile Services

หากเปลี่ยนการตั้งค่าไม่ได้ ให้ลองทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้แทนครับ

  1. เข้าใช้งานระบบปฏิบัติการ Windows ใน Safe Mode
  2. คลิก "ปุ่ม Start" พิมพ์เพื่อค้นหาลงไปว่า "cmd" คลิกเลือก "Command Prompt" ที่ปรากฏขึ้นมา โดยเลือก "Run as administrator"
  3. พิมพ์คำสั่ง "sc config ProfSvc start= auto" แล้วกด "ปุ่ม Enter"
  4. ตามด้วยคำสั่ง "sc start ProfSvc" แล้วกด "ปุ่ม Enter"
  5. ปิด "หน้าต่าง Command Prompt" แล้วรีบูตคอมพิวเตอร์เพื่อเข้าระบบดูอีกครั้ง

ตรวจสอบสถานะของ User Profile Services

5. แก้ไขค่าของรีจิสทรี (Registry) ของ Windows

วิธีนี้เป็นการเข้าไปแก้ไขค่าไฟล์รีจิสทรี (Registry) ของระบบโดยตรง ถ้าไม่มั่นใจ หรือไม่เข้าใจ ควรอ่านขั้นตอนการทำให้ละเอียดก่อนนะครับ และควรสำรองข้อมูลเอาไว้ก่อนด้วยก็ดี เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจไม่คาดฝัน

ถ้าพร้อมแล้วล่ะก็ เชิญอ่านขั้นตอนการทำได้เลยครับ

  1. เข้าใช้งานระบบปฏิบัติการ Windows ใน Safe Mode
  2. กด "ปุ่ม Windows+R" บนคีย์บอร์ดเพื่อเปิดโปรแกรม Run
  3. พิมพ์ลงไปใน "ช่อง Open" ว่า "regedit" แล้วกด "ปุ่ม Enter" ไปที่ตำแหน่ง
    HKEY_LOCAL_MACHINE\Software\Microsoft\Windows NT\Current Version\Profile List
  4. จะมีโฟลเดอร์ S-1-5 อยู่หลายตัว ให้เราตรวจสอบไฟล์ที่ชื่อว่า "ProfileImagePath" ไล่ไปทีละโฟลเดอร์ ด้วยการดับเบิลคลิก แล้วดูใน "ช่อง Value data" ว่าช่องไหนที่มีชื่อใกล้เคียงกับบัญชีผู้ใช้ของคุณ
  5. ถ้าเจอไฟล์ชื่อเดียวกัน 2 ไฟล์ แต่อันหนึ่งมี .bak หรือ .ba ต่อท้ายชื่อไฟล์ ให้ "คลิกขวา" ที่ไฟล์ แล้วเลือก "Rename" ลบ .bak หรือ .ba ออก ส่วนอีกไฟล์ ก็เติม .bak หรือ .ba เข้าไปแทน

แก้ไขค่าของรีจิสทรี (Registry) ของ Windows

  1. ถ้ามั่นใจว่าโฟลเดอร์ S-1-5 อันนี้แหละ ที่เป็นของบัญชีที่เราใช้งานอยู่แล้ว ให้ "ดับเบิลคลิก" ที่ไฟล์ State แล้วเปลี่ยนค่าในช่อง "Value data" ให้เป็น "0" แล้วคลิก "ปุ่ม OK"

แก้ไขค่าของรีจิสทรี (Registry) ของ Windows

  1. ในโฟลเดอร์เดิม ให้ "ดับเบิลคลิก" ที่ RefCount แล้วเปลี่ยนค่า "Value data" ให้เป็น "0" แล้วคลิก "ปุ่ม OK"
    กรณีที่ไม่มีไฟล์ RefCount อยู่ ให้เรา "คลิกขวา" ที่พื้นที่ว่าง เลือก "New" ตามด้วย "DWORD (32 bit) Value" ตั้งชื่อว่า "RefCount" แล้วตั้งค่า "Value data" ให้เป็น "0"
  2. ปิด โปรแกรม Registry Editor แล้วรีบูตคอมพิวเตอร์

หวังว่าจะมีวิธีใดวิธีหนึ่งในบทความนี้ ที่สามารถช่วยแก้ไขปัญหา "The User Profile Service failed sign-in. The User Profile cannot be loaded." ให้คุณผู้อ่านได้นะครับ


ที่มา : www.makeuseof.com , answers.microsoft.com , www.easeus.com

0 %E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2+The+User+Profile+Service+Failed+the+Sign-in+%E0%B9%83%E0%B8%99+Windows+10
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
ระดับผู้ใช้ : Admin    Thaiware
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ
 
 
 

ทิปส์ไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1
29 มกราคม 2566 17:40:55 (IP 223.206.218.xxx)
GUEST
Comment Bubble Triangle
galahad
ขอบคุณสำหรับบทความครับ