ใครที่ใช้ ระบบปฏิบัติการ Windows มาเป็นเวลานาน คงจะคุ้นเคย หรือมีประสบการณ์ตรงกับประสบการณ์จอฟ้า กันมาบ้าง ซึ่งแน่นอนว่าไม่มีใครอยากเจอ เพราะว่าเห็นหน้าจอนี้เมื่อไหร่ ก็เกมโอเวอร์ทันที เนื่องจากผู้ใช้จะไม่สามารถทำอะไรได้เลย นอกจากรีเซ็ตเครื่อง เพื่อทำการเริ่มระบบปฏิบัติการ Windows ใหม่
ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้ผู้ใช้เริ่มเรียกมันว่า "จอฟ้าแห่งความตาย" หรือ "จอฟ้ามรณะ" (ภาษาอังกฤษเรียกว่า "Blue Screen of Death หรือ BSoD") ซึ่งปัญหานี้มีมาตั้งแต่สมัย ระบบปฏิบัติการ Windows 1.0 มาจนถึง Windows 11 ก็ยังมีอยู่ แต่โอกาสพบเจอก็ลดลงไปมากเมื่อเทียบกับสมัยก่อน
และด้วยความโหดของ BSoD คือ เวลามันมา มันจะไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้าอะไรเลย ซึ่งมันจะเกิดขึ้นตอนไหนก็ได้ ไม่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้บันทึกงานก่อนแม้แต่นิดเดียว ลองนึกภาพว่าคุณนั่งทำงานอะไรสักอย่างมาหลายชั่วโมง แล้วเจอ BSoD ทำให้งานทั้งหมดต้องเริ่มต้นใหม่ ไม่ว่าใคร หากเจอแบบนี้ต้องมีหัวร้อนแน่นอน
อย่างไรก็ตาม แม้ BSoD เหมือนจะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแบบสุ่ม แต่ในความเป็นจริง มันก็มีสาเหตุอยู่ เช่น ไฟล์ระบบเกิดความเสียหาย, คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ (Computer Hardware) กับไดร์เวอร์มีปัญหา ฯลฯ ซึ่งเป็นเรื่องที่สามารถแก้ไขได้ จะมีแนวทางการแก้ไขอย่างไร ? มาศึกษาข้อมูลกัน
เป็นการยากที่จะหาสาเหตุที่ทำให้เกิด BSoD ได้ในทันที การเริ่มจากรหัสข้อผิดพลาดที่ทาง Windows พยายามแจ้งเตือนผู้ใช้งาน จึงเป็นอะไรที่ง่ายที่สุด ซึ่งตั้งแต่ ระบบปฏิบัติการ Windows 10 เป็นต้นมา ในหน้า BSoD จะมีอีโมจิหน้าเศร้า ":(" พร้อมกับ รหัสคิวอาร์ (QR Code) เพื่อเปิดไปยังหน้าเว็บไซต์สนับสนุนของ Microsoft เพื่อวิเคราะห์สาเหตุ และแนวทางแก้ปัญหาได้โดยตรง
อย่างไรก็ตาม จากประสบการณ์ เราพบว่าหน้าช่วยเหลือของ Windows ช่วยอะไรเราไม่ค่อยได้สักเท่าไหร่ แนะนำว่าให้เอาข้อความหลัง Stop Code ไปเสิร์ชหาข้อมูลใน Google โดยตรงจะดีกว่า เราจะเจอคนที่ประสบปัญหาเหมือนเรา และมีคำแนะนำวิธีการแก้ปัญหาหลากหลายวิธีเลยล่ะ ทั้งนี้ ส่วนใหญ่แหล่งข้อมูลจะเป็นภาษาอังกฤษ อาจจะต้องใช้สกิลภาษาอังกฤษกันสักเล็กน้อย
Stop code จะมีรหัสบอกปัญหาอยู่
ภาพจาก : https://learn.microsoft.com/en-us/windows-hardware/drivers/debugger/blue-screen-data
บ่อยครั้งที่เรามักจะประสบปัญหา BSoD หลังจากที่เราได้เปลี่ยนแปลงค่าอะไรสักอย่างกับตัวระบบปฏิบัติการ เป็นเหตุให้เกิดปัญหากับระบบขึ้น
ตัวอย่างเช่น หากไม่นานมานี้ เราเพิ่มติดตั้งไดร์เวอร์ใหม่ลงไปใน ระบบปฏิบัติการ Windows หลังจากนั้นก็เริ่มเจอปัญหา BSoD ให้ลองลบไดร์เวอร์ตัวดังกล่าวออกไปก่อน แล้วดูว่ายังพบปัญหา BSoD อยู่หรือเปล่า ? ถ้าอาการหายไปก็สันนิษฐานได้ว่าไดร์เวอร์ที่เราลงไปน่าเป็นสาเหตุของปัญหา
หรือหากเพิ่งอัปเดตตัวระบบปฏิบัติการ Windows ไป ให้ลองถอนการอัปเดตออกเพื่อดูว่าอาการจอฟ้า BSoD จะหายหรือเปล่า ? ด้วยขั้นตอนดังนี้
ในส่วนของ ไดร์เวอร์ (Driver) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่สื่อสารระหว่างฮาร์ดแวร์ กับระบบปฏิบัติการให้ทำงานด้วยกันได้อย่างราบรื่น หากไดร์เวอร์มีปัญหา มันก็เป็นสาเหตุให้เกิดอาการจอฟ้า BSoD ได้เช่นกัน ปกติแล้ว อาการนี้มักจะเกิดขึ้นเวลาที่เราทำการเปลี่ยนชิ้นส่วนฮาร์ดแวร์ใหม่ หรือไม่ก็อัปเดตไดร์เวอร์แล้ว แล้วเกิดความไม่เข้ากันของไดร์เวอร์
เราสามารถตรวจสอบสถานะ, อัปเดต และถอนการติดตั้งไดร์เวอร์ ได้ด้วยขั้นตอนดังนี้
คุณสมบัติ System Restore ใน Windows ช่วยให้เราย้อนสถานะของตัวระบบปฏิบัติการ ไปยังช่วงเวลาก่อนหน้าที่ระบบได้บันทึกเอาไว้ได้ มันค่อนข้างมีประโยชน์ทีเดียว เวลาที่เราไป "ซน" จน Windows เกิดอาการอ๊องแล้วหาสาเหตุไม่เจอ
การใช้งาน เครื่องมือ System Restore สามารถทำได้ด้วยขั้นตอนดังนี้
มัลแวร์เป็นภัยร้ายต่อ ระบบปฏิบัติการ Windows (จริง ๆ ก็อันตรายต่อทุกแพลตฟอร์ม) และมันสามารถทำให้ไฟล์ระบบใน Windows System เกิดความเสียหายได้ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ให้เราเจอ BSoD ได้
สำหรับการสแกนหามัลแวร์ หากไม่มี ซอฟต์แวร์ บุคคลที่สาม (3rd-Party) อยู่ก็ไม่เป็นไร ในอดีต Windows Defender ที่แถมมากับเครื่องมันอาจจะแย่ แต่ Windows Secuity ที่มีในระบบปฏิบัติการ Windows 11 นี่จัดว่าแจ่ม ใช้งานดีไม่แพ้โปรแกรมป้องกันมัลแวร์จากค่ายดังเลย สามารถเรียกใช้งาน Windows Secuity ได้ด้วยขั้นตอนดังนี้
หากสแกนไม่เจออะไรเลย อาจจะลองใช้โปรแกรมสแกนมัลแวร์ตัวอื่น มาสแกนอีกครั้งก็ได้ เช่น Malwarebytes เวอร์ชันฟรี ก็ทำหน้าที่นี้ได้ดีเช่นกัน
ดาวน์โหลดโปรแกรม Malwarebytes ฟรี
ลองแกะเครื่องออกมาดูว่าชิ้นส่วนแต่ละชิ้น ยังเชื่อมต่อกันดีอยู่ไหม บางครั้ง หน่วยความจำหลัก (RAM), การ์ดจอ, สายแพร์ ฯลฯ อาจจะหลวม หรือหลุดออกจากที่ที่มันควรอยู่ รวมถึงถอดชิ้นส่วนต่าง ๆ ออกมาปัดฝุ่น, ดูดฝุ่น และทำความสะอาดบริเวณขั้วที่เชื่อมต่อด้วยก็ดี เพราะฝุ่นอาจเป็นผู้ร้ายในงานนี้ก็เป็นได้ สำหรับคราบบนทองแดงที่ขั้วเชื่อมต่อ ก็ให้เอายางลบถูคราบออก
สำหรับคนที่ไม่เคยทความสะอาด แผงวงจรหลัก (Mainboard) มาก่อน ไม่รู้ว่าต้องทำความสะอาดอย่างไร ลองอ่านบทความ "วิธีทำความสะอาด แผงวงจรคอมพิวเตอร์เบื้องต้น โดยไม่ให้เสียหาย" ที่เราเคยเขียนไปแล้วเพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้
ภาพจาก : https://www.pcgamer.com/how-to-clean-your-computer-case/
นอกจากนี้ หากเราติดตั้งแรมมากกว่า 1 ตัว แนะนำให้ลองถอดแรมออกให้หมด เหลือไว้แค่หนึ่งตัว แล้วเปิดคอมพิวเตอร์ ทดสอบใช้งานดูว่าเจอ BSoD หรือไม่ ? ถ้าไม่เจอ ลองเสียบแรมเพิ่มกลับไปเท่าเดิม หากพบปัญหา BSoD ให้ลองสลับแรมดู บางทีปัญหาอาจจะเกิดจากการที่แรมตัวใดตัวหนึ่งทำงานผิดปกติ
ทั้งนี้ ต่อให้คอมพิวเตอร์ไม่มีปัญหาอะไรเลยก็ตาม เราก็ควรทำความสะอาดคอมพิวเตอร์เป็นประจำทุกปี อย่างน้อยสักปีละครั้งนะ เพราะฝุ่นมักจะเข้าไปเกาะจนทำให้การระบายความร้อนภายในเคสแย่ลง และอาจจะเติมซิลิโคนระบายความร้อนให้ CPU และ GPU ด้วย
Microsoft เริ่มใส่เครื่องมือ ตรวจสอบไฟล์ระบบ (System File Checker หรือ SFC) เอาไว้ในระบบปฏิบัติการ Windows ตั้งแต่เวอร์ชัน Windows 98 เป็นต้นมา ซึ่งก็อยู่มาจนถึงปัจจุบันนี้
คำสั่ง SFC (System File Checker) ออกแบบมาเพื่อสแกน และซ่อมแซมไฟล์ระบบของ Windows หากมันพบว่ามีไฟล์เสียหาย หรือถูกแก้ไข คำสั่ง SFC จะทำการซ่อมแซมด้วยการแทนที่ไฟล์ดังกล่าวด้วยไฟล์ใหม่ที่ถูกต้องให้โดยอัตโนมัติ
ถ้า Windows มีอาการแครช, เจอข้อความแจ้งเตือนประมาณว่าไฟล์ DLL หายไป หรือเจอจอฟ้าแห่งความตาย (Blue Screen of Death) หนึ่งในวิธีแก้ไขที่ควรลองก็เป็นการเรียกใช้งานเครื่องมือ System file checker (SFC) นี่แหละ ซึ่งทำได้ง่าย ๆ ด้วยขั้นตอนดังนี้
สำหรับ โหมดปลอดภัย (Safe Mode) เป็นรูปแบบหนึ่งในการทำงานของ ระบบปฏิบัติการ Windows ที่ออกแบบมาเพื่อใช้แก้ปัญหาในเวลาที่เกิดเหตุการณ์รุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานในรูปแบบปกติของระบบปฏิบัติการ Windows โดยมันช่วยให้ผู้ใช้เข้าสู่ Windows เพื่อตรวจหาสาเหตุว่าปัญหาอะไรที่ทำให้มันไม่สามารถทำงานตามปกติได้ หลังจากที่ตรวจเจอ และแก้ไขแล้ว ก็จะสามารถรีบูทเพื่อเข้าใช้งาน Windows ได้ตามปกติ
โดยการทำงานของ Safe Mode ระบบจะบูทเข้าสู่ระบบปฏิบัติการ Windows โดยเรียกใช้งานเฉพาะไฟล์ระบบที่สำคัญเท่านั้น พวกซอฟต์แวร์ 3rd-Party และไดร์เวอร์ที่ไม่จำเป็นจะไม่ถูกเรียกใช้งานเลย
ถ้าหากว่าเราสามารถบูทเข้า Safe Mode ได้ และใช้งานได้ตามปกติโดยไม่เจอ BSoD ก็มีความเป็นไปได้สูงว่าสาเหตุที่ทำให้เกิด BSoD มีต้นเหตุมาจาก ซอฟต์แวร์ 3rd-Party หรือไดร์เวอร์สักตัวที่คุณได้ติดตั้งเพิ่มเข้าไป ซึ่งเราสามารถถอนการติดตั้งพวกมันได้ใน Safe Mode ได้เลย ไดร์เวอร์บางตัวอย่างเช่น การ์ดจอ หากจะถอนการติดตั้งให้สิ้นซาก ก็ควรจะทำในโหมดนี้นี่แหละ
ใน Safe Mode เรายังสามารถสั่งสแกนมัลแวร์, ใช้งาน System Restore หรือวิธีการอื่นๆ ที่เราแนะนำไปข้างต้นได้ตามปกติอีกด้วย
ข้อมูลเพิ่มเติม : วิธีเข้า Safe Mode บนระบบปฏิบัติการ Windows ทุกรุ่น
หากตรวจสอบจนมั่นใจว่า สาเหตุไม่ได้มาจากฮาร์ดแวร์แล้วแน่ ๆ แล้วก็หาสาเหตุอื่นไม่เจอเลย การรีเซ็ต (Reset) หรือล้างค่าระบบปฏิบัติการ Windows หรือลง Windows ใหม่เลย อาจจะเป็นทางออกสุดท้ายของคุณแล้วละ
สำหรับการรีเซ็ต Windows สามารถทำได้ด้วยขั้นตอนดังนี้
ใครที่ประสบปัญหาจอฟ้า BSoD อยู่ ก็หวังว่าจะมีสักวิธีในทิปส์นี้ ที่สามารถช่วยแก้ปัญหาได้นะครับ
|
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ |
ความคิดเห็นที่ 3
7 มีนาคม 2564 10:54:52
|
|||||||||||
stop code: WHEA UNCORRECTABLE ERROR
มีวิธีแก้ไหมครับ |
|||||||||||
ความคิดเห็นที่ 2
7 มิถุนายน 2563 15:53:52
|
|||||||||||
GUEST |
tawan
แอดครับ ผมขึ้นจอฟ้า มี stop code คือ MEMORY MANAGEMENT เป็นที่อะไรเสียมั้ยครับ |
||||||||||
ความคิดเห็นที่ 1
22 มกราคม 2563 06:45:48
|
|||||||||||
GUEST |
แสนดี
สวัสดีครับ ผมขึ้นจอฟ้าตอนเข้าไปที่Settings >> Update & Security >> Windows Update แล้วคลิกไปที่ View update history แล้วคลิกไปที่เมนู Uninstall updates (เมนูอยู่บริเวณด้านบน) แล้วเลือกถอนการอัปเดตออกทีละตัว เพื่อดูว่าอาการจอฟ้าจะหายไปหรือไม่ มีวิธีแก้ไขอย่างไรครับ
|
||||||||||