ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
THAIWARE.COM | ทิปส์ไอที
 

รถยนต์สามารถวิ่งด้วย "แอลกอฮอล์" ได้หรือไม่ ? ถ้าหากเติมเหล้าขาวลงไปจะเป็นอย่างไร ?

รถยนต์สามารถวิ่งด้วย

เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 7,202
เขียนโดย :
0 %E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2+%22%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%AE%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B9%8C%22+%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88+%3F+%E0%B8%96%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3+%3F
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

รถยนต์สามารถวิ่งด้วย "แอลกอฮอล์" ได้หรือไม่ หรือหากเติมเหล้าขาวลงไปจะเป็นอย่างไร ?

คุณอาจเคยทราบมาว่า แอลกอฮอล์ (Alcohol) นั้นถูกใช้เป็นเชื้อเพลิงให้กับรถยนต์ได้เหมือนกับน้ำมัน แต่นั่นเป็นความจริงหรือไม่ ? แล้วถ้าเกิดว่าจริง บางคนมีความเชื่อว่าจะสามารถ เติมเหล้า หรือ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ลงไปในถังน้ำมัน และรถจะวิ่งต่อไปได้ในยามฉุกเฉิน "นั่นคือ เรื่องจริง หรือ แค่ความเชื่อผิด ๆ กันแน่ ?" บทความนี้เราจะมาหาคำตอบกัน

บทความเกี่ยวกับ รถยนต์ อื่นๆ

เนื้อหาภายในบทความ

รู้จักกับ เอทานอลแอลกอฮอล์ ที่อยู่ในเครื่องดื่ม
(What is Ethanol Alcohol in Drinks ?)

รู้จักกับ เอทานอลแอลกอฮอล์ ที่อยู่ในเครื่องดื่ม (What is Ethanol Alcohol in Drinks ?)

โดยทั่วไป แอลกอฮอล์ที่ผสมอยู่ในเหล้าสุรา หรือ เบียร์ ต่าง ๆ ที่จริงมันมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า " เอทิลแอลกอฮอล์ (Ethyl Alcohol)" หรือต่อไปนี้ขอเรียกว่า "เอทานอล (Ethanol)" ซึ่งสารประกอบนี้ เกิดขึ้นจากการหมัก หรือการกลั่นด้วยพืชผลทางการเกษตรประเภทแป้ง และน้ำตาล แน่นอนว่าส่วนมากก็จะนำมาบ่มทำสุรา เพื่อให้คุณดื่มปาร์ตี้ และมึนเมากันไป

และสำหรับมนุษย์เราที่ดื่มกิน เอทานอลกันมาหลายร้อยปี เพราะมันไม่มีพิษภัย แต่นอกจากบทบาทนั้นแล้ว แอลกอฮอล์ชนิดนี้ ยังมีบทบาทสำคัญต่ออุตสาหกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น ในวงการเครื่องสำอาง, วงการการแพทย์ รวมถึง "เชื้อเพลิงรถยนต์" อีกด้วยเช่นกัน

เอทานอลแอลกอฮอล์ สามารถทำให้รถยนต์ วิ่งได้จริงหรือ ?
(Can Ethanol Alcohol powered the Vehicle ?)

การนำ เอทานอล มาใช้ในอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงรถยนต์ ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ แต่คุณสมบัติของเอทานอลจะต้องมีความบริสุทธิ์ถึง 99.5 % โดยหากพูดถึงน้ำมันแก๊ซโซฮอล์ คุณก็จะเข้าใจ เพราะน้ำมันแก๊ซโซฮอล์ ที่เราใช้งานกันก็คือ น้ำมันเบนซินที่ผสมกับเอทานอล เช่น แก๊ซโซฮอล์ 95, 91 (E20) หรือ แก๊ซโซฮอล์ 95, 91 (E85) โดยชื่อ E20 หรือ E85 นั้นหมายหมายถึง น้ำมันที่มีส่วนผสมของ เอทานอล 20 % หรือ 85 % นั่นเอง 

เอทานอลแอลกอฮอล์ สามารถทำให้รถยนต์ วิ่งได้จริงหรือ ? (Can Ethanol Alcohol powered the Vehicle ?)

การนำ เอทานอล มาใช้เป็นเชื้อเพลิงรถยนต์ สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซไฮโดรคาร์บอน และก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ ทำให้การใช้รถเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นกว่าน้ำมันปกติ แถมการผสมเอทานอลยังช่วยลดปริมาณการใช้น้ำมันด้วยคุณสมบัติที่เผาไหม้ได้เช่นเดียวกัน บวกกับประโยชน์ในการเพิ่มค่าออกเทนให้สูงแทนการใช้สาร MTBE (Methyl Tertiary Butyl Ether) ทำให้เชื้อเพลิงมีความเสถียร ไม่เผาไหม้รุนแรงเกินไป

ในขณะเดียวกันถ้าหากมีการใช้เอทานอลในปริมาณมาก ผลเสียก็มีเหมือนกัน เพราะคุณสมบัติที่เผาไหม้ช้าทำให้ไม่เหมาะกับการสตาร์ทเครื่องยนต์ขณะมีความเย็น (Cold Start) หรือเวลาคุณไม่ได้ใช้งานรถนาน ๆ แถมแอลกอฮอล์ก็มีฤทธิ์กัดกร่อนโลหะ สิ่งเหล่านี้จะทำให้ระบบเชื้อเพลิงของรถสึกกร่อนเร็วขึ้น

แต่ปัญหาปัจจุบัน ถูกแก้ไขได้โดยการดัดแปลงเครื่องยนตร์นิดหน่อย คุณอาจรู้จักในชื่อคุณสมบัติ "Flexible Fuel Vehicle" หรือรถที่มีการออกแบบให้รองรับการใช้น้ำมันผสมเอทานอลได้นั่นเอง ซึ่งถ้าหากถามว่าต้องการดัดแปลงให้ใช้ เอทานอล เป็นเชื้อเพลิงได้ 100 % สามารถทำได้ไหม ก็คงต้องตอบว่าได้ (ในวงการรถแข่งสามารถพบเจอได้)

เอทานอลแอลกอฮอล์ สามารถทำให้รถยนต์ วิ่งได้จริงหรือ ? (Can Ethanol Alcohol powered the Vehicle ?)

แต่ ปัจจุบันรถยนต์ทั่วไป ยังไม่มีการดัดแปลงให้ใช้เอทานอลเป็นเชื้อเพลิงได้ 100 % คุณสมบัติ Flexible Fuel Vehicle บนรถบางรุ่นก็รองรับได้สูงสุดแค่ 85 % เท่านั้น เหมือนกับน้ำมันแก๊ซโซฮอล์ 95,91 (E85) ที่มีการผลิตให้ใช้กันอยู่ และเมื่อเทียบกับราคาน้ำมันแล้ว ต้นทุนการผลิตเอทานอล ณ ปัจจุบัน ยังทำให้น้ำมันแก๊ซโซฮอล์ที่ผสม เอทานอลมากกว่ามีราคาสูงกว่าเสียอีก

เอทานอลแอลกอฮอล์ ที่อยู่ในเครื่องดื่ม สามารถเติมใส่ถังน้ำมันให้รถยนต์วิ่งได้ไหม ? (Can Ethanol Alcohol in Drinks drive the Vehicle ?)

เอาเป็นว่า แอลกอฮอล์ ที่ใช้ทำเครื่องดื่มสามารถแปลงไปทำเชื้อเพลิงได้ นั่นอาจเป็นเหตุผลที่กลุ่มผู้ใช้รถยนต์บางท่าน ไม่เฉพาะต่างประเทศ แต่รวมถึงในประเทศไทย มีความเชื่อว่าหากเติมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลงไป ก็จะทดแทนการใช้น้ำมัน ให้ยานพาหนะสามารถขับเคลื่อน ได้ในยามฉุกเฉิน

เอทานอลแอลกอฮอล์ ที่อยู่ในเครื่องดื่ม สามารถเติมใส่ถังน้ำมันให้รถยนต์วิ่งได้ไหม ? (Can Ethanol Alcohol in Drinks drive the Vehicle ?)

ความจริง ก็ไม่ปฏิเสธ เพียงแต่ คุณอย่าลืมว่า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นเกิดจากการหมักพืชผลผลิตทางการเกษตรที่แตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิด ทำให้ได้ปริมาณแอลกอฮอล์ (เอทานอล) ในปริมาณ หรือสัดส่วนที่ ไม่เท่ากัน และส่วนที่เหลือก็คือน้ำทั้งนั้น

นั่นหมายความว่า มันเป็นแอลกอฮอล์ที่ไม่ได้ผ่านการกลั่นให้ได้เฉพาะสารเอทานอลที่มีความบริสุทธิ์ออกมาใช้เหมือนในอุตสาหกรรมเชื้อเพลิง ดังนั้นหากปริมาณแอลกอฮอล์ไม่สูงพอ ก็จะไม่ได้ผลต่อรถยนต์ หรือยานพาหนะของคุณนั่นเอง

ตัวอย่าง

  • วิสกี้ (Whiskey) หมักจากข้าวบาร์เลย์ หรือข้าวโพด มีปริมาณแอลกอฮอล์ประมาณ 40 %
  • มูนไชน์ (Moonshine) หรือภาษาบ้าน ๆ ก็เรียกว่า "เหล้าเถื่อน" ส่วนมากมีฤทธิ์แอลกอฮอล์แรง อาจ 40-95 % ขึ้นอยู่กับวิธีการหมัก
  • วอดก้า (Vodka) มักทำจากเมล็ดพืชและมันฝรั่ง ประกอบด้วยแอลกอฮอล์ 40% 
  • เหล้าขาว บ้านเรา มีปริมาณแอลกอฮอล์ 30 - 40 % โดยประมาณแล้วแต่ยี่ห้อ
  • เบียร์ต่าง ๆ ยิ่งแล้วใหญ่ มีแอลกอฮอล์แค่ 5 % เท่านั้น

กล่าวโดยสรุปคือ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกือบทุกชนิดที่กล่าวมา มีปริมาณของแอลกอฮอล์ อยู่ในสัดส่วน ที่ต่ำเกินไป ดังนั้นถ้าหากผสมลงในถังน้ำมันแทบไม่ต่างกับ การเติมของเหลวเหมือนน้ำเปล่าในถัง แน่นอนว่ารถยนต์โมเดิลเดี๋ยวนี้ มีคาบูเรเตอร์และระบคอมพิวเตอร์ที่สามารถแยกน้ำกับน้ำมันได้ แต่หากคุณเติมในปริมาณที่มาก คงไม่เป็นผลดี เช่นตัวอย่างในคลิปต่อไปนี้ ที่มีผู้ทดสอบเติม Whiskey ลงไปในรถ ผลที่ได้ถึงกับต้องเอารถมาลากเลยทีเดียว

ขณะเดียวกันในคลิปวิดีโอต่อไป ได้มีการทดสอบด้วย Moonshine ยี่ห้อหนึ่งที่มีส่วนประกอบของ แอลกอฮอล์ถึง 96 % มาเติมใส่รถยนต์ 3 ประเภท (ที่ไม่ได้ผ่านการดัดแปลง) คือรถแข่งกับระบบหัวฉีดน้ำมันแบบคาร์บูเรเตอร์ รถยนต์ยุค 90s กับระบบฉีดที่ควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (EFI) และรถโมเดิร์น

ผลลัพธ์กลับกลายเป็นว่า รถทุกคันที่ทดสอบ สามารถวิ่งได้ด้วยแอลกอฮอล์ที่บริสุทธิ์ 96 % แต่จุดน่าสนใจคือ รถรุ่นเก่าใน ระบบฉีดที่ควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (EFI) มีอาการกระตุกเล็กน้อยเท่านั้น

บทสรุปของการใช้ เอทานอลแอลกอฮอล์ กับรถยนต์
(Ethanol Alcohol in Vehicle Usage Conclusion)

บทสรุปของการใช้ เอทานอลแอลกอฮอล์ กับรถยนต์ (Ethanol Alcohol in Vehicle Usage Conclusion)

สรุปว่า การใช้เอทานอล หรือแอลกอฮอล์ แทนน้ำมัน ในการเป็นเชื้อเพลิง สามารถ "ทำได้ และเกิดขึ้นจริงไปแล้ว" แต่ต้องเป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ และหากเป็นไปตามในคลิปข้างต้น เครื่องยนต์ที่ไม่ได้ดัดแปลงให้เป็น Flexible Fuel ก็สามารถใช้งานได้ แต่อาจเกิดผลเสียตามหลังขึ้นมาด้วยข้อเสียของแอลกอฮอล์ ดังนั้นหากจำเป็นจริง ๆ คุณอาจใช้แอลกอฮอล์ได้ และไม่ควรใช้บ่อย เพราะจะไม่เป็นผลดีต่อเครื่องยนต์แน่นอน

ซึ่งถ้าใครถามว่าอุตสาหกรรมรถของโลกจะสามารถเปลี่ยนจากน้ำมันเป็นแอลกอฮอล์ (เอทานอล) ได้ไหม ก็ไม่น่าเป็นไปได้ ต้องกระทบกับแหล่งอาหารโลกแน่นอน เอามาทำเหล้าอย่างเดียวก็พอแล้ว แถมตอนนี้เรามียานยนต์ที่ใช้พลังงานทดแทนอย่างรถยนต์ไฟฟ้า แอลกอฮอล์ก็คงไม่จำเป็นอีกต่อไป


ที่มา : www.makeuseof.com , www.arnoldclark.com , www.motorbiscuit.com

0 %E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2+%22%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%AE%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B9%8C%22+%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88+%3F+%E0%B8%96%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3+%3F
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
ระดับผู้ใช้ : Admin    Thaiware
งานเขียนคืออาหาร ปลายปากกา ก็คือปลายตะหลิว
 
 
 

ทิปส์ไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น